Sunday, 20 October 2024

"เศรษฐา" ร่ายยาว งบฯ ๖๗ วงเงิน ๓.๔๘ ล้านล้าน หวังครอบคลุมเศรษฐกิจทุกด้าน

“นายกฯ เศรษฐา” ร่ายยาว แถลงงบประมาณประจำปี ๒๕๖๗ วงเงิน ๓.๔๘ ล้านล้านบาท  ครอบคลุมทุกด้าน ตามเป้าเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ ๒.๕ อัตราเงินเฟ้อร้อยละ ๑.๔ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ร้อยละ ๑.๐วันที่ ๓ มกราคม๒๕๖๗ เมื่อเวลา ๐๙.๔๕ น.ที่อาคารรัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ วาระแรก วงเงิน ๓,๔๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ระหว่างวันที่ ๓-๕ มกราคม ๒๕๖๗ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ จำนวน ๒๙๕,๐๐๐ ล้านบาท ปี ๖๗tt ttนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง แถลง พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี ๒๕๖๗ วงเงิน ๓,๔๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยรัฐบาลคาดการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยขยายตัว ร้อยละ ๒.๕ อัตราเงินเฟ้อร้อยละ ๑.๔ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ร้อยละ ๑.๐ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ GDP เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ ๒.๗-๓.๗ อย่างไรก็ตาม มีข้อจำกัดความเสี่ยงผลกระทบภัยแล้ง การชะลอตัวเศรษฐกิจและการค้าโลก ท่ามกลางความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อ ๑.๗-๒.๗ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีขอเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้หลักการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นจำนวนไม่เกิน ๓,๔๘๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านสี่แสนแปดหมื่นล้านบาท) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน ๓,๓๖๑,๖๓๘,๘๖๙,๕๐๐ บาท (สามล้านสามแสนหกหมื่นหนึ่งพันหกร้อยสามสิบแปดล้านแปดแสนหกหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาท) เพื่อชดใช้เงินคงคลัง เป็นจำนวน ๑๑๘,๓๖๑,๑๓๐,๕๐๐ บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสามร้อยหกสิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนสามหมื่นห้าร้อยบาท)ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่รัฐบาลนำเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน นโยบายของรัฐบาลตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยรัฐบาลได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และฐานะทางการเงินการคลังของประเทศ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมภาวะเศรษฐกิจทั่วไปตามแถลงภาวะเศรษฐกิจของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เศรษฐกิจไทยในปี ๒๕๖๖ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ ๒.๕ ซึ่งเป็นเป้าล่าสุดในไตรมาสที่ ๓ โดยเป็นเป้าหมายที่ถูกปรับมาเรื่อยๆ โดยหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และยังมีองค์กรต่างประเทศ ที่ได้ลดการประมาณการขยายตัวลงด้วยเป้าหมายการขยายตัวนี้ มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวตามการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อภาคการส่งออกสินค้า และภาคการผลิตอุตสาหกรรม รวมทั้งภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ ๑.๔ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ ๑.๐ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินไว้ว่า เศรษฐกิจในปี ๒๕๖๗ คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ ๒.๗-๓.๗ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการส่งออก การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจากการลดลงของแรงขับเคลื่อนด้านการคลัง ภาระหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจยังอยู่ในระดับสูง ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งต่อผลผลิตภาคการเกษตร ความเสี่ยงจากการชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ท่ามกลางความเสี่ยงจากความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์และความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ ๑.๗-๒.๗ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ ๑.๕ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั้งนี้ ตัวเลขการประเมินข้างต้นอาจถูกกระทบโดยปัจจัยที่คาดไม่ถึงในอนาคต เช่น ภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ราคาพลังงานที่ผันผวน การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และปัจจัยอื่นๆ ในอนาคตความสัมพันธ์ของงบประมาณรายจ่าย และแผนการพัฒนาประเทศงบประมาณรายจ่ายปี พ.ศ. ๒๕๖๗ มุ่งทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นผ่านการดำเนินนโยบายที่จะครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยมีการดำเนินการทั้งระยะเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้นและนโยบายระยะกลางและยาว เพื่อเสริมขีดความสามารถในการเจริญเติบโตของประเทศจากการปรับลดเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น จนลงมาเหลือเพียงร้อยละ ๒.๕ ในไตรมาสที่ ๓ ของปี พ.ศ. ๒๕๖๖ นั้น แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังสูญเสียความสามารถในการเจริญเติบโต ซึ่งเกิดมาจากปัจจัยทั้งผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจช่วงโควิด-๑๙ ที่ผ่านมา การลงทุนของภาคเอกชนที่ลดลง การสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆที่สูงขึ้น เป็นต้นเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องมาจากประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบโดยตรง จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐบาลนี้ที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยเริ่มจากการสร้างอุปสงค์ (Demand) ในกลุ่มเป้าหมายของนโยบาย นำไปสู่การผลิตสินค้า ที่จะต้องมีการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อขยายการผลิต ก่อให้เกิดการขยายอุปทาน (Supply) มีการพัฒนาขีดความสามารถในภาคอุตสาหกรรม ยกระดับการผลิตและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานให้ใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้นทั้งประเทศการท่องเที่ยวยังคงจะเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยทำให้การท่องเที่ยวเข้าถึงเมืองรองมากขึ้น สร้างงานและอาชีพในพื้นที่ดังกล่าว เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการในพื้นที่ โดยรัฐบาลจะดึงดูดการท่องเที่ยวด้วยมาตรการต่างๆ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น นำจุดเด่นทางวัฒนธรรมไปนำเสนอให้กับเวทีโลก สนับสนุนการใช้อัตลักษณ์ของไทยให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา Soft Power ของประเทศในระยะยาวด้วยในขณะเดียวกัน ประชาชนจำนวนมากเดือดร้อนจากค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่มาของนโยบายการลดรายจ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ ซึ่งครอบคลุมไปถึงหนี้นอกระบบ และหนี้ในระบบ การลดราคาพลังงาน ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างพลังงานให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็จะสามารถแข่งขันได้มากขึ้นประชาชนไทยจะเข้าถึงแหล่งงานที่มีคุณค่ามากขึ้น สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถที่มาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคเอกชนระดับโลกได้ โดยรัฐบาลจะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม คนไทยจะมีทักษะความสามารถเพิ่มขึ้นจากการทำงานและการอบรม ซึ่งรัฐบาลได้เดินหน้าดึงดูดบริษัทชั้นนำต่างๆ ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อขจัดข้อจำกัดในการลงทุน วางแผนลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นที่จะเอื้อให้เกิดการลงทุนเกี่ยวเนื่องให้ครอบคลุมทุกมิติการคมนาคมในประเทศจะสะดวกสบายมากขึ้น สามารถรองรับความต้องการได้ในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นทางถนน ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ โดยรัฐบาลจะลงทุนอย่างต่อเนื่อง และทำให้การระบบคมนาคมและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ กลายเป็นหนึ่งในจุดแข็งของประเทศไทย โดยพัฒนาทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และการบริหารจัดการให้ดีขึ้น เช่น การเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window) ที่จะทำให้ขั้นตอนการยื่นเอกสารและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐสะดวกและง่ายดายมากขึ้น เป็นต้นประเทศไทยจะมีการลงทุนเรื่องน้ำที่ครอบคลุมทั้งระบบ เช่น น้ำในภาคการผลิต ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลจะขยายการเชื่อมต่อชลประทานให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรในการปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์ ลดต้นทุนในการเข้าถึงน้ำ ทำให้เกษตรกรไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องปัจจัยการผลิตอีกต่อไป และทำให้ภาคอุตสาหกรรมไม่เป็นกังวลกับการผลิต ให้ยังคงสามารถลงทุนต่อเนื่องได้ทรัพยากรธรรมชาติจะได้รับการดูแล อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทั้งป่าไม้ ป่าชายเลน ทะเล ชายฝั่ง ซึ่งเป็นสินทรัพย์ทางธรรมชาติของประเทศ อากาศจะต้องสะอาด ฝุ่นพิษจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และประเทศไทยจะเดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติในระยะยาว ผ่านการใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ และดำเนินมาตรการจูงใจให้ภาครัฐและเอกชนลดการใช้คาร์บอนอีกด้านหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ คือด้านสังคมและความมั่นคง โดยประชาชนคนไทยจะต้องมีสุขภาวะที่ดีทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ เข้าถึงงานบริการสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องไปต่อคิวอีกต่อไป โดยรัฐจะลงทุนการเชื่อมต่อข้อมูลทั้งระบบ อัปเกรดระบบ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคให้ดียิ่งขึ้นรัฐบาลจะดูแลลูกหลานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากยาเสพติด โดยการปรับปรุงหลักเกณฑ์ผู้เสพให้เป็นผู้ป่วย ซึ่งจะเน้นบำบัดผู้ติดยาและทำให้พวกเขาสามารถกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคมได้ รวมทั้งจะสกัดกั้นยาเสพติดที่ลักลอบข้ามพรมแดนไม่ให้สามารถเข้ามาแพร่กระจายได้ ใช้มาตรการการจับกุมและยึดทรัพย์ผู้ผลิต ผู้ค้า และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ทำให้ยาเสพติดไม่สามารถแพร่ระบาดในประเทศไทยได้ด้านอัตลักษณ์และความเสมอภาค รัฐบาลจะทำให้คนทุกกลุ่มได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย โดยปราศจากเงื่อนไขทางเพศสภาพ อายุ ความเจ็บป่วยของร่างกาย ทำให้ได้รับสิทธิครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ และเข้าถึงโอกาสต่างๆ เพื่อสร้างความเสมอภาคทางสังคมที่แท้จริงประชาชนจะไม่ต้องกังวลเรื่องความมั่นคงใดๆ เพราะรัฐจะดูแลให้อย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งความมั่นคงทางด้านกายภาพ เช่น การดูแลชายแดนและชายฝั่งทะเล การพัฒนาความสามารถในการดูแลภัยพิบัติ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย การต่อต้านการก่อการร้ายในรูปแบบดั้งเดิม และความมั่นคงทางด้านไซเบอร์ ที่มีแนวโน้มจะขยายความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆโดยจะมีการทำงานอย่างบูรณาการครบทุกส่วน และประชาชนจะไม่รู้สึกเป็นกังวลด้านความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินรัฐบาลจะพัฒนากองทัพให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น สอดคล้องไปกับการพัฒนาความมั่นคงในทุกรูปแบบและให้ตรงกับยุคสมัย ระบบการเกณฑ์ทหารจะเปลี่ยนเป็นแบบสมัครใจ โดยมีการสร้างแรงจูงใจใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเอง การฝึกอาชีพ รวมถึงโอกาสในการประกอบอาชีพหลังจากการเป็นทหารประจำการ ทั้งหมดนี้จะทำให้สถาบันทหารมีความเป็นมืออาชีพ มีภาพลักษณ์ที่ดีและใกล้ชิดกับประชาชนมากยิ่งขึ้นประชาชนคนไทยทุกคนจะสามารถใช้ประโยชน์จากการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ เป็นการดำเนินนโยบายแบบ “การต่างประเทศที่กินได้” โดยสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทย เป็นประเทศแนวหน้าในภูมิภาค มีอำนาจต่อรอง และได้รับการยอมรับในสากล มีความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน การดูแลคนไทยในต่างแดน การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น ทำให้ประเทศและคนไทยรักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและความภาคภูมิใจด้านการพัฒนาศักยภาพของคนไทย ประชาชนจะต้องได้รับการศึกษาที่เข้าถึงได้ พัฒนาสถาบันการศึกษาให้มีคุณภาพ และพัฒนาหลักสูตรให้มีมาตรฐานและทันต่อยุคสมัย รวมทั้งขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมไปถึงระดับวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะสำหรับตลาดแรงงาน หรือผู้ประกอบการยุคใหม่ๆและสุดท้าย ในด้านการเมืองการปกครอง ประชาชนจะได้เห็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่จะแก้ไขจุดด้อยของฉบับที่ผ่านมา ผ่านการทำงานที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบนหลักการที่เป็นไปได้มากที่สุดและเหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่นำไปสู่ความขัดแย้งใหม่ในสังคมไทยประชาชนจะได้รับการบริการจากภาคราชการที่เร็วขึ้น สะดวกมากขึ้น ซึ่งในช่วงโควิด-๑๙ หลายๆส่วนราชการก็ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาให้บริการประชาชนมากขึ้น และในขณะเดียวกันประชาชนจำนวนมากก็เริ่มคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการใช้บริการ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ จะใช้งบประมาณรายจ่ายในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้เกิดขึ้นได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี รวดเร็ว สะดวก มีประสิทธิภาพ ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารกระดาษอีกต่อไป และยังทำให้เชื่อมโยงหลากหลายหน่วยงานเข้าเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน มุ่งหน้าไปสู่การเป็น E-government ที่แท้จริงในอนาคตประชาชนจะมีส่วนร่วมกับรัฐบาลมากขึ้นผ่านกลไกในระดับชุมชน ซึ่งจะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ทำให้ประชาชนตื่นตัว และช่วยกันพัฒนาประเทศไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนโยบายการคลังและความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้งภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง โดยประมาณการจัดเก็บรายได้จากภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น รวมสุทธิจำนวน ๒,๙๑๒,๘๐๐ ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๑.๔ จากปีก่อน และหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน ๑๒๕,๘๐๐ ล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้สุทธิที่สามารถนำมาจัดสรรเป็นรายจ่ายของรัฐบาล จำนวน ๒,๗๘๗,๐๐๐ ล้านบาทสำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นการดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล โดยกำหนดรายได้สุทธิ จำนวน ๒,๗๘๗,๐๐๐ ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน ๖๙๓,๐๐๐ ล้านบาท รวมเป็นรายรับ จำนวน ๓,๔๘๐,๐๐๐ ล้านบาท เท่ากับวงเงินงบประมาณรายจ่ายจากการเพิ่มขึ้นของประมาณการรายได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จะทำให้รัฐมีรายได้ ๒,๗๘๗,๐๐๐ ล้านบาท หรือเพิ่มกว่าร้อยละ ๑๑.๙ ทำให้รัฐบาลมีการกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณลดลงจากปีงบประมาณที่ผ่านมา และสามารถตั้งบประมาณชำระคืนต้นเงินกู้ การชดใช้เงินคงคลัง และการตั้งงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้นได้ฐานะการคลังหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ มีจำนวน ๑๑,๑๒๕,๔๒๘.๑ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๑ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ ๗๐ โดยหนี้สาธารณะที่เป็นข้อผูกพันของรัฐบาล ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินโดยตรง และการค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๐,๕๓๗,๙๑๒.๗ ล้านบาทปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๙๗,๐๙๓.๖ ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดฐานะและนโยบายการเงินอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ถูกปรับให้สูงขึ้น โดยใช้สมมุติฐานว่าสภาพเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวด้วยดี โดยจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕ ต่อปี ในการประชุมเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๖๖ นั้น อาจเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี ๒๕๖๖ ยังอยู่ที่ระดับต่ำที่ร้อยละ ๐.๕ ในไตรมาสที่ ๓ ของปี ๒๕๖๖ ซึ่งน้อยกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยลดลงมาจากที่อยู่ในระดับที่สูงในปีก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนจากสภาพเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวลงทั้งนี้ในปี ๒๕๖๗ สภาพเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะประสบกับแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ภาระหนี้สินครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ความเสี่ยงจากการชะลอตัวของการค้าโลก และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า จะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจ และภาวะทางการเงินตึงตัว ที่ต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับนโยบายที่อาจได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายของภาครัฐมูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ มีจำนวน ๒๑๑,๗๕๐.๒๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น ๒.๗๔ เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งtt ttสาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ มีวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น ๓,๔๘๐,๐๐๐ ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน ๒,๕๓๒,๘๒๖.๙ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๒.๘ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ๑๑๘,๓๖๑.๑ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๓.๔ รายจ่ายลงทุน จำนวน ๗๑๗,๗๒๒.๒ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๐.๖ และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน ๑๑๘,๓๒๐.๐ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๓.๔ ทั้งนี้รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เป็นรายจ่ายลงทุนกรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๗,๒๓๐.๒ ล้านบาท๑. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ๑.๑ งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน ๖๐๖,๗๖๕.๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๔ ของวงเงินงบประมาณ๑.๒ งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน ๑,๑๕๐,๑๔๔.๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๐ ของวงเงินงบประมาณ๑.๓ งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน ๒๑๔,๖๐๑.๗ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๖.๒ ของวงเงินงบประมาณ จำนวน ๑๐ เรื่อง ได้แก่ ๑. ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๓. ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ๔. เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ๕. บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ๖. ป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ๗. พัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ๘. พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ๙. รัฐบาลดิจิทัล ๑๐. สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว๑.๔ งบประมาณรายจ่ายบุคลากร รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน ๗๘๕,๙๕๗.๖ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๖ ของวงเงินงบประมาณ๑.๕ งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน ๒๕๗,๗๙๐.๕ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๗.๔ ของวงเงินงบประมาณ๑.๖ งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน ๓๔๖,๓๘๐.๑ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐ ของวงเงินงบประมาณ๑.๗ งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน ๑๑๘,๓๖๑.๑ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๓.๔ ของวงเงินงบประมาณ๒. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ได้กำหนดไว้จำนวน ๖ ยุทธศาสตร์ ๑ รายการ โดยได้นำยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติมากำหนดเป็นกรอบโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ รายละเอียดการดำเนินงานที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : ด้านความมั่นคงรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน ๓๙๐,๑๔๙.๓ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๒ ของวงเงินงบประมาณเพื่อให้ประเทศมีความมั่นคง ประชาชนมีความสุข สามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้๑) การป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด งบประมาณ ๔,๓๕๗.๔ ล้านบาท เพื่อให้ปัญหายาเสพติดได้รับการแก้ไข เด็ก เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันและปลอดภัยจากยาเสพติด มีสัดส่วนของผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่เกิน ๙.๕ คน ต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด จับกุมเครือข่ายยาเสพติดร้อยละ ๕๐ อายัด ยึดทรัพย์ ดำเนินคดีผู้สมคบ สนับสนุน หรือให้การช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร้อยละ ๓๑.๒๒) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ งบประมาณ ๕,๖๖๘.๖ ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน มีเกียรติภูมิ มีอำนาจต่อรองและได้รับการยอมรับในสากล เป็นผู้นำและเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเสริมสร้างพลังบวก สร้างอำนาจแบบนุ่มนวลของไทย ดำเนินการเพื่อสันติภาพตามกรอบสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการแก้ไขความขัดแย้งโดยใช้แนวทางสันติวิธี๓) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ ๖,๖๕๘.๔ ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม มีเป้าหมายเหตุรุนแรงลดลงร้อยละ ๗๐ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๐ โดยขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้แบบบูรณาการ อย่างเป็นระบบและมีเอกภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ยึดมั่นในหลักสันติวิธี มุ่งเน้นการขจัดปัญหาความขัดแย้งและความไม่เป็นธรรมอย่างจริงจังและถาวร และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะในสถานศึกษาของรัฐ เสริมสร้างความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง๔) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ งบประมาณ ๑๒,๖๙๕.๑ ล้านบาท เพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมธำรงรักษาไว้เป็นสถาบันหลักของชาติ สร้างความผูกพันที่ดีระหว่างสถาบันหลักและประชาชน สร้างจิตสำนึกรัก ความหวงแหน ความจงรักภักดี และทำให้สถาบันหลักเป็นที่เคารพยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข๕) การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง งบประมาณ ๑๙,๗๕๘.๘ ล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยในประเทศ ความมั่นคงชายแดน ชายฝั่งทะเล และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ การก่อการร้าย ป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติ และเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ตลอดจนติดตามและเฝ้าระวังการทำการประมงให้เป็นไปตามกฎหมาย๖) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ งบประมาณ ๒๑,๕๓๖.๑ ล้านบาท เพื่อลดความสูญเสีย สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยพัฒนาปรับปรุงนโยบายการบริหารจัดการให้ครอบคลุมรองรับภัยทุกประเภท เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและภัยพิบัติให้รับมือได้อย่างทันท่วงที พัฒนาระบบเตือนภัยให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยทั่วประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมืออย่างบูรณาการจากทุกภาคส่วนทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ๗) การรักษาความสงบภายในประเทศ งบประมาณ ๒๑,๖๑๕.๐ ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการจราจร และปัญหาความรุนแรงในสังคม๘) การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ งบประมาณ ๕๗,๑๖๒.๑ ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานด้านการข่าว และประชาคมข่าวกรอง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเผชิญภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ ทุกมิติ และทุกระดับความรุนแรง พัฒนากิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่อาจนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ภายในประเทศ และให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอวกาศ พัฒนาระบบงานข่าวกรองแบบบูรณาการ และประชาคมข่าวกรองในประเทศให้ทันสมัย๙) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ ๓๖,๖๒๕.๗ ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ ๒๐๔,๐๗๒.๑ ล้านบาท เพื่อให้การดำเนินภารกิจด้านความมั่นคง มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า มีความพร้อมด้านการป้องกันประเทศ การดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในการดำเนินงานด้านความมั่นคงระหว่างประเทศไทยกับมิตรประเทศยุทธศาสตร์ที่ ๒ : ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน ๓๙๓,๕๑๗.๙ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๓ ของวงเงินงบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในทุกด้านให้มีเสถียรภาพและยั่งยืน ผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน โดยมีเป้าหมายกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศ จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้๑) การพัฒนาความมั่นคงทางพลังงาน งบประมาณ ๑,๙๑๖.๔ ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั้งระบบให้มีความมั่นคง สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกภาค สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการและผลิตพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก กำกับดูแลกลไกตลาดพลังงานให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ วางแผนความต้องการและสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาด และพลังงานหมุนเวียน๒) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล งบประมาณ ๒,๔๕๕.๕ ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในส่วนของโครงข่ายสื่อสารหลักและบรอดแบรนด์ความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและบริการที่มีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมการลงทุนและใช้ทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลร่วมกัน ทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของภาคพื้นดิน เคเบิ้ลใต้น้ำ และระบบดาวเทียมสำหรับการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีเพียงพอและมีระบบโครงข่ายสำรอง (Redundancy) ให้สามารถสื่อสารระหว่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจนจัดให้มีมาตรการเฝ้าระวังและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่ได้มาตรฐานสากล เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดวงจรอาชญากรรมออนไลน์ โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการกำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ส่งเสริมการให้ความรู้ เพิ่มทักษะและใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแก่ประชาชนและทุกสาขาอาชีพ สร้างความรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์ โครงข่ายสังคมออนไลน์ และทักษะด้านเกมต่อยอดอาชีพในอนาคต๓) การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต งบประมาณ ๓,๘๐๖.๖ ล้านบาท เพื่อเพิ่มอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ ๔.๘ โดยโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตให้เกิดการขยายตัว ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอากาศยาน และอุตสาหกรรมความมั่นคง โดยสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ระบบฐานข้อมูลสามมิติคู่เหมือนดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพื่อรองรับเมตาเวิร์ส ยกระดับผลิตภาพและพัฒนากำลังคนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนพัฒนาต่อยอดความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมและยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง และส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ตามมาตรการการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์๔) การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว งบประมาณ ๗,๓๘๔.๑ ล้านบาท ให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ๓ ล้านล้านบาท และอันดับการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวอยู่ ๑ ใน ๓๐ ของโลก โดยส่งเสริมการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สนับสนุนการสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ กลุ่มคุณภาพ กลุ่มกีฬา กลุ่มสุขภาพ และกลุ่มความสนใจพิเศษไม่น้อยกว่า ๓๕ ล้านคน สนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) รายสาขาเพื่อนำเสนอและรักษาจุดเด่นด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศไทย เช่น พัฒนาเมืองสร้างสรรค์ตามแนวทางของยูเนสโก (UNESCO) ๕ เมือง การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ๑๐๐ ชุมชน เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ๕ แห่ง พัฒนาแหล่งธรณีวิทยาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ๗ แห่ง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับการจัดงานท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ๑๐ เมือง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกลุ่มอาเซียนและงานสัมมนาระดับนานาชาติ รวมทั้งพัฒนาและยกระดับชุมชนเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ๕๐ ชุมชน ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ๑๖๐ ราย การท่องเที่ยวไทยและผลักดันให้ชุมชนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ๒๐ ชุมชน เพื่อประโยชน์ในการสร้างงานสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน ประชาชน และผู้ประกอบการ ๓๒,๙๐๐ คน พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางน้ำและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเชื่อมโยงไปยังภูมิภาค โดยการพัฒนาท่าเรือและก่อสร้างทางหลวงชนบทเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ระยะทาง ๒๐๙.๙๙๓ กิโลเมตร และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวทางน้ำ ๙ แห่งสรุปงบประมาณรายจ่ายปี พ.ศ. ๒๕๖๗ นี้มีงบประมาณรายจ่าย ๓,๔๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยจะมีที่มาจากรายได้ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ ๒,๗๘๗,๐๐๐ ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล ๖๙๓,๐๐๐ ล้านบาทแม้ว่างบประมาณรายจ่ายปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๙.๓ เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากขึ้นกว่าร้อยละ ๑๑.๙ ทำให้สามารถจัดสรรงบไปลงทุนได้กว่า ๗๑๗,๗๒๒.๒ ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ ๔.๑ และสามารถชดใช้เงินคงคลังและชำระคืนต้นเงินกู้ได้กว่า ๑๑๘,๓๖๑.๑ ล้านบาทอีกด้วย ซึ่งจะทำเป็นการเตรียมพร้อมทำให้รัฐบาลมีกรอบในการลงทุนในระยะกลางและยาวมากขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ อีกด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินนโยบายทั้งในระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว โดยรัฐบาลจะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีเป้าหมายที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ลงทุนเพื่อสร้างการเจริญเติบโตของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเป็นไปตามกฎหมายอ่านต่อ: คำแถลง งบประมาณ ๒๕๖๗ ตัวเต็ม