เป็นธรรมดาที่คนระดับนายกรัฐมนตรี ต้องตีกรรเชียงหนีประเด็นการเมือง เพราะถ้าเอาตัวเองเข้าไปพัวพันด้วยก็ไม่ต่างจากการรับลูกตีนฝ่ายค้านฉันใดฉันนั้น“เศรษฐา ทวีสิน” ผู้นำรัฐบาลหลีกเลี่ยงไม่พยายามตอบคำถามใดๆ พยายามผลักออกไปให้ไกลตัวโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับ “ทักษิณ” โดยชี้ว่าทุกอย่างทำตามระเบียบและยึดกติกาเป็นที่ตั้งรัฐบาลไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือแต่อย่างใดก็ทิ้งปมนี้เอาไว้ใครจะว่ายังไงก็ช่าง…และคุยด้วยว่า รัฐบาลมันมีเสถียรภาพที่มั่นคงด้วยเสียงสนับสนุน ๓๑๔ เสียง เต็มพิกัดพรรคร่วมมือร่วมใจกันทำงานไร้ปัญหาครับ…นี่เป็นคำพูดก่อนส่งท้ายปี ๒๕๖๖แต่หลายฝ่ายเห็นค่อนข้างตรงกันว่า การเมืองจะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มแค่ต้นปี ๒๕๖๗ เป็นต้นไป เริ่มจาก ๓-๕ มกราคม๖๗ สภาจะมีการพิจารณางบประมาณของรัฐบาลฝ่ายค้าน “ก้าวไกล-ปชป.” ยืนยันตรงกันว่า ทำหน้าที่ตรวจ สอบอย่างเต็มที่ และจะเป็นการเริ่มต้นทำงานอย่างเอาการเอางานเริ่มจากการจัดขุนพลชำแหละงบประมาณทุกเม็ด หากมีอะไรไม่ชอบมาพากล หรือใช้งบประมาณที่ไม่เหมาะสมจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปสู่การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลของฝ่ายค้านรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ฝ่ายค้านที่นำโดย “เพื่อไทย” มีการเปิดซักฟอกรัฐบาลแทบทุกสมัยประชุมที่กฎหมายเปิดช่องให้เรียกว่าหายใจเข้าหายใจออกต้องอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อน แต่ไม่สามารถเล่นงานรัฐบาลได้ เพราะรัฐบาลมีเสียงสนับสนุนมากกว่าอีกทั้งการเตรียมข้อมูลไม่หนักแน่นพอ ทำให้นํ้าหนักหมัดไม่สามารถน็อกได้นี่ก็เป็นบทเรียนอย่างหนึ่งของฝ่ายค้าน ที่คิดจะเปิดซักฟอกจะต้องทำการบ้าน ด้วยการเตรียมข้อมูลและวางแผนเป็นอย่างดีไม่ใช่ “ปาหี่” จนสังคมเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายต้องไม่ลืมว่าการเปิดศึกซักฟอกนั้น ไม่ใช่ฝ่ายค้านมันอยู่ฝ่ายเดียว แต่ต้องทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกร่วมด้วยนั่นคือข้อมูลชัดและอภิปรายอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีนํ้าหนักน่าเชื่อถือ“ประชาธิปัตย์” ถือว่าเป็น “เจ้าพ่อ” ฝ่ายค้านที่สามารถโค่นรัฐบาลมาหลายชุดแล้ว นอกจากจะมี “ขุนพล” ที่ปากกล้าแล้วยังมีการศึกษาหาข้อมูลในเชิงลึก ชวนให้ติดตามและมีเป้าหมายที่ชัดเจน ล่าสุดประเด็น “จำนำข้าว”ทำให้รัฐบาล “ปู” ไปไม่เป็นจนเกิดแรงต่อต้านของประชาชน ผนวกกับความพยายามที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบ “เหมาเข่ง” เพื่อช่วยเหลือ “ทักษิณ”แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด และนำไปสู่การ “ยึดอำนาจ” จน “เพื่อไทย” ต้องเว้นวรรคการเป็นรัฐบาล ไปทำหน้าที่ฝ่ายค้านด้วยความเจ็บปวดทั้งหลายทั้งปวง ยังมีประเด็นที่ล่อแหลมจะนำไปสู่ความ ขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พระราชบัญญัติเงินกู้ ๕ แสนล้านบาท และการแก้ไขรัฐธรรมนูญกฎหมายเหล่านี้คือชนวนที่จะทำให้การเมืองเกิดความขัดแย้งทั้งสิ้นนายกรัฐมนตรีเตรียมตัวเตรียมใจรับมือให้ดีก็แล้วกัน ไม่มีทางชิ่งหนีไปไหนได้!“สายล่อฟ้า”คลิกอ่านคอลัมน์ “กล้าได้กล้าเสีย” เพิ่มเติม
Related posts