Sunday, 19 January 2025

นักบรรพชีวิทยาเผย ฟอสซิลกระดูกกราม ๑๙ ล้านปีชี้วิวัฒนาการวาฬ

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่มีฟันอยู่ในปาก แต่วาฬบาลีนที่เป็นยักษ์แห่งมหาสมุทร มีข้อยกเว้นที่แปลกประหลาด เพราะแทนที่จะมีฟัน วาฬชนิดนี้กลับมี “บาลีน” คือชั้นเคราตินเนื้อละเอียดคล้ายขนขนาดใหญ่ ไว้ใช้กรองตัวเคยเล็กๆ ออกจากน้ำ พวกมันเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เจ้าของสถิติคือวาฬสีน้ำเงิน หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Balaenoptera musculus มีความยาวได้ถึง ๓๐ เมตร จัดว่ายาวกว่าสนามบาสเกตบอล และตลอดประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของวาฬบาลีน นักวิจัยเผยว่าแม้วาฬบาลีนที่มีขนาดเล็กยาวราว ๕ เมตร เล็กกว่าวาฬบาลีนด้วยกัน แต่ก็ยังถือว่ามีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆ ส่วนใหญ่เมื่อเร็วๆนี้ มีรายงานจากนักบรรพชีวิทยากลุ่มหนึ่งเผยแพร่ในวารสารของราชสมาคมกรุงลอนดอนฉบับบี ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ นำเสนอการวิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลส่วนปลายของขากรรไกรล่างของวาฬบาลีนอายุ ๑๙ ล้านปี ที่พบริมฝั่งแม่น้ำเมอร์เรย์ ในรัฐเซาท์ ออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลียเมื่อกว่า ๑๐๐ ปีก่อน ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ โดยคาดว่าฟอสซิลนี้จะเป็นของวาฬบาลีนที่ขนาดยาวประมาณ ๙ เมตร ทำให้มันกลายเป็นเจ้าของสถิติใหม่ในช่วงเวลา ๑๙ ล้านปีก่อนสิ่งสำคัญที่สุดของการพบฟอสซิลนี้จากดินแดนทางซีกโลกใต้ แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยทางตอนใต้ของโลก วาฬก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเร็วกว่าที่ทฤษฎีที่นำเสนอก่อนหน้าไว้มาก เพราะสถิติเดิมนั้นระบุว่าวาฬที่วิวัฒนาการในยุคแรกๆ มีความยาวเพียง ๖ เมตรเท่านั้น นอกจากนี้ การที่วาฬบาลีนมีลำตัวขนาดใหญ่ทำให้ต้องใช้พลังงานมหาศาล เมื่อตายไปวาฬเหล่านี้จะให้สารอาหารมากมายแก่ระบบนิเวศใต้ท้องทะเลลึก.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่