Thursday, 19 December 2024

ต้นทุนอาหารแพง ปัจจัยเอื้อ..หมูเถื่อน

หมูเถื่อน ที่ถูกลักลอบนำเข้ามาขายในบ้านเราในราคาถูกได้ยังไง ทั้งที่บ้านเรามีการเลี้ยงหมูเหมือนประเทศอื่นๆแถมการนำหมูเหล่านั้นเข้ามาในบ้านมีต้นทุนค่าขนส่ง ยิ่งในยุคน้ำมันแพงอย่างนี้ด้วย…ทำไมขบวนการเหล่านั้นถึงยังมีกำไร นั่นแสดงว่า หมูบ้านอื่นเมืองอื่น ต้นทุนการเลี้ยงการผลิตหมูนั้นมีราคาต่ำกว่าเราเพราะถ้าบ้านเรามีต้นทุนการเลี้ยงที่เท่ากับเขา หรือต่ำกว่า…ปัญหาการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนคงไม่เกิดขึ้นอย่างมิพักสงสัย เพราะเอานำเข้ามาขายแข่ง จะสู้หมูไทยไม่ได้ แถมยังไม่คุ้มค่าขนส่งจากแดนไกลอีกต่างหากแล้วมีเหตุปัจจัยอันใดที่ทำให้การเลี้ยงสุกรในบ้านเราถึงได้สูงลิ่วกว่าบ้านอื่นเมืองอื่นจนเป็นเหตุให้เกิดการลักลอบนำเข้ามาทำร้ายเกษตรกรไทย???tt tt“ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงหมูของไทยสูงกว่าหมูประเทศอื่นคือ วัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะกากถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่คิดเป็น ๖๐-๗๐% ของต้นทุนการเลี้ยงทั้งหมด วัตถุดิบทั้ง ๒ ชนิด บ้านเรายังผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ สำหรับถั่วเหลืองไทยผลิตได้แค่ ๒-๓ หมื่นตัน และเจอกับปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ ขณะที่ความต้องการอยู่ที่ราว ๓ ล้านตัน ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เราผลิตได้ประมาณ ๒-๓ ล้านตัน แต่ความต้องการอยู่ที่ราว ๖-๗ ล้านตัน ทำให้ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ”นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ บอกว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก เริ่มมาตั้งแต่สถานการณ์โควิด-๑๙ ผลผลิตในตลาดโลกมีน้อย ถัดมาเจอกับวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทั้งสองประเทศเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก โดยมีปริมาณการส่งออกข้าวสาลีรวมกัน ๒๙% ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก และมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง ๑๙% ของตลาดโลก เมื่อเกิดสงคราม ทุกอย่างนำเข้าไม่ได้ จึงราคาพุ่งทันทีtt ttสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์tt ttประเทศที่สามารถผลิตวัตถุดิบได้เอง จึงมีราคาอาหารสัตว์ถูกกว่าประเทศที่ต้องนำเข้าอย่างไทย นอกจากนี้ ค่าแรง ค่าพลังงาน ค่าขนส่ง การเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ ที่คาดกันว่าจะส่งผลให้แล้งยาวนาน เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงหมูไทยสูงกว่าประเทศอื่น“เรื่องของการเลี้ยงและสายพันธุ์ ไม่ใช่ปัญหาสำหรับเกษตรกรไทย แต่ปัญหาอยู่ที่วัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ ที่เราต้องพึ่งพาการนำเข้า และอิงกับราคาตลาดโลก แม้ส่วนหนึ่งเราจะผลิตได้เอง โดยเฉพาะการมีถั่วเหลืองแปลงใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ แต่ไม่เพียงพอต่อการใช้ในประเทศ แม้จะมีการวิจัยอาหารสูตรใหม่ๆออกมา ยังไงยังคงต้องใช้กากถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบหลักอยู่ดี”tt tttt ttนายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ บอกไปในทิศทางเดียวกันว่า บ้านเราราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง ข้าวสาลี สูงกว่าประเทศที่ผลิตวัตถุดิบเหล่านี้ได้เองเท่าตัวมันเลยทำให้ประเทศที่ผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้เอง ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา ต้นทุนการเลี้ยงถูกกว่าบ้านเรา ๕๐% ที่สำคัญหลายประเทศที่ผลิตวัตถุดิบเหล่านี้ได้เอง ใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ แถมทำกันแบบแปลงใหญ่ ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่มากขึ้น ทนต่อสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น สุดท้ายแม้บ้านเราไม่อนุญาตให้ปลูก แต่เราก็ต้องนำเข้าวัตถุดิบจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้อยู่ดีtt ttสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญนอกจากนี้ มาตรการต่างๆของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นรักษาเสถียรภาพราคาพืชไร่ ประกันราคา ที่ทำกันมานับสิบปี แทนที่จะส่งเสริมเกษตรกรผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ กลับส่งผลให้ราคาพืชผลเหล่านี้ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดขณะเดียวกันนโยบายการจำกัดการนำเข้า อย่างมาตรการ ๓:๑ ที่บังคับให้ต้องซื้อผลผลิตข้าวโพดในประเทศ ๓ ส่วนก่อน จึงจะนำเข้าข้าวสาลีได้ ๑ ส่วน เพื่อนำมาทดแทนวัตถุดิบตัวอื่น เป็นอุปสรรคสำคัญ เพราะในเมื่อไม่มีข้าวโพดในประเทศให้ซื้อ โรงงานอาหารสัตว์ไม่สามารถนำเข้าข้าวสาลีได้ ต้นทุนเราจึงสูงกว่าประเทศอื่น.ทีมข่าวเกษตรคลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม