เป็นสัญญาณกำลังซื้อลด เงินฝืดกำลังจะมาในปี ๒๕๖๗ หรือไม่? ภายหลังสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ออกมาระบุเงินเฟ้อเดือน ธันวาคม๒๕๖๖ เท่ากับ ๑๐๖.๙๖ เทียบกับ พฤศจิกายน๒๕๖๖ ลดลง ๐.๔๖% และเทียบกับเดือน ธันวาคม๒๕๖๕ ลดลง ๐.๘๓% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ ๓ ติดต่อกัน ต่ำสุดในรอบ ๓๔ เดือน นับจากเดือน กุมภาพันธ์๒๕๖๔ และเฉลี่ยทั้งปี ๒๕๖๖ ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ อยู่ที่ ๑.๒๓%ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ทั้งน้ำมัน และไฟฟ้า ตามนโยบายลดภาระค่าครองชีพด้านพลังงานของรัฐบาล รวมทั้งเนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหาร ที่ราคาลดลงต่อเนื่อง และผักสดราคาลดลงค่อนข้างมาก จากการระบุของ พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า แต่ยืนยันