Sunday, 19 January 2025

ความหมายการแบ่งปัน

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศ ไทย เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานของเกาหลีใต้ที่มีงานชุกตลอดแทบทั้งปี ๒๕๖๖ และเพิ่งปิดท้ายปี “กระต่าย” ด้วยการจัด “เทศกาลกิมจิ ในวันคริสต์มาส” เอาใจคนชอบทำอาหารและนิยมอาหารเกาหลีอย่างสุดๆ เพราะงานนี้ไม่ใช่งานออกร้านขายกิมจิ แต่เป็นงานที่ชักชวนผู้คนมาลองทำกิมจิด้วยตัวเอง ณ ลานกิจกรรมเอ็ม บี เค อเวนิว เมื่อ ๒๕ ธันวาคมที่ผ่านมาผู้ที่เข้าร่วมมหกรรมเทศกาลกิมจิ ลงทะเบียนเข้ามาถึง ๔๐๐ ชีวิต ซึ่งกิจกรรมนี้ถูกอธิบายว่าเป็นประสบการณ์ “กิมจัง” ที่เป็นการทำกิมจิจำนวนมากๆในฤดูหนาว โดยนายปาร์ค ยงมิน เอกอัครราชทูตเกาหลีประจำประเทศไทย ระบุว่า “กิมจัง” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ เนื่องจากเป็นการปฏิบัติด้วยจิตวิญญาณแห่งการแบ่งปัน ดังนั้น การเปิดประสบการณ์กิมจังกับคนไทยและแบ่งปันกับมิตรประเทศนับว่าเป็นสิ่งที่เต็มไปด้วยความหมายหลังจากโหมโรงด้วยการแสดงกิลโนรี ขบวนแห่แบบดั้งเดิม ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทตีของเกาหลี รวมถึงการโชว์ลีลาเทควันโดโดยทีมเทควันโดพุมเซ่ทีมชาติไทยจบ นายปาร์ค ยงมิน เอกอัครราชทูตเกาหลีฯ พร้อมด้วยภริยา และ นายโจ แจอิล ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี รวมถึงยุน แดซุก เจ้าของร้านอาหารเกาหลีเมียงกา ก็นำทีมผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๔๐๐ คน ลงมือปลุกปั้นทำกิมจิจำนวนกว่า ๑,๕๐๐ กก.เจ้าภาพเผยว่า ได้ใช้ผักกาดขาวนำเข้าจากจังหวัดแฮนัม ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ ซึ่งนอกจากผู้ร่วมกิจกรรมจะได้นำกิมจิ ฝีมือตัวเองกลับไปกินให้อิ่มท้อง ยังได้บุญกลับไปแบบอิ่มใจด้วย โดยท่านเอกอัครราชทูตฯ ปาร์ค ยงมิน ได้มอบกิมจิ ๑,๐๐๐ กก.ให้กับตัวแทนมูลนิธิเอสโอเอส เพื่อส่งต่อกิมจิให้กับผู้ด้อยโอกาส เป็นไปตามเจตนารมณ์งาน “กิมจิ เดย์” และสอดคล้องความหมายของ “กิมจัง” ด้านนาย โจ แจอิล ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี ย้ำความยินดีที่ได้แบ่งปันอาหาร และนี่คือความหมายที่แท้จริงของ “กิมจัง” กับคนไทยในวันคริสต์มาสและศูนย์ฯ จะส่งเสริมอาหารเกาหลีที่เป็นตัวแทนผ่านกิมจิและการทำอาหารเกาหลีต่อไป.ภัค เศารยะคลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม