Sunday, 19 January 2025

"นิกร" แจง ออกคำถามประชามติส่งครม. ยึดคำมั่นสัญญาให้ไว้กับประชาชน

“นิกร” ยัน กก.ศึกษาแนวทางทำประชามติแก้รธน.แจงยิบ ออกคำถามประชามติส่ง คณะรัฐมนตรีกว้างขวาง รอบคอบ ยึดคำมั่นสัญญา ให้ได้ฉบับประชาธิปไตยของประชาชน ป้องกันวิกฤติรัฐธรรมนูญวันที่ ๒๗ ธ.ค. ๖๖ นายนิกร จำนง โฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ กล่าวถึง กรณีที่เกิดข้อโต้แย้งจากคำถามในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลที่ถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้ไขหมวด ๑ บททั่วไป หมวด ๒ พระมหากษัตริย์” ที่วิจารณ์ว่า เป็นการมัดมือชก และยัดไส้นั้น ว่า คำถามนี้เป็นมติของคณะกรรมการชุดใหญ่ที่ได้มาจากชุดคำถามตามข้อเสนอแนะของคณะอนุฯ รับฟังความเห็นประชาชน แบบที่ ๒ คำถามที่ ๑ ที่ได้รับมาจากความเห็นส่วนใหญ่จากกลุ่มประชาชน ทั้งยังเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้แถลงต่อรัฐสภาและประชาชนอย่างชัดเจน จากข้อตกลงร่วมกันของพรรคการเมืองก่อนเข้าร่วมรัฐบาล ซึ่งถือเป็นคำมั่นสัญญาที่จะต้องดำเนินการเช่นเดียวกันกับการที่จะไม่แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ที่ได้ให้ไว้ต่อประชาชนนายนิกร กล่าวว่า เป็นการประกันความร่วมมือสนับสนุนการร่วมจัดทำรัฐธรรมนูญของประชาชนฉบับใหม่จากประชาชน ที่ได้ตอบแบบสอบถามเบื้องต้นมาตามนี้ วุฒิสภา พรรคร่วมรัฐบาล ที่สำคัญหากไม่กำหนดให้ชัดเจนไปว่า จะไม่แก้ไขในหมวด ๑ และหมวด ๒ เอาไว้นั้นอาจนำไปสู่ความขัดแย้งขึ้นต่อประเด็นดังกล่าวให้เกิดในหมู่ประชาชนขึ้นได้อีก ทั้งในระหว่างการทำประชามติและในการนำไปสอดไส้กล่าวอ้างขอแก้ไขหมวดดังกล่าวในอนาคต เมื่อมีประชามติออกมาให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่tt ttนายนิกร กล่าวว่า ที่วิจารณ์เป็นการมัดมือชก และเป็นการสอดไส้นั้น มิได้เป็นการมัดมือชก หากแต่เป็นการกระทำตามภารกิจสำคัญให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาและต้องไม่สร้างปัญหาความขัดแย้งใหม่ขึ้นมาจากการนี้อีก จึงอยากสอบถามกลับไปว่าการเปิดให้กว้างในประเด็นที่เห็นแล้วว่า อ่อนไหวมากเช่นนั้นจะไม่เป็นการเปิดมือยุยงให้ประชาชนชกกันเองหรือ เราทุกคนไม่ว่า จะเป็นฝ่ายไหนก็ต้องช่วยกันป้องกันสถานการณ์เช่นนั้นมิใช่ช่วยกันสุมไฟ และอยากจะถามกลับไปอีกว่า ตกลงแล้วอยากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดต่างๆ เพื่อประชาชนหรืออยากแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะในหมวด ๑ และหมวด ๒ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับมาตรา ๑๑๒ เช่นนั้นหรือ นายนิกร กล่าวว่า ส่วนกรณีที่นักวิชาการกังวลว่า ทำไมถึงไม่มีคำถามล่วงหน้าเกี่ยวกับการมี สสร. มาร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขอเรียนว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะถามในขณะนี้ เพราะคณะกรรมการพิจารณแล้วเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการถูกร้อง ว่า การออกเสียงประชามตินั้นเป็นกรณีที่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๖ เพราะในขณะที่ตั้งคำถามนั้น ยังไม่มีสภาร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในมาตรา ๒๕๖ แต่อย่างใด รอไว้ให้ประชาชนมีมติ ให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ก่อน แล้วเสนอร่างแก้ไขมาตรา ๒๕๖ ในรายละเอียด แล้วจึงถามประชามติในตอนที่จำเป็นต้องถามอยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นการป้องกันการถูกตีตกไปตั้งแต่ต้น นายนิกร กล่าวว่า การตัดสินใจในการออกคำถามดังกล่าวของคณะกรรมการเพื่อเสนอให้ คณะรัฐมนตรีตัดสินใจในครั้งนั้น ได้พิจารณาอย่างกว้างขวาง อย่างรอบคอบ อย่างรักษาคำมั่นสัญญาว่า “เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์” ที่ได้ให้ไว้ต่อประชาชนให้สำเร็จลงให้ได้ ด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาเป็นวิกฤติรัฐธรรมนูญ สร้างความขัดแย้งในหมู่ประชาชนขึ้นมาอีก