Sunday, 19 January 2025

รัฐ รับทราบ มติไตรภาคี คงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ชี้ นายกฯ เพียงห่วงค่าครองชีพ

โฆษกรัฐบาล เผย รับทราบมติไตรภาคี คงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามมติเดิม เข้าใจถือเป็นเอกสิทธิ์ ชี้ นายกฯ เพียงแสดงความคิดเห็น ด้วยความจริงใจ ห่วงค่าครองชีพภาคแรงงาน แต่ไม่ลดละพยายามในครั้งหน้าวันที่ ๒๑ ธ.ค. ๒๕๖๖ นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการค่าจ้างมีมติเห็นชอบปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี ๖๗ ตามมติเดิมเมื่อวันที่ ๘ ธ.ค. ว่า รัฐบาลเข้าใจว่าสิ่งไหนจะสามารถดำเนินการอะไรได้บ้าง ทั้งนี้ ในฐานะรัฐบาลสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งพรรคเพื่อไทย (พท.) ในช่วงเลือกตั้งก็ได้มีการหาเสียงไว้ ดังนั้น รัฐบาลมีสิทธิ์รับฟังความคิดเห็น ซึ่งคณะกรรมการที่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการไตรภาคี เป็นเอกสิทธิ์ไปแทรกแซงไม่ได้นายชัย กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะไม่หยุดแสดงความคิดเห็น โน้มน้าว เพราะเรื่องแบบนี้สามารถจะพูดคุยกันได้ ดังนั้น ไม่มีข้อบังคับไหน ที่ระบุว่า ปีหนึ่งให้พิจารณาการขึ้นค่าแรงเพียงครั้งเดียว หากผ่านไปแล้วสักระยะ เมื่อคณะกรรมการมีการทบทวนหรือพิจารณาใหม่อีกครั้งภายในปีเดียวกันก็ได้ ถือว่าโอกาสมีอยู่เสมอนายชัย กล่าวว่า ในเรื่องนี้เป็นไปตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ระบุออกมาจากใจจริงว่า ไม่เห็นด้วยในการขึ้นค่าแรง ๒ บาท ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ แม้แต่ไข่ไก่ ไข่ต้มครึ่งฟองยังซื้อไม่ได้เลย ดังนั้น หากถามว่า น้อยหรือไม่ นายกฯ ก็มองว่า น้อยมากๆ และในแง่ของการครองชีพของภาคแรงงาน ค่าแรงในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา และคำนวณขึ้นค่าแรงล่าสุด ๓๐๐ บาทที่ผ่านมา เกิดขึ้นเมื่อปี ๕๕ จนถึงปัจจุบันนี้ ค่าแรงขึ้นมาสูงสุดในรอบ ๑๐ ปี ไม่เกิน ๒๐% ซึ่งนายกฯ เปรียบเทียบว่า หากลูกหลานของทุกคนที่จบการศึกษาต่างประเทศ แล้วสตาร์ตเงินเดือนที่ ๓๐,๐๐๐ บาท ทำงานไป ๑๒ ปี ได้ค่าจ้าง ๓๖,๐๐๐ บาท จะรู้สึกอย่างไร หลายคนก็ระบุว่า ไม่ไหวถ้าเป็นเช่นนี้ ดังนั้น แรงงานจะแย่กว่าใช่หรือไม่ ซึ่งเมื่อแรงงานทำงานไป ๑๒ ปี ธรรมดาคนรายได้ต่ำ เปอร์เซ็นต์การขึ้นค่าแรงต้องสูง คนรายได้สูงเปอร์เซ็นต์การขึ้นค่าแรงต้องต่ำ เพราะฐานเงินเดือนที่ใหญ่ แต่นี่กับกลับกัน คนมีรายได้สูง ถ้า ๑๐-๑๑ ปี รายได้เพิ่มขึ้น ได้ ๒๐% แล้วไม่ไหว ขณะที่พี่น้องแรงงานจะไหวได้อย่างไรtt ttนายชัย กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่า ตรรกะนายกฯ มองในเชิงการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งเห็นเลยว่า มีช่องว่างและมีความเหลื่อมล้ำสูงมาก ผู้ใช้แรงงานที่มีรายต่ำอยู่แล้ว แล้วขึ้นค่าแรงในจำนวนที่น้อย นายกฯ มีสิทธิ์ ที่แสดงความคิดเห็น แต่นายกฯ รู้ดีว่า จะไปหักหาญกันไม่ได้ เพราะมีกฎหมายกำหนดไว้ การแสดงความเห็นเป็นส่วนหนึ่ง การเคารพกฎหมายก็ต้องปฏิบัติตาม แต่เรื่องนี้เชื่อว่า นายกฯ จะไม่หยุดแค่นี้ คงจะมีการขับเคลื่อนต่อ ซึ่งไม่ใช่นายกฯ เพียงคนเดียว ส่วนตัวเชื่อว่า ในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็เห็นคล้อยตามนายกฯ ที่จะต้องมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะค่าแรงขั้นต่ำของไทยเกินกว่าตัวเลขที่ศึกษาวิจัย ว่า คนหนึ่งคนเวลาทำงานมีครอบครัว มีลูกหนึ่งคน ขั้นต่ำหนึ่งวันต้องมีรายได้ ๕๖๐ บาทต่อวัน แต่ค่าแรงกลับห่างไกลมาก จึงเกิดปัญหาทำงานล่วงเวลา (โอที) ทั้งพ่อและแม่ จนไม่มีเวลาดูลูก และนำมาซึ่งปัญหาสังคมนายชัย กล่าวว่า ทั้งนี้ ภาคธุรกิจขออย่าได้กังวลว่า ค่าจ้างสูงแล้วธุรกิจอยู่ไม่ได้ และมีแรงงานตกงาน ส่วนตัวไม่เชื่อเช่นนั้น ยืนยันว่า แรงงานจะไม่ตกงาน เพราะมีความต้องการของสินค้าอยู่ และเชื่อว่า จะมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่จะอยู่รอดและเติบโตขึ้นมา ในรูปแบบสามารถที่บริหารธุรกิจ และจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำได้สูงเมื่อถามว่า จะเป็นการผลักผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า หากย้ายฐานการผลิตก็จะเกิดช่องว่างของตลาด คนที่อยู่ในนี้ก็จะเข้ามาแทนที่ และต่างประเทศก็จะเจอปัญหาเช่นกัน ย้ำว่า ธุรกิจทุกอย่างไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าแรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของเส้นทางคมนาคมขนส่ง ความเสถียรของไฟฟ้า ซึ่งยังมีปัจจัยอื่นอีกมาก ดังนั้น ส่วนตัวไม่ห่วง เพราะหากถอยออกไปก็จะมีคนที่อยู่ได้ และมีการขยายตัวเข้ามาแทนที่ การที่เกรงจะมีการย้ายฐานการผลิต ซึ่งสามารถทำได้ เพราะหากย้ายไปตลาดก็ไม่หายไป ตลาดที่เคยค้าขายอยู่ยังมีช่องว่าง แต่ยังมีผู้เล่นที่จะขยายเข้ามากินตลาดนี้ ดังนั้น ประเทศไม่เสียหาย จึงขออย่าห่วง ซึ่งประเทศอื่นที่เจริญแล้ว จ่ายค่าแรงหลายพันบาท ทำไมถึงจ่ายได้ เพราะว่า เขามีผู้ประกอบการที่มีความสามารถ เช่น ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ แล้วทำไมธุรกิจถึงไม่เจ๊ง