ระเบียบ กรมราชทัณฑ์ (ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.๒๕๖๐) อาทิ ระเบียบราชทัณฑ์ว่าด้วยการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง พ.ศ.๒๕๖๑ ระเบียบราชทัณฑ์ว่าด้วยอำนาจของเจ้าพนักงานเรือนจำและการแต่งตั้งผู้ช่วยเหลือกรมราชทัณฑ์ พ.ศ.๒๕๖๑ ระเบียบราชทัณฑ์ว่าด้วยการตรวจสอบจดหมาย เอกสารพัสดุภัณฑ์หรือสิ่งสื่อสารอื่น หรือสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารทางโทรคมนาคมหรือทางใดๆ มีถึงหรือจากผู้ต้องขัง พ.ศ.๒๕๖๑ ระเบียบราชทัณฑ์ว่าด้วยการจำหน่ายและทำลายสิ่งของที่ไม่อนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในเรือนจำและสิ่งที่ได้ยึดไว้ตามอำนาจหน้าที่ พ.ศ.๒๕๖๑ เป็นต้น ระเบียบราชทัณฑ์มีทั้งหมด ๒๕ เรื่อง เรื่องที่ ๒๕ คือ ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานคุมขัง พ.ศ.๒๕๖๖ ได้ระบุถึงสถานกักขัง สถานกักกันภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์เอาไว้ ๖๗ แห่งทั่วประเทศ เรือนจำจังหวัด เรือนจำอำเภออีก ๗๖ แห่งระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขัง ในสถานที่คุมขัง ได้กำหนดไว้ใน หมวดที่ ๑ ว่าด้วยสถานคุมขัง (๓) การรักษาพยาบาลผู้ต้องขังในสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และมีการกำหนดลักษณะของสถานคุมขังเอาไว้ด้วยว่า กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีเลขทะเบียนบ้าน กรณีสิ่งปลูกสร้างต้องมีเลขที่อาคาร สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้งได้ สามารถกำหนดพิกัดในการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ มีที่อยู่และเลขประจำบ้านที่ระบุไว้ในทะเบียนบ้าน แผนที่แสดงอาณาเขตและชื่อ นามสกุลของผู้ดูแลสถานที่คุมขัง หมวด ๒ ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ต้องขังที่ได้รับการพิจารณาให้ออกไปคุมขังยังสถานที่คุมขัง หมวดที่ ๓ การพิจารณาสถานคุมขัง หมวด ๔ การคุมขังในสถานคุมขัง หมวด ๕ การเพิกถอนการคุมขังในสถานคุมขังซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้บัญชาการเรือนจำและคณะกรรมการที่จะพิจารณาเห็นชอบในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ต้องขังและสถานที่ต้องขัง ตีความรวมไปถึงบ้านเรือนที่อยู่อาศัยด้วย ประกาศเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ลงนามโดย สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดยุติธรรม รักษาการแทนอธิบดีกรมราชทัณฑ์ตัดกลับไปที่ กรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี ชัยชนะ เดชเดโช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน ได้ระบุถึงกรณีที่ สมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกฯ อดีต รัฐมนตรีว่าการยุติธรรมอ้างว่าการที่กรรมาธิการจะไปดูงานที่โรงพยาบาลตำรวจและจะถือโอกาสขอเข้าเยี่ยมการพักรักษาตัวของ ทักษิณ ชินวัตร ว่าอาการป่วยเป็นอย่างไร ระวังจะถูกฟ้องนั้น เป็นการปกป้องและปกปิดไม่ให้สาธารณชนได้รับรู้ ดังนั้นในวันที่ ๑๒ มกราคม๒๕๖๗ กรรมาธิการจะไปทำหน้าที่สอบสวนหาข้อเท็จจริงให้กับประชาชน ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ โกโซบิ๊กสลับไปที่สภาผู้แทนราษฎร ร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับเพื่อไทยและก้าวไกล เตรียมนำเข้าพิจารณาในสภาในเดือน มกราคมปีหน้าเช่นกัน ซึ่งเป็นคนละเรื่องเดียวกัน ระเบียบราชทัณฑ์ถูกโฟกัสไปที่อดีตผู้นำ ทักษิณ ชินวัตร เพียงคนเดียว เรื่องของนิรโทษกรรม โฟกัสไปที่ ม.๑๑๒ ซึ่งมีผลถึงมาตรฐานการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งถ้าหากแยกไม่ออกระหว่างกระบวนการยุติธรรมกับการเมืองแล้ว ไม่เกี่ยวกับว่าจะออกในยุคสมัยใดประเทศไทยจะเข้าสู่กับดักวงจรอุบาทว์อีกระลอก.หมัดเหล็กmudlek@thairath.co.thคลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม
Related posts