วันอาทิตย์ที่ ๓๑ ธันวาคม๒๕๖๖ ถึงวัน ศุกร์ที่ ๕ มกราคม๒๕๖๗ เป็นช่วงที่ควรประเมินสุขภาพให้ดีเพราะจะเป็นช่วงที่มีโอกาสที่จะเริ่มมีอาการป่วย หลังจากเดินทางไปกลับและพบปะคลุกคลี ปาร์ตี้สังสรรค์กัน ซึ่งหากไม่ป้องกันตัวให้ดี ก็จะติดเชื้อแพร่เชื้อกันจำนวนมากระยะเวลาหลังจากรับเชื้อโรค “โควิด-๑๙” มาจนถึงมีอาการป่วย จะอยู่ราว ๓-๔ วันอย่าลืม…หากป่วยแล้วตรวจวันแรกๆได้ผลลบ อย่าชะล่าใจ ให้ตรวจจนถึงวันที่ ๔-๕ หลังจากเริ่มมีอาการเพราะไวรัสจะพีกช่วงนั้น“…ยิ่งสูงอายุยิ่งต้องระมัดระวัง หากมีกิจกรรมพบปะสังสรรค์กัน ควรประเมินสุขภาพของตนเองให้ดี และป้องกันตัวด้วยเพราะเป็นกลุ่มเสี่ยง ภูมิคุ้มกันและสถานะสุขภาพไม่ได้แข็งแรงเท่าวัยหนุ่มสาวถ้าติดเชื้อโรคโควิด-๑๙ ขึ้นมา ไม่ได้เป็นแค่อาการไข้หวัดธรรมดา แต่เสี่ยงป่วยรุนแรงได้ ลงปอดได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อลองโควิดด้วย”รองศาสตราจารย์นพ.ธีระ วรธนารัตน์ โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)” ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับไวรัสร้าย “โควิด-๑๙” ที่ยังไม่จบง่ายๆ ย้ำว่าระวังข่าวลวงด้วยกิเลสที่จะทำให้ประมาท แม้มียาต้านไวรัสรักษา แต่ไม่ได้การันตีว่าทุกคนจะรอดปลอดภัย…ไม่เสี่ยงย่อมดีกว่าครับ“รักตัวเอง ดูแลตัวเอง ก็จะดีต่อสมาชิกอื่นๆในครอบครัวด้วยส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นี้ สมาชิกในครอบครัวทุกคนควรใส่ใจสุขภาพให้ดี”สมมติว่า…หากมีเหตุการณ์ ณ ปาร์ตี้สังสรรค์ในร้านอาหารหนึ่ง คนร่วมงานหลายสิบคนติดเชื้อกันไปกว่าหนึ่งในสี่หรือกว่า ๒๕% ถ้าใช้ความรู้จากงานวิจัยทั่วโลกมาวิเคราะห์จะพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วการรวมกลุ่มกันโดยทั่วไปนั้นจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อกันราว ๖% (๓-๑๐%)ในขณะที่หากเป็นอัตราเฉลี่ยของการติดเชื้อกันภายในครัวเรือนจะสูงถึง ๒๐% (๑๕-๒๘%)tt ttกรณีแพร่กันไปกว่า ๒๕% ข้างต้นนั้น ถือว่าสูงกว่าอัตราเฉลี่ยในการรวมกลุ่มกันถึงกว่า ๔ เท่า และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของการติดเชื้อภายในครัวเรือนอีกด้วย…บ่งบอกถึงสถานการณ์ปาร์ตี้สังสรรค์นั้นว่า น่าจะมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างร่วมกัน ทั้งในเรื่องความแออัด การคลุกคลีใกล้ชิดกันมาก ระยะเวลานาน การระบายอากาศไม่ดีนับรวมไปถึงมีผู้ที่ติดเชื้อที่มีอาการหรืออยู่ในระยะแพร่เชื้อโดยมีปริมาณไวรัสมากและ…หรือการมีกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่ได้มาก เช่น การแชร์ของกินของใช้ร่วมกัน ตะโกน ร้องเพลง และอื่นๆ โดยที่แต่ละคนไม่มีการป้องกันตัวอย่างเพียงพอหรือไม่ได้ป้องกันตัวความรู้ข้างต้นนี้นำมาสกัดเป็นบทเรียนได้ว่า การป้องกันตัวส่วนบุคคลนั้นมีความสำคัญ นอกจากนี้ การประเมินความเสี่ยงของกิจกรรมที่ทำการรักษาระยะห่าง เลี่ยงการแชร์ของกินของใช้ ลดระยะเวลาสัมผัส การจัดพื้นที่ให้กว้างเพียงพอเพื่อลดความแออัด รวมถึงการระบายอากาศก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงลงได้“การติดเชื้อเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ ลดความเสี่ยงลงได้ หลีกเลี่ยงได้ไม่ใช่ยอมจำนนแบบไม่มีทางต่อกร เพราะการเจ็บป่วยนั้นไม่ใช่เรื่องปกติและไม่ใช่เรื่องที่พึงปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม”หากยังพอจะจำกันได้การระบาดของสายพันธุ์ไวรัส “โควิด-๑๙” ช่วงปลายปี ๒๐๑๙-ปี ๒๐๒๐…“Wuhan strain” ปลายปี ๒๐๒๐-มีนาคม ๒๐๒๑…สายพันธุ์ G ช่วงเดือนเมษายน-ปลายปี ๒๐๒๑…สายพันธุ์อัลฟ่า ต่อด้วยเดลต้า ปี ๒๐๒๒…Omicron BA.๑ ตามด้วย BA.๒ และจบครึ่งปีหลังด้วย BA.๕ปี ๒๐๒๓ …XBB …XBB.๑.๑๖ …XBB.๑.๕ …EG.๕.x …BA.๒.๘๖.x ปลายปี ๒๐๒๓ เข้าสู่ปี ๒๐๒๔ …JN.๑ (BA.๒.๘๖.๑.๑)…ปี ๒๐๒๓ ที่ผ่านไปนี้ถือเป็นปีแห่ง variant soup มีความหลากหลายการกลายพันธุ์ของไวรัสจริงๆ…รองศาสตราจารย์นพ.