Monday, 20 January 2025

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงร่วมภาครัฐและเอกชนขับเคลื่อนการป้องกัน-ส่งเสริมประชาชนมีสุขภาพดี

19 Dec 2023
141

เชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) คำประกาศเจตนารมณ์ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย นำทีมโดย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ณ หอประชุมสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จ.เชียงราย เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม๒๕๖๖พร้อมทั้งการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ที่จะขับเคลื่อนโครงการร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เทศบาลนครเชียงราย หอการค้าจังหวัดเชียงราย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย สมาคมสหพันธ์การท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดเชียงราย และสมาคมโรงแรมจังหวัดเชียงรายtt tt“จังหวัดเชียงรายมีสภาพภูมิประเทศและอากาศที่เหมาะสม เป็นเมืองแห่งการพักฟื้นและส่งเสริมสุขภาพเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีศูนย์สมุนไพร การแพทย์ทางเลือกที่มีชื่อเสียง โรงแรมที่พักก็มีหลากหลายรูปแบบ มีเส้นทางคมนาคมรองรับ รวมทั้งมีจุดขายด้านการท่องเที่ยวมากมาย ดังนั้นจึงได้ ประกาศเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนให้เป็นเมืองแห่งสุขภาพ ผลที่ได้นอกจากการมีสุขภาพที่ดีแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการจะเกิดเมืองแห่งสุขภาพได้นั้น ภาครัฐขับเคลื่อนฝ่ายเดียวคงไม่สำเร็จ ต้องขึ้นอยู่กับภาคประชาชนและเอกชนเป็นสำคัญ ซึ่งก่อนประกาศเจตนารมณ์ได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนตกผลึก ทำให้เชื่อมั่นว่าเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งสุขภาพได้อย่างแน่นอน” นายพุฒิพงศ์ ฉายภาพความพร้อมของ จ.เชียงรายสู่การเป็นเมืองแห่งสุขภาพผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ขยายความด้วยว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๙) ระยะเวลา ๑๐ ปี จ.เชียงรายจึงได้เตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนให้เป็นพื้นที่พิเศษในการพัฒนาอุตสาหกรรม Wellness อีกทั้งเป็นการพื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ สร้างรายได้กลับสู่จังหวัดเชียงรายจากการบริการทางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ นำไปสู่การจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Chiang Rai Wellness City) เพื่อจัดทำแผนพัฒนาเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐ มีเป้าหมายให้ประชาชนชาวเชียงราย และผู้มาเยือนมีสุขภาพดี อยู่แล้วมีความสุข จนได้ร่วมกันประกาศให้จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ และให้ทุกภาคส่วนได้ดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Wellness city เป็นไปในทิศทางเดียวกันtt ttด้าน ศ.พิเศษ ด็อกเตอร์วันชัย ศิริชนะ นายกสภา มฟล. กล่าวว่า ช่วง ๖ ปีที่ผ่านมา มฟล.เป็นผู้นำในการรณรงค์ป้องกันและส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี ผ่านการดำเนินงานของสำนักวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มุ่งเน้น ๑.ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการกินอย่างไรไม่ให้เป็นโรค อยู่อย่างไรให้แข็งแรง ปฏิบัติตนอย่างไรไม่ให้เป็นภาระผู้อื่น และ ๒.การคัดกรองโรคเบื้องต้น เพื่อรู้ถึงแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดโรค นำไปสู่การรักษาทัน ท่วงที ทั้ง ๒ แนวทางเป็นบทบาทที่ มฟล.ได้ดำเนินการมาพร้อมกับการเดินหน้าจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพครบวงจร (Wellness Center) เพราะเราเชื่อว่าทั้ง ๒ แนวทางที่ว่าจะทำให้คนเจ็บป่วยน้อยลง ลดภาระครอบครัว ผลิตผลหรือศักยภาพของคนในการทำงานก็เพิ่มมากขึ้น และยังลดภาระภาครัฐจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือกลุ่มโรค NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วนลงพุง โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ มฟล.จึงได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้ และนำไปสู่การขยายแนวคิดการป้องกันและส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายรวมถึงองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ใน จ.เชียงราย จนตกผลึกเห็นพ้องที่จะประกาศให้ เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ ด้วยความพร้อมในทรัพยากรทุกด้าน เราไม่ได้มองเพียงแค่คนใน จ.เชียงรายมีสุขภาพดี แต่ยังมุ่งรวมไปถึงนักท่องเที่ยว ผู้คนที่เข้ามาเยือน จ.เชียงรายก็ต้องมีสุขภาพดีกลับไป ซึ่งจะส่งผลต่อไปถึงระบบสุขภาพของประเทศในภาพรวมที่จะดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน เชียงรายมีต้นทุนที่จะดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพ (Wellness) อยู่แล้ว มีทั้งสมบัติเก่า คือธรรมชาติงดงาม มีประวัติศาสตร์ที่รุ่งเรือง มีโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่งดงาม อยู่ในจุดภูมิยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดน และยังมีสมบัติใหม่ซึ่งเป็นที่รู้จักมากมาย อาทิ พระธาตุดอยตุง โครงการหลวง วัดวาอารามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ รวมทั้งมีความพร้อมในระบบคมนาคม เป็นสิ่งที่เชียงรายมีความได้เปรียบ ขณะที่ รพ.ทั้งของรัฐและเอกชนก็มีมากที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ มีโรงแรมชั้นนำหลายแห่ง ที่สำคัญคือผู้คนที่มีจิตเป็นมิตรและพร้อมให้บริการtt tt“เชียงรายพร้อมทุกด้านที่จะดำเนินธุรกิจ Wellness เหลืออย่างเดียวที่จะต้องทำ คือการปรับปรุงระบบบริการ ที่จะสามารถเสนอขายให้กับบุคคลที่ต้องการ สิ่งที่เราคาดหวังนอกเหนือจากการได้ยินนักท่องเที่ยวบอกว่าเชียงรายเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ เป็นเมืองสงบ มีแหล่งท่องเที่ยวสวยงามแล้ว เรายังอยากได้ยินว่า มาเชียงรายแล้วมีสุขภาพดีกลับไป ทั้งนี้ มฟล.เป็นต้นแบบเชิงความคิด เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆนำสู่การปฏิบัติ พัฒนาต่อยอดเพื่อผลประโยชน์โดยรวมของประเทศ นี่คือภาพรวมของระบบสุขภาพที่ควรจะเป็น” ศ.พิเศษ ด็อกเตอร์วันชัย กล่าวถึงเป้าหมายtt ttขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์มัชฌิมา นราดิศร อธิการบดี มฟล. กล่าวเสริมว่า มฟล.มีความพร้อมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายให้เป็นเมืองแห่งสุขภาพ ด้วยความพร้อมด้านบุคลากรที่สามารถประสานความร่วมมือกัน และมีศาสตร์การแพทย์ที่สามารถบูรณาการกันระหว่างศาสตร์การแพทย์ของแต่ละสำนักวิชา รวมทั้งยังมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านสุขภาพที่มีมาตรฐาน และศักยภาพสูงในนามของศูนย์การแพทย์ มฟล.ซึ่งประกอบไปด้วย รพ.ศูนย์การแพทย์ มฟล.ศูนย์บริการสุขภาพแบบครบวงจรแห่งภาคเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโซง และสถาบันการแพทย์แผนไทย-จีน รพ.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงทีมข่าวสาธารณสุข เห็นด้วยกับการทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ ที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง เพื่อเป็นเกราะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บเพราะการมีสุขภาวะที่ดีย่อมส่งผลเชิงบวกในด้านต่างๆ ตามมานั่นเอง.tt tttt ttทีมข่าวสาธารณสุขอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่