Sunday, 19 January 2025

ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผ่านประเมินผลงานโครงการ

19 Dec 2023
117

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงผลการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ศรีสะเกษ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางสาธิตการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และเป็นตัวอย่างเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเกษตรให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาอาชีพการเกษตรของตนเองตามสภาพภูมิสังคม และเป็นสถานที่ให้บริการทางวิชาการเกษตร และสนับสนุนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่ดีสู่เกษตรกร โดยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินโครงการ โดยปีงบประมาณ ๒๕๖๖ มีเป้าหมายในการจัดทำแปลงเรียนรู้ แปลงสาธิต และแปลงต้นแบบทางการเกษตร ๔๑๒ ไร่ ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกร ๓๘๙ รายtt tt“ผลจากการดำเนินงานพบว่า การดำเนินการจัดทำแปลงเรียนรู้ฯ และถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรได้ครบตามเป้าหมาย มีเกษตรกรร้อยละ ๘๘ ได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ด้านพืช อาทิ การปลูกไม้ผล การปลูกพืชผัก การปลูกข้าวโพดหลังนา ด้านปศุสัตว์ อาทิ การทำอาหารสัตว์ การเลี้ยงไก่ลูกผสมพันธุ์พื้นเมือง การเลี้ยงโค ด้านประมง อาทิ การเลี้ยงปลานิล ปลาตะเพียน ปลาดุก และนำปัจจัยการผลิตที่ได้สนับสนุนด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง และพัฒนาที่ดินไปใช้ประโยชน์ทั้งหมด”รองเลขาธิการ สศก. เผยอีกว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประมาณร้อยละ ๖๐ มีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ๑๘,๔๔๕ บาทต่อครัวเรือนต่อปี จากการจำหน่ายผลผลิต เช่น ทุเรียนภูเขาไฟ เงาะ มะนาว มะยงชิด ยางพารา พืชผักสวนครัว ไก่พื้นเมือง ไก่ไข่ โคเนื้อ เป็ดไข่ เลี้ยงปลานิล ปลาตะเพียน และปลาดุก และเกษตรกรสามารถลดรายจ่ายได้ ๒๐,๓๔๔ บาทต่อครัวเรือนต่อปี แบ่งเป็น ๑) ลดรายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย ๘,๖๙๔ บาทต่อครัวเรือนต่อปี โดยนำผลผลิตที่ปลูกเองในแปลง อาทิ พืชผักสวนครัว และพืชผักตามฤดูกาลมาบริโภค รองลงมาลดลงได้จากการบริโภคปลาที่เลี้ยงในแปลงของตนเอง และลดรายจ่ายด้านปศุสัตว์จากการนำไก่ ไข่ไก่ เป็ด และไข่เป็ดที่เลี้ยงมาบริโภคในครัวเรือน และ ๒) ลดค่าใช้จ่ายในการทำเกษตรเฉลี่ย ๑๑,๖๕๐ บาทต่อครัวเรือนต่อปี จากการนำวัสดุเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ การผลิตอาหารสัตว์ใช้เอง ลดการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเก็บพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ไว้ใช้เองในฤดูกาลผลิตปีต่อไป”tt tttt ttโดยสรุปภาพรวมหลังจากเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรร้อยละ ๙๐ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สืบเนื่องจากการมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดรายจ่ายในครัวเรือน ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรร้อยละ ๓๙ มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรม เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และเกษตรกรร้อยละ ๕๗ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในพื้นที่โครงการ/ชุมชน เช่น ร่วมกันดำนาปลูกข้าวในพื้นที่โครงการ ดูแลรักษาพัฒนาแปลงเรียนรู้ แต่เพื่อให้การดำเนินการของโครงการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรมีการส่งเสริมประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ทั้งจากแปลงสาธิตและเกษตรกรต้นแบบที่มีศักยภาพในแต่ละด้าน อาทิ แปลงเกษตรกรต้นแบบด้านการปลูกทุเรียนภูเขาไฟ แปลงเกษตรกรต้นแบบด้านการปลูกข้าวอินทรีย์ เป็นต้น และส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร หรือขยายผลกลุ่มที่ประสบความสำเร็จเพื่อเป็นต้นแบบ เพื่อผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพิ่มมูลค่าสินค้า ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้.tt ttคลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม