นางสาวพณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ ผู้บริหารด้านธุรกิจ บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ขณะนี้หลายประเทศหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ ๔๐% ภายในปี ๒๕๗๓ จากปัจจุบันไทยมีการปล่อยคาร์บอนคิดเป็นอันดับที่ ๑๙ ของโลก ภาคเกษตรกรรมมีกิจกรรมบางส่วนที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะการปลูกข้าวที่พบว่า มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง ๕๐.๕๘% ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน ที่เกิดจากกระบวนการทำนาที่ขังน้ำไว้ อันส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง ๒๘ เท่า และก๊าซไนตรัสออกไซด์ ที่เกิดจากการใส่ไนโตรเจนในปริมาณมากเกินความต้องการของพืช การผลักดันให้พื้นที่เกษตรเป็นแหล่งลดก๊าซเรือนกระจก จึงเป็นแนวทางที่ประชาคมโลกให้ความสำคัญtt tt“ภาครัฐตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตร ๑ ล้านตัน แนวทางดังกล่าวถือเป็นอานิสงส์ให้ “บริษัท วรุณา หนึ่งหน่วยธุรกิจภายใต้ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ผู้เชี่ยวชาญในการขับเคลื่อนคาร์บอนอย่างยั่งยืนในภาคการเกษตรและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง สร้างคาร์บอนเครดิต สร้างรายได้ ผ่านแอปพลิเคชันคันนา (KANNA) เพื่อช่วยบริหารจัดการแปลงเกษตรแบบครบวงจร มีฟีเจอร์การใช้งานหลากหลาย ตั้งแต่การวางแผนการเพาะปลูกจนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ข้อมูลสภาพอากาศแบบเรียลไทม์รายวันและรายชั่วโมง โรคและแมลง คาดการณ์ผลผลิต จนถึงการเก็บเกี่ยว โดยโครงการนี้ยังสนับสนุนให้เกษตรกรไทยเปลี่ยนวิธีทำนาข้าวแบบดั้งเดิม ที่หนึ่งฤดูกาลเพาะปลูกมีการใช้น้ำ ๗๐๐-๑,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตร/ไร่ มาเป็นการปลูกแบบเปียกสลับแห้ง โดยการใช้ท่อ PVC ขนาด ๒๕ เซนติเมตร เจาะรูและฝังลงในนา เพื่อวัดระดับน้ำและดูการใช้น้ำ สามารถลดการใช้น้ำลงได้ ๕๐% ลดต้นทุนการเพาะปลูก ๘-๑๓% และลดก๊าซมีเทน ๘๐%”tt tttt ttนอกจากนี้คันนายังเป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้เกษตรกรไทยมีความมั่นใจกับการทำการเกษตรมากขึ้น เพราะในอดีตการทำนาเป็นการพึ่งพาศาสตร์แบบดั้งเดิม พร้อมทั้งต้องคาดเดาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่มีความไม่แน่นอน แอปฯดังกล่าวจึงเป็นเสมือนผู้ช่วยประจำแปลงที่คอยช่วยตั้งแต่เริ่มการเพาะปลูกจนถึงขั้นตอนการเก็บ เกี่ยว และช่วยจัด การแปลงเกษตรแบบครบวงจร อีกทั้งยังทำให้เกษตรกรรู้จักปรับตัวใช้เทคโนโลยี รวมถึงรับรู้ถึงปัญหาจากการตีความข้อมูล เชิงลึกเพื่อให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ ช่วยทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักกับการปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง ที่นอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทน ช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายคาร์บอนเครดิต โดยในประเทศไทยเริ่มมีการขายคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ในรูปแบบตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ หรือ เครดิต T-VERs (Thailand Voluntary Emission) แม้ปัจจุบันการซื้อขายเครดิต TVERs ยังมีไม่มากนัก แต่ในอนาคตจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีการคาดการณ์ ความต้องการซื้อคาร์บอนเครดิตของไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓-๒๕๗๓ จะสูงถึงราว ๑,๖๐๐ ล้านตัน tCO๒eโดยวรุณามีเป้าหมายในการส่งเสริมการทำนาเปียกสลับแห้งครอบคลุม ๑๕ จังหวัด พื้นที่ ๑ ล้านไร่ภายในปี ๒๕๗๓ สนใจติดต่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อีเมล varuna.contact @varuna.co.th หรือโทร.๐-๒๐๗๘- ๖๕๕๕ และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://varuna.co.thtt tttt ttคลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม
Related posts