รัฐมนตรีว่าการยุติธรรม มั่นใจ นายกฯ เซ็น แบ่งงานใหม่ ไม่เกี่ยวปมร้อน “ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์” เชื่อ “พีระพันธุ์” คงไม่ทำอะไร นอกเหนือหลักนิติธรรม เผย ต้นเดือน ธ.ค. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ขึ้นไปตรวจชั้น ๑๔ รพ.ตำรวจ มาแล้ววันที่ ๓๑ ธ.ค. พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกล่าวถึงการเซ็นคำสั่งเปลี่ยนแปลงการทำงานของรองนายกรัฐมนตรีใหม่โดยให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เข้ามากำกับดูแลกระทรวงยุติธรรมแทนนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ว่า ทั้งนายสมศักดิ์และนายพีระพันธุ์ เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก่อนหน้าได้คุยกับนายสมศักดิ์บอกว่า งานที่กำกับดูแลของนายภูมิธรรม มีเยอะและงานที่แบ่งให้นายสมศักดิ์ไปดูแลก็เยอะขึ้นไปด้วย ขณะเดียวกัน นายพีระพันธุ์ ก็เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ส่วนนโยบายของกระทรวงยุติธรรมการทำงานก็มีนโยบายหลักของรัฐบาลอยู่แล้ว ส่วนนโยบายส่วนตัวจะต้องทำงานปกป้องคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากปัญหาอาชญากรรม และต้องเปลี่ยนการทำงานให้ความยุติธรรมไปหาประชาชนไม่ใช่ให้ประชาชนไปหาความยุติธรรม และประเด็นสำคัญ คือ ต้องยกระดับความยุติธรรมให้เข้มแข็งเป็นที่ยอมรับของต่างชาติ ซึ่งวันที่ ๕ มกราคม นายกรัฐมนตรี ไปพูดเรื่องหลักนิติธรรมที่กระทรวงยุติธรรมส่วนเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดังกล่าว จะเป็นการเอื้อให้นายทักษิณ รวมถึงเตรียมความพร้อมปูทางให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับประเทศไทยนั้น พันตำรวจเอกทวี กล่าวว่า นายพีระพันธุ์ คงไม่ทำอะไรที่นอกเหนือเพราะแม้แต่กระทรวงยุติธรรมเองเราก็ยึดหลักการปฏิบัติทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนพระราชบัญญัติยุติธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ ไม่ใช่พระราชบัญญัติที่รัฐบาลนี้ตั้ง โดยในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์เขียนไว้ท้ายชัดเจน เจตนารมณ์ของกฎหมายเนื่องจากกฎหมายเดิมขัดต่อหลักการสากลเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะไม่สามารถตามพฤตินิสัยคนที่เข้าไปในเรือนจำเขาไม่ ใช่ถูกตัดขาดจากสังคมซึ่งพฤตินิสัย คือ การนำคนที่จะไม่ไปกระทำผิดซ้ำเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติตามพฤตินิสัยได้เนื่องจากราชทัณฑ์มีที่ควบคุมหรือที่คุมขังอื่น มีแค่เรือนจำจึงได้เขียนกฎหมายนี้ให้มีมาตรา ๓๓ ๓๓ ๓๔ ๓๔ เมื่อกฎหมายเกิดขึ้นและมีเจตนารมณ์การไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ถือว่าไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม จึงได้มีการออกกฎกระทรวงและระเบียบจนออกประกาศขึ้นมายืนยันว่า ไม่ได้ออกมาเพื่อคนใดคนหนึ่ง แต่ที่คุมขังอื่นก็เป็นเรือนจำชนิดหนึ่งที่มีหลักการสำคัญคือต้องไม่ให้หนีและไม่ไปก่อเหตุร้าย ซึ่งนายพีระพันธุ์ จะทำนอกกฎเกณฑ์ไปจากนี้คงไม่ได้ และกรณีของนายทักษิณก็มีระเบียบและกฎเกณฑ์อยู่ ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ส่วนคดีไหนที่อยู่ระหว่างตัดสินหรืออยู่ระหว่างสอบสวนก็ให้ศาลพิจารณาโดยไม่ต้องเข้ามาอยู่ในเรือนจำ แต่ต้องมีสถานที่อื่น ส่วนในตัวของราชทัณฑ์เพื่อให้พัฒนาพฤตินิสัย เช่น คนแก่ คนป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ เด็กที่มีลูกก็จะมีที่คุมขังอื่นซึ่งระเบียบนี้คณะกรรมการของราชทัณฑ์สามคนในจำนวนเกือบ ๒๐ คน มีรัฐมนตรียุติธรรม ปลัดกระทรวง และอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นอกเหนือไปจากนั้นก็จะมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ จึงขอยืนยันว่าระเบียบดังกล่าวไม่ได้ออกมาเพื่อคนใดคนหนึ่งอย่างแน่นอนขณะเดียวกัน ก็จะนำเอาความคิดเห็นของหลายฝ่ายไปพิจารณากฎเกณฑ์การคุมขังนายทักษิณนอกเรือนจำด้วย เพราะบ้านเมืองเราเป็นประชาธิปไตยแต่ต้องยึดหลักกฎหมาย ไม่ได้ทำเพื่อคนใดคนหนึ่ง ส่วนอาการของนายทักษิณ ล่าสุดเป็นอย่างไรนั้นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ยังไม่ได้ส่งความเห็นมา เพราะกรณีที่ไปรักษาตัวนอกเรือนจำเกินกว่า ๑๒๐ วัน ให้ขอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ โดยมีความเห็นแพทย์ผู้ตรวจและหลักฐานอื่น ส่วนวันที่อยู่นอกเรือนจำจะเกินไปกี่วันนั้นก็มีกฎหมายกำหนดอยู่แต่ส่วนตัวเห็นว่า ไม่ควรเกินหนึ่งอาทิตย์ หรือจะบวก ลบ ๑-๒ วัน ซึ่งจะต้องรอความเห็นก่อนขณะเดียวกันตนเองก็ไม่เคยไปเยี่ยมนายทักษิณ แต่มีวันที่ไปตอบกระทู้สดของสภาฯ ได้เจอกับแพทย์ที่รักษานายทักษิณก็ยืนยันมาว่า นายทักษิณป่วยจริง และในวันที่ ๑๒ มกราคม ที่กรรมาธิการการตำรวจสภาผู้แทนราษฎรจะขึ้นไปตรวจที่ชั้น ๑๔ โรงพยาบาลตำรวจนั้นย้ำว่า กรมราชทัณฑ์ เปิดกว้างอยู่แล้ว และก่อนหน้านี้ก็มีหลายคณะเข้าไปดูมาแล้ว โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้ขึ้นตรวจสอบ ที่ชั้น ๑๔ มาเมื่อเมื่อต้นเดือนธันวาคม ขณะเดียวกันตนเองได้ให้นโยบายกับกรมราชทัณฑ์ไปว่าต่อไปนี้ควรจะเปิดเรือนจำหรือเปิดคุกให้คนที่สงสัยได้เข้าไปดูแต่ทุกอย่างต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ซึ่งต้องทำบ้านเมืองนี้ให้มีหลักนิติธรรมซึ่งหลักนิติธรรมไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งตนเองเห็นว่ากฎหมายและรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด มีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด กฎหมายใดจะแย้งรัฐธรรมนูญไม่ได้ ซึ่งในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ก็ชัดเจนอยู่แล้วจะเอาเรื่องส่วนตัวและอารมณ์ของคนใดคนหนึ่งมาใหญ่กว่ากฎหมายไม่ได้ไม่งั้นก็จะไม่ใช่หลักนิติธรรม ใช้ปากใหญ่กว่ากฎหมายหรือใช้ความรู้สึกใหญ่กว่า แต่ถ้ากฎหมายอันไหนยังไม่สมบูรณ์จะแก้ไขก็ต้องไปแก้กันในสภาเมื่อถามย้ำว่า กรรมาธิการตำรวจสามารถขึ้นไปชั้น ๑๔ ได้ใช่หรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้นายสมศักดิ์เคยระบุไว้ว่า ไม่สามารถขึ้นไปได้หากขึ้นไปก็จะถูกฟ้อง พันตำรวจเอกทวี กล่าวว่า ระบบการเยี่ยมมีอยู่แล้วเพราะก่อนหน้านี้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็ขึ้นไปมาแล้ว เพราะเรื่องนี้ทุกคนมาตรวจสอบ ส่วนรายละเอียดต้องดูคณะกรรมการดูว่า มีความเห็นอย่างไร เพราะตนเองทราบจากรายงานที่เขียนมา ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระถือเป็นอำนาจที่จะเข้าตรวจสอบได้ขณะเดียวกัน ตัวเองก็ไม่หนักใจในประเด็นของนายทักษิณและเห็นว่า จะเป็นประเด็นเผือกร้อนเพราะถ้าคนไม่เชื่อ เขาก็ไม่เชื่อ แล้ววันนี้เราต้องก้าวผ่านความอคติ และตนเองก็เปิดกว้างอยู่แล้ว สิ่งที่จะทำให้เห็น คือ ต้องมีงานที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ซึ่งหลังปีใหม่ก็จะมีเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญที่บางครั้งเขาจะอยู่ส่งอิทธิพลเกินไปจะได้รับการดำเนินการ รวมถึงเรื่องยาเสพติดด้วย