Sunday, 19 January 2025

DCS ชูวิสัยทัศน์ Autonomous Enterprise นำธุรกิจไทยสู่การทำงานที่มั่นคงปลอดภัยบน Hybrid Multicloud

27 Dec 2023
153

บริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด หรือ DCS เผยกลยุทธ์ด้านระบบ IT สำหรับปี ๒๐๒๔ บนแนวคิดของ Autonomous Enterprise พร้อมตอบโจทย์ธุรกิจองค์กรไทยทั้งในแง่ของการปรับเปลี่ยนการทำงานให้กลายเป็นอัตโนมัติด้วยนวัตกรรม AI, Automation และ Digital GRC บนฐานความพร้อมให้ธุรกิจใหม่ด้วยระบบ IT Infrastructure ในรูปแบบของ Hybrid Multicloud ที่มาพร้อมกับการทำ Cybersecurity อย่างครบวงจรปี ๒๐๒๔ นี้ ถือเป็นปีที่จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านการลงทุนเทคโนโลยี IT ในภาคธุรกิจองค์กรขนานใหญ่จากการมาของเทคโนโลยีอย่าง AI ที่พร้อมนำมาใช้งานจริงแล้วในภาคธุรกิจ ทำให้ธุรกิจต้องเร่งปรับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT และวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับทิศทางด้านกลยุทธ์ในอนาคตDCS และมุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อธุรกิจองค์กรไทย๑. Autonomous Enterprise เปลี่ยนการดำเนินงานภาคธุรกิจและ IT ให้เป็นอัตโนมัติด้วย AI, Automation และ Digital GRCแนวคิดของ Autonomous Enterprise คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้กระบวนการทำงานต่างๆ มีความเป็นระบบที่ชัดเจน และเป็นอัตโนมัติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยลดการทำงานในส่วนที่ต้องใช้พนักงานในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวจัดการข้อมูลในระบบให้น้อยที่สุด และนำเทคโนโลยีด้าน Data Analytics/AI/ML เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ เพื่อให้องค์กรมีความเป็นอิสระ ยืดหยุ่น คล่องตัว และมีการปรับเปลี่ยนปรับปรุงไปในทิศทางที่ดีขึ้นอยู่เสมอด้วยตนเองสำหรับธุรกิจองค์กรในประเทศไทย สามารถเริ่มต้นก้าวสู่การเป็น Autonomous Enterprise ได้ก่อนใน ๒ ภาคส่วนหลักๆ เพื่อเตรียมต่อยอดในอนาคตได้ดังนี้การทำ GRC และ Audit ด้วย Digital Platform ที่จะช่วยเปลี่ยนให้กระบวนการจัดเก็บรวบรวมวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ข้อกำหนด และข้อกฎหมายที่ต้องการ กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและประหยัดเวลาต่อธุรกิจ รวมถึงยังเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงด้านการตรวจสอบ ควบคุม และกำกับดูแลของธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการดำเนินธุรกิจในภาคส่วนต่างๆ ได้ต่อไป อีกทั้งยังไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานหลักของธุรกิจมากนัก ทำให้เหมาะที่จะเป็นก้าวแรกในการเริ่มดำเนินการจากส่วนนี้การบริหารจัดการด้าน IT ด้วยการนำแนวคิด ITSM, ITAM และ ITOM เข้ามาใช้งาน เพื่อให้การดำเนินงานด้าน IT นั้นมีความเป็นอัตโนมัติ โปร่งใส และวัดผลได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ระบบ IT เองก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นการตรวจสอบ ควบคุม และกำกับดูแลการดำเนินงานในส่วนของ IT จึงมีความจำเป็นอย่างมากต่อการต่อยอดสร้างโอกาสใหม่ๆ และการบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจในทุกวันนี้๒. Hybrid Multicloud & AI Infrastructure เตรียมความพร้อมธุรกิจต่อนวัตกรรมใหม่ ด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับสถาปัตยกรรมของระบบ IT ในปีนี้ มี ๒ ประเด็นหลักๆ ที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญด้วยกัน คือ การวางกลยุทธ์ด้าน Hybrid Multicloud เพื่อเป็นระบบ IT Infrastructure หลักสำหรับรองรับ Application และ Workload ใหม่ๆ ในอนาคต และการวาง AI Infrastructure สำหรับรองรับระบบ AI โดยเฉพาะนั่นเองสถาปัตยกรรม Hybrid Multicloud เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงกันมานานหลายปีแล้ว แต่ในปี ๒๐๒๔ นี้ สถาปัตยกรรมดังกล่าวจะได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้นจากบรรดาผู้นำทางด้าน IT ในธุรกิจองค์กรหลายแห่ง เพราะเมื่อธุรกิจเริ่มมีการใช้งานระบบ Cloud มากขึ้น ก็ย่อมจะต้องเผชิญกับปัญหา ๒ ประการ ได้แก่ การใช้บริการ Cloud ที่หลากหลายทำให้ยากต่อการบริหารจัดการในภาพรวม และ Workload บางประเภทนั้นเหมาะสำหรับการใช้งานร่วมกันทั้งแบบ On-Premises และ Cloud จึงจะมีความคุ้มค่าสูงที่สุดในขณะเดียวกัน การมาของ AI ก็ทำให้ธุรกิจองค์กรทั่วโลกต่างตื่นตัว และริเริ่มทำโครงการด้านการพัฒนาระบบ AI เฉพาะทางของตนเอง หรือนำ AI Model ต่างๆ จากทั่วโลกมาประยุกต์ปรับปรุงเพื่อการใช้งาน ซึ่งธุรกิจจำเป็นจะต้องมี AI Infrastructure สำหรับโครงการเหล่านี้ ไม่ว่าจะอยู่บน Cloud ที่มีข้อดีเรื่องความยืดหยุ่น หรืออยู่บน On-Premises ที่มีข้อดีเรื่องความคุ้มค่าในบางกรณี และความสามารถในการควบคุมจัดการข้อมูลได้ง่ายกว่า๓. Next Generation Networking ก้าวสู่ความเร็วระดับใหม่ในการเชื่อมต่อเครือข่าย และการบริหารจัดการเครือข่ายด้วยแนวคิด AI Networking และ Observabilityในปี ๒๐๒๔ นี้มีเรื่องที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับวงการระบบเครือข่าย ได้แก่ แนวโน้มของการอัปเกรดความเร็วระบบเครือข่ายไปสู่ระดับใหม่ และการบริหารจัดการระบบเครือข่ายด้วย AI Networking และ Observabilityความเร็วของเครือข่ายระดับใหม่ที่จะมาในปี ๒๐๒๔ นี้ ในฝั่งของ Data Center Networking นั้น แนวโน้มของการใช้ระบบเครือข่ายความเร็ว ๑๐๐/๒๐๐/๔๐๐/๘๐๐Gbps กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะความเร็วในระดับนี้สามารถรองรับ AI Workload ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับธุรกิจองค์กรได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการลงทุนในระยะยาวที่คุ้มค่า ซึ่งจะทำให้ระบบเครือข่ายเหล่านี้สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนานอีกหลายปีทางด้านของ Client Network เอง ก็มีแนวโน้มของการอัปเกรดระบบเครือข่ายแบบเดินสายไปสู่ความเร็วระดับ ๑๐Gbps เป็นพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องต่อการมาของมาตรฐาน WiFi ๖E และ WiFi๗ ที่จะมีความเร็วเกินกว่า ๑๐Gbps ซึ่งมีแนวโน้มที่จะได้ใช้งานกันต่อไปอีกไม่น้อยกว่า ๓ ปีในแง่ของการบริหารจัดการเครือข่าย ๒ แนวคิดสำคัญที่กำลังมีบทบาทเป็นอย่างมากก็คือ AI Networking ที่ได้รวบรวมเอาความสามารถในการทำ Network Automation ทั้งหมดเอาไว้ด้วยกัน และนำ AI มาใช้เพื่อให้ระบบเครือข่ายมีความเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งในแง่ของการตรวจสอบปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายด้วยตนเอง, การวิเคราะห์ปัญหาด้วยตนเอง ไปจนถึงการรับคำสั่งจากผู้ดูแลระบบ IT ด้วยภาษาธรรมชาติส่วนอีกแนวคิดที่กำลังได้รับความสนใจและใช้งานจริงแล้วนั้นก็คือการทำ Observability ที่เป็นอีกขั้นของ IT Monitoring หรือ Network Monitoring ซึ่งจะสามารถเจาะลึกลงไปถึงระดับประสิทธิภาพการทำงานเบื้องหลังระบบของ Application ในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ อย่าง Microservices อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบประสบการณ์ของผู้ใช้งานได้ในเวลาเดียวกัน๔. Cybersecurity ความมั่นคงปลอดภัยที่ต้องผนวกรวมอยู่ในทุกส่วนขององค์กรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบ IT และผู้ใช้งานขององค์กรนั้น ได้กลายเป็นโจทย์สำคัญที่ธุรกิจไม่อาจละเลยได้อีกต่อไป ซึ่งการรักษาความมั่นคงปลอดภัยนั้นก็มีด้วยกันหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น Cloud Security, Application Security, Network Security, Endpoint Security และอื่นๆ อีกมากมาย๕. Modern Software Development การกำหนดโครงการพัฒนา Software ให้ผสานทั้งส่วนของ Application และ Data Analytics/ML/AI เป็นหนึ่งเดียวกัน จากในช่วงปี ๒๐๒๓ ที่ผ่านมา ทีมงาน DCS ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มที่เกิดขึ้นในโครงการด้านการพัฒนา Software หลายประการ เช่นการผสานรวมโครงการ Software Development และ Data Analytics เข้าด้วยกัน โดยเนื่องจากในทุกโครการพัฒนา Software นั้น มักจะมีส่วนของการรวบรวมข้อมูลและประมวลผลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นที่ผ่านมา DCS จึงมักเห็นการผสมผสานกันระหว่างสองส่วนนี้ภายในโครงการเดียวกัน ทำให้ในแต่ละโครงการจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ, กระบวนการที่ตอบโจทย์ และเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับทั้ง Software Development และ Data Analytics ควบคู่กันไปการใช้สถาปัตยกรรมแบบ Microservices และ Container โดยไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนา Software ในแบบ On-Premises หรือ Cloud ก็มักจะมุ่งมาสู่ทางนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาดูแลรักษา Software ต่อยอดในระยะยาว รวมถึงก้าวสู่ภาพของ Hybrid Multicloud ได้ง่ายอีกด้วยโครงการพัฒนา Software ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบไป จากเดิมที่มักเป็นโครงการจ้างพัฒนาที่แล้วเสร็จ ไปสู่การพัฒนาแบบต่อเนื่องในแบบ Build-Measure-Learn เพื่อให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ต่อยอด Software ได้อย่างต่อเนื่อง ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างทันท่วงที๖. Digital Building ปรับปรุงอาคารสถานที่ทำงานให้ตอบโจทย์ต่อการใช้นวัตกรรมที่หลากหลาย ด้วย Smart Workplace, Smart Meeting Room และ Smart Buildingด้วยแรงผลักดันจากการปรับเปลี่ยนการทำงานมาสู่ Hybrid Workplace และกระแสของการทำ ESG ที่กำลังเกิดขึ้น ทำให้ธุรกิจองค์กรหลายแห่งหันมาให้ความสำคัญกับการปรับปรุงอาคารสถานที่ทำงานให้มีทั้งความทันสมัย รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ และตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนไปในเวลาเดียวกัน โดย DCS ได้เห็นถึงการเติบโตของโครงการใน ๓ รูปแบบ ดังนี้การปรับปรุงห้องประชุมและพื้นที่ทำงาน ให้การประชุมติดต่อสื่อสารงานเกิดขึ้นได้ผ่านระบบประชุม หรือเทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างคล่องตัวในทุกพื้นที่ทำงาน ซึ่งธุรกิจองค์กรหลายแห่งก็มีโครงการสร้างห้องประชุมในแบบ Hybrid กันมากขึ้น ทำให้การออกแบบห้องทำงาน ห้องประชุมและการคัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสมกลายเป็นความท้าทายใหม่ที่ธุรกิจต้องเผชิญการใช้ระบบ Streaming อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้ธุรกิจมีช่องทางในการสร้างสรรค์สื่อในรูปแบบวิดีโอได้ด้วยตนเองในงบประมาณที่คุ้มค่า ตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปเสพย์สื่อวิดีโอในแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีการออกแบบระบบ Smart Building เพื่อให้การดูแลรักษาอาคารในระยะยาวเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลในระดับโครงสร้างอาคาร, การดูแลรักษาระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นภายในอาคาร ไปจนถึงการควบคุมระบบแสงสว่าง เครื่องปรับอากาศ และการทำ Access Control ในพื้นที่ต่างๆ ให้อาคารสามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่บุคลากรภายในอาคาร สามารถติดตามการใช้ไฟฟ้าและช่วยประหยัดพลังงานเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจสำหรับผู้ที่สนใจในบริการของ DCS สามารถติดต่อทีมงาน DCS ได้ที่ https://www.datapro.co.th/index.php/contact-form-en