Thursday, 19 December 2024

แปลงใหญ่ปลากดคัง หนึ่งเดียวเมืองดอกบัวงาม

ปลากดคัง…นับเป็นสินค้าประมงที่มีศักยภาพและเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรทางเลือกของจังหวัดอุบลราชธานีที่ได้รับความนิยมของผู้บริโภค ตลาดมีความต้องการต่อเนื่อง ด้วยเนื้อปลากดคังเป็นปลาเนื้ออ่อน รสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเกษตรกรในพื้นที่มีการเลี้ยงเป็นอาชีพหลักควบคู่ไปกับการทำการเกษตร เนื่องจากปลาชนิดนี้ต้องอาศัยระยะเวลาในการเลี้ยงนานหลายปี แต่ก็สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรเป็นอย่างดีtt tt“การผลิตปลากดคังของจังหวัดอุบลราชธานี เกษตรกรมีการรวมกลุ่มแปลงใหญ่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากดคัง ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ เป็นกลุ่มแปลงใหญ่เพียง ๑ เดียวในจังหวัด ที่ประสบความสำเร็จ มีการวางแผนการผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด เริ่มมีการจัดตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๖ เนื่องจากเดิมเกษตรกรประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่ประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ จึงเริ่มหันมาเลี้ยงปลานิลในกระชังตามการส่งเสริมของเอกชน แต่มีข้อจำกัดที่ราคาซื้อขายผู้ซื้อเป็นผู้กำหนด กลุ่มจึงเริ่มศึกษาการเลี้ยงปลาที่เป็นที่ต้องการของตลาดและได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า จึงเริ่มปรับเปลี่ยนมาเลี้ยงปลากดคังเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคา”tt ttนางประเทือง วาจรัต ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ๑๑ อุบลราชธานี (สศท.๑๑) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยว่า ปัจจุบันกลุ่มแปลงใหญ่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากดคัง มีเกษตรกรสมาชิก ๓๔ ราย พื้นที่เลี้ยงประมาณ ๑๐ ไร่ ๓๑๕ กระชัง เลี้ยงเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๐ กระชังการเลี้ยง เกษตรกรจะนำพันธุ์ลูกปลากดคังมาปล่อยเลี้ยงประมาณ ๕๐๐ ตัวต่อกระชัง โดยกระชังจะมีขนาด กว้าง ๕ เมตร ยาว ๖ เมตร ลึก ๒.๕ เมตร ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ ๓ ปี เพื่อให้ได้ขนาดตัวละ ๓-๖ กิโลกรัมtt ttกลุ่มแปลงใหญ่จะมีการวางแผนการเลี้ยงเพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดทุกเดือน เฉลี่ยเดือนละ ๗–๑๐ ตัน/เดือน ผลผลิตรวมจะอยู่ที่ปีละ ๘๙.๓ หรือปีละ ๘๙,๓๐๐ กิโลกรัมtt ttเกษตรกรจะจำหน่ายปลากดคังเฉลี่ยกระชังละ ๑,๕๖๗ กิโลกรัม ขายปลีกให้กับร้านอาหารรายย่อยในพื้นที่ ราคา กก.ละ ๑๕๐-๑๖๕ บาท และขายยกกระชัง ในราคา กก.ละ ๑๒๐-๑๔๐ บาท โดยผลผลิตส่วนใหญ่ ร้อยละ ๘๐ จำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง อีกร้อยละ ๒๐ ส่งจำหน่ายให้ร้านอาหารรายย่อยtt ttจากผลสำเร็จของกลุ่มแปลงใหญ่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของเนื้อปลาให้ได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาด และมีการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบ ในอนาคตกลุ่มแปลงใหญ่วางแผนจะเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้เฉลี่ยเดือนละ ๑๒ ตัน และพัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตปลากดคังแบบครบวงจรที่สำคัญของจังหวัด ให้สามารถผลิตและจำหน่ายทั้งลูกปลาและเนื้อปลา ตลอดจนการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งผลิตปลาคุณภาพที่มีความหลากหลาย…สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสันติ สุพล ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ฯ โทร. ๐๘-๓๒๔๘-๒๒๖๘.tt ttชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม