Sunday, 19 January 2025

"อิ๊งค์" ดัน แก้ ก.ม.จัดเรตติ้งภาพยนตร์-กลางปี "พระราชบัญญัติTHACCHA" เข้าสภา

“แพทองธาร” ดันคณะซอฟต์พาวเวอร์ แก้กฎกระทรวงจัดเรตติ้งภาพยนตร์ ตั้งเป้ากลางปี “พ.ร.บ. THACCHA” ต้องเข้าสภา เหตุเป็นกฎหมายหลักสำหรับหน่วยงานจะมาขับเคลื่อน Soft Power ประเทศวันที่ ๔ ม.ค. ๒๕๖๗ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ร่วมกับ นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ, นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ ณ ห้องวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศtt ttใจความในการประชุมครั้งนี้ จะเป็นการหารือถึงประเด็นต่างๆ ของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ทั้ง ๑๑ สาขา อาทิ การปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๖๑, การแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑, รายงานความคืบหน้าการยกร่าง พระราชบัญญัติTHACCHA, ความคืบหน้าของการลงทะเบียนผ่านระบบ OFOS, การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์เพิ่มเติม, สรุปผลการศึกษาแผนการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ด้วยมิติทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย จัดทำโดยกระทรวงวัฒนธรรม และสถาบันบัณฑิตธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความน่าสนใจของผลการศึกษานี้ยังเป็นการสำรวจกลุ่มต่างๆ ทั่วโลก ที่มีความสนใจในคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งเป้าหมายของการสรุปผลการศึกษาดังกล่าวจะนำไปสู่การที่ประเทศไทยจะมี Thailand’s Soft Power Index ต่อไปในอนาคต รวมถึงแผนงานสงกรานต์ ‘Maha Songkarn World Water Festival’ ที่จะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้และเมื่อจบการประชุมได้มีการแถลงข่าว ๓ ประเด็นหลัก คือ การแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑, การตั้ง One Stop Service และความคืบหน้าการยกร่าง พ.ร.บ. THACCHAประเด็นแรก นางสาวแพทองธาร กล่าวว่า เพราะการจัดเรตติ้งภาพยนตร์ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากภาคเอกชนมานานหลายปี จากความไม่สมเหตุสมผลของเกณฑ์ รวมถึงความไม่ชัดเจนของการพิจารณานั้น กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับคณะอนุกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์สาขาภาพยนตร์ ได้เสนอการทำงาน ๓ เรื่อง คือ ส่วนที่ ๑ การเปลี่ยนแปลง “คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และเกม” โดยเปลี่ยนแปลงทั้งสัดส่วนของคณะกรรมการให้เอกชนมีเสียงข้างมาก และเป็นประธานคณะกรรมการทุกชุด โดยจะตั้งคณะกรรมการใหม่ ๙ ชุด รวมชุดที่ ๑ ที่ยังไม่หมดวาระ เป็น ๑๐ ชุด แบ่งออกเป็น คณะพิจารณาภาพยนตร์ ๘ ชุด และคณะพิจารณาด้านเกมโดยเฉพาะ ๒ ชุด เพราะเกมและภาพยนตร์มีวิธีคิดและมุมมองที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องพิจารณาแยกกันโดยย้ำว่า จุดสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคณะกรรมการพิจารณา จะต้องมีสัดส่วนของเอกชนมากกว่าภาครัฐบาล โดยกำหนดให้ประธานคณะพิจารณาในแต่ละชุดเป็นเอกชน และมีคณะกรรมที่มาจากภาคเอกชน ๓ คน และจากภาครัฐ ๒ คน จากเดิมที่มีเอกชน ๓ คน และภาครัฐ ๔ คน“การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการพิจารณาครั้งนี้จะทำให้ภาพยนตร์ไทยได้รับการพิจารณาเรตติ้งที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมมากขึ้น การจัดเรตคนดู จะเป็นเพียงตัวบอกว่าสิ่งใดเหมาะสม แต่จะไม่ใช่การควบคุมภาพยนตร์ไทยอีกต่อไปค่ะ” นางสาวแพทองธาร กล่าว…tt ttส่วนที่ ๒ คือ การแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงระหว่างรอการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน สำหรับการแก้ไขกฎกระทรวงที่มาของจัดประเภทเรตของภาพยนตร์ จะเป็นการแก้ไขในส่วนของภาพยนตร์ที่ห้ามฉายในประเทศไทย โดยภาพยนตร์ที่ห้ามฉายในประเทศไทยจะเหลือเพียงข้อกำหนดเดียว คือ เนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนประเด็นอื่นๆ เรื่องศาสนา เรื่องความมั่นคง รวมถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ จะถูกจัดอยู่ในเรตผู้ชมที่เหมาะสมแทนการห้ามฉาย โดยกระบวนการแก้กฎกระทรวงนี้ ยังอยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และคาดว่าการแก้ไขจะเสร็จสิ้นในช่วงกลางปีนี้ส่วนที่ ๓ คือ การสร้างความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว นั่นคือการยกร่างกฎหมายพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับใหม่ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิด “สภาภาพยนตร์ไทย” องค์กรใหม่ภายใต้ THACCA มาทำหน้าที่สนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไปจนถึงการพิจารณาจัดเรตผู้ชมในอนาคต และให้เอกชนเป็นผู้จัดเรตผู้ชมด้วยตัวเอง“การเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดเรตของผู้ชมทั้ง ๓ ส่วน คือการเปลี่ยนวิธีคิด ที่ภาครัฐเคยเน้นควบคุมภาพยนตร์ เป็นการสนับสนุนเสรีภาพและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินทุกคน” นางสาวแพทองธารกล่าวประเด็นต่อมา คือการตั้ง One Stop Service ที่รวมเอาการติดต่อหน่วยงานราชการหลายๆ หน่วยเข้าไว้ที่เดียว โดยสองอุตสาหกรรมแรกที่จะลงมือทำ One Stop Sevice คือ อุตสาหกรรมเพลงและภาพยนตร์ เพราะการจัดคอนเสิร์ตและการถ่ายทำภาพยนตร์มีปัญหามากที่ต้องติดต่อหลายหน่วยงานราชการประเด็นสุดท้าย คือ กระบวนการยกร่าง พ.ร.บ. THACCA ที่จะเป็นกฎหมายหลักสำหรับหน่วยงานที่จะมาขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศ ตอนนี้ตัวกฎหมายใกล้เสร็จเต็มที่แล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบความเรียบร้อย แล้วเปิดรับฟังความเห็น โดยเราตั้งใจจะผลักดันให้เข้าสภาภายในกลางปีนี้ให้ได้

Related posts
“นายกฯ อิ๊งค์” เปิดตัวบ้านเพื่อคนไทย สั่งแก้เว็บล่ม เชื่อไม่กระทบตลาดอสังหาริมทรัพย์
ยกระดับเข้มข้น “ประเสริฐ” เสนอ “นายกฯ อิ๊งค์” นั่งประธานปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์
“อิ๊งค์” แซะนักร้องเยอะ พูดอะไรไม่ได้มากโดนจับผิด อ้อนขอคะแนนให้เพื่อไทย
“นายกฯ อิ๊งค์” ติดตามการแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง บึงบอระเพ็ด พรุ่งนี้
“นายกฯ อิ๊งค์” บอก “อ๋อ” หลังถูกถามปม “ลิม กิมยา” ถูกยิงเสียชีวิตกลาง กทม.
เปิดผลโพล คนมองปี 68 “อิ๊งค์” อยู่ยาว การเมืองยังวุ่นวาย-เศรษฐกิจแย่เหมือนเดิม