ธีระ กล่าวเสริมถึงการวิเคราะห์ของ Hisner R ที่ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของลักษณะการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-๑๙ ที่แต่เดิมมักไม่ค่อยมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง “กรดอะมิโน” ที่เกี่ยวข้องกับบริเวณ Furin cleavage site (FCS)ซึ่งทราบกันดีว่าเป็น highly conserved regiontt ttเพราะเป็นจุดที่จำเป็นต่อการที่ไวรัสจะผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อเข้าสู่เซลล์ปอด ก่อนที่ TMPRSS๒ จะมีบทบาทในกระบวนการต่อมา…แต่ใน BA.๒.๘๖.x โดยเฉพาะอย่างยิ่ง JN.๑ และตัวอื่นๆนั้น มีการตรวจพบการกลายพันธุ์บริเวณกรดอะมิโนที่เกี่ยวข้องกับ FCS บ่อยขึ้นกว่าตัวอื่นๆในอดีต“เราไม่รู้ในตอนนี้ว่าลักษณะดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์โดดๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือจะขยายวงเป็นการเปลี่ยนแปลงปกติของตัวอื่นๆในอนาคต”และยังไม่รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อการระบาดของไวรัส รวมถึงผลที่จะเกิดขึ้นต่อคนที่ติดเชื้อในแง่ของความรุนแรงของโรคว่า จะเปลี่ยนแปลงไปในทางใด คงต้องรอติดตามและศึกษากันดูสักพัก น่าจะเห็นอะไรมากขึ้นในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ยุคนี้…นอกจากเมาไม่ขับ หากขับรถยนต์ส่วนตัว ขับด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรเหยียบเร็ว โอกาสเกิดอุบัติเหตุมีสูง…กรณีเดินทางไกล ถ้าง่วงควรแวะปั๊มข้างทาง พักให้หายง่วงหากเดินทางขนส่งสาธารณะ…ควรใส่หน้ากากป้องกันตัวและพกแอลกอฮอล์ล้างมือหลังจับต้องสิ่งของสาธารณะ…อีกทั้งต้องประเมินตนเองด้วยว่ามีอาการไม่สบายหรือไม่ หากมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว ไอ เจ็บคอ น้ำมูก ควรตรวจโควิดด้วยเสมอ วันแรกๆเป็นลบอย่าชะล่าใจ ให้ตรวจถึงวันที่ ๔-๕ หลังเริ่มมีอาการที่สำคัญ…ใส่หน้ากากป้องกันจะได้ไม่แพร่ไปสู่ผู้สูงอายุและสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว…ชุมชน ทั้งนี้ ควรประเมินตนเองทั้งช่วงก่อนเดินทางและหลังจากเดินทางกลับ“…ธรรมชาติของการระบาดทั่วโลกนั้นมักเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นการดำเนินชีวิตในช่วงเทศกาล ท่ามกลางขาขึ้นเช่นนี้ จึงควรดำรงตนด้วยความไม่ประมาท…”tt ttทั้ง “อุบัติเหตุ” และ “โรคระบาด” เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ หากมีสติและใช้ปัญญา ไม่ใช่เรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ไม่ใช่เรื่องที่ควรชินชา เพิกเฉย จนต้องปลงหรือยอมจำนนโดยดุษฎี “…We can do it…”ตอกย้ำนโยบายด้านสุขภาพ…ท่องเที่ยว…เดินทาง หลายปีที่ผ่านมาปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมาทำให้ทราบกันชัดเจนแล้วว่า นโยบายของแต่ละประเทศนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากไปผิดทิศผิดทาง ก็จะส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ“…ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเห็นได้จากทั้งเรื่องโรคระบาดการแพร่การติด การจัดบริการคัดกรองดูแลรักษา ป้องกัน ควบคุมและฟื้นฟูสภาพ หยูกยา วัคซีน มาตรฐานที่มีของระบบ ไม่ใช่เพียงเรื่องโรคภัยไข้เจ็บจากเชื้อโรคเท่านั้น”เรื่องอื่นๆไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจราจรที่สัมพันธ์กับสภาพถนนหนทาง หลุมบ่อ หรือสิ่งของจากการก่อสร้างบนท้องถนน รวมถึงเรื่องยาเสพติด สิ่งเสพติดนานาชนิด ทั้งกัญชา กระท่อม บุหรี่ไฟฟ้า ยาบ้า ยาอี ยาเคและอื่นๆ…หลากหลายเรื่องข้างต้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้วยากนักที่จะจัดการแก้ไข มักต้องใช้เวลายาวนานทว่า…เกิดความสูญเสียทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ดังนั้นนโยบายเหล่านี้จึงเป็นหัวใจสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ รวมไปถึงสวัสดิภาพ ความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนทุกคน.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม
Related posts