แบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ กลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของผู้คนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ตามข้อมูลศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริการะบุว่า ในแต่ละปีมีการติดเชื้อมากกว่า ๒.๘ ล้านราย ซึ่งหากไม่มียาปฏิชีวนะชนิดใหม่ๆ มากำราบเชื้อดื้อยาพวกนี้ การได้รับบาดเจ็บหรือติดเชื้อทั่วไปก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ข่าวคราวการพัฒนายาที่จะมาใช้ช่วยกำจัดภัยคุกคามดังกล่าวก็มีมาให้เห็นอยู่บ้าง เมื่อเร็วๆนี้ ก็มีรายงานจากทีมวิจัยที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการ Michaudel Lab แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอ แอนด์ เอ็ม ในสหรัฐอเมริกา รายงานลงในการประชุมวิชาการของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ แสดงให้เห็นหนทางวิธีจัดการเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา เช่น เอสเชอริเชีย โคไล (E. coli) และสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส ที่ดื้อยาเมธิซิลิน (MRSA) ทีมอธิบายว่าสังเคราะห์โพลีเมอร์ชนิดใหม่ด้วยการออกแบบโมเลกุลที่มีประจุบวก แล้วนำมายึดต่อกันได้หลายครั้งจนกลายเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ และใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่คัดสรรมาอย่างดีเรียกว่า อควาเมท (AquaMet) ตัวเร่งปฏิกิริยานี้พิสูจน์ได้ว่ามีความสำคัญ เพราะทนต่อประจุที่มีความเข้มข้นสูง แถมยังละลายน้ำได้ ถือเป็นคุณลักษณะที่ไม่ธรรมดาสำหรับกระบวนการประเภทนี้แต่ผลลัพธ์ว่าจะได้อย่างใจหวังหรือไม่ อาจต้องรอหน่อย เพราะทีมวิจัยได้นำโพลีเมอร์ใหม่ไปทดสอบกับแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะ E. coli และ MRSA โดยร่วมมือกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเสตต์ เอมเฮิร์สต์ ระหว่างที่รอข่าวดี ทีมของ Michaudel Lab ก็ทดสอบความเป็นพิษของโพลีเมอร์ต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงของมนุษย์ด้วย นับเป็นอีกก้าวสำคัญที่ต้องจับตาในการพิชิตแบคทีเรียดื้อยา.Escherichia coli. Credit : Rocky Mountain Laboratories, NIAID, NIHอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
ทีมวิจัยจากสหรัฐฯ เผยโพลีเมอร์ที่สามารถสู้กับเชื้อแบคทีเรียได้
Related posts