Sunday, 19 January 2025

"เศรษฐา" แจง "Landbridge" เพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจ ศูนย์กลางผลิตสินค้าของไทย

นายกฯ แจง Landbridge แนวคิดจากศักยภาพการผลิตสินค้าของไทย เหตุช่องแคบ “มะละกา” ขนถ่ายสินค้าแออัด ไทยมีความเป็นกลาง มั่นใจ Mega Project สร้างเศรษฐกิจ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนวันที่ ๔ ม.ค. เวลา ๑๒.๒๐ น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ ๒) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Landbridge ดังนี้โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจง ขยายความเกี่ยวกับโครงการ Landbridge ซึ่งเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นจากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตสินค้าหลายชนิด มีความพร้อมทั้งด้านโครงสร้าง สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งสร้างสมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง มี Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานทำให้ไทยอยู่บนหมุดหมายสำคัญของการผลิต ทั้งนี้ ไทยมีประชากร ๗๐ ล้านคน หลายสินค้าที่ผลิตในไทยจะถูกส่งไปขายทั่วโลกโดยที่ ปัจจุบันช่องแคบมะละกา แออัด และเกิดอุบัติเหตุ ทำให้การเข้าคิวผ่านช่องแคบกินเวลาเยอะ ปริมาณสินค้าที่จะใช้เส้นทางเดินเรื่อเพิ่มขึ้น ช่องแคบมะละกาไม่สามารถบริหารได้ โครงการ Landbridge เป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของไทย ด้วยการขนส่งน้ำมัน ๖๐ เปอร์เซ็นต์จากทั่วโลก ขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา หากช่องแคบ คับแคบ การขนถ่ายสินค้ามีปัญหา จะทำให้เกิดปัญหารัฐบาลคิดทำโครงการ Landbridge ด้วยการตระหนักถึง ความขัดแย้ง Geopolitics ของโลก ไทยได้เปรียบจากการดำเนินนโยบายด้วยความเป็นกลางของไทย เชื่อมต่อโลก ไทยไม่มีปัญหากับประเทศใด ทำให้เป็นจุดขนถ่ายสินค้าได้เป็นอย่างดี พร้อมยกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกากับจีน ซึ่งมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ประเทศไทยเรา มีความเป็นกลาง การที่เราเสนอตัวทำ Landbridge จีนกับสหรัฐฯ ก็จะสามารถใช้ไทยเป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าเป็นอย่างดีอย่างไรก็ดี รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเสียงของประชาชนในพื้นที่ พร้อมรับฟังทั้งฝ่ายค้าน ภาคประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งนักธุรกิจ เพื่อมั่นใจว่าโครงการนี้จะเป็น Mega Project ที่มีประโยชน์กับประเทศ และมีความสำคัญโลก นอกจากนั้น ทำให้หลายๆ ประเทศ อาทิ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีความมั่นคงทางพลังงานสูงมาก อยากมาลงทุน อยากมาสร้างโรงกลั่น ซึ่งจะทำให้ไทยมีความมั่นคงทางพลังงานนอกจากความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ไทยมีความพร้อมมากขึ้น ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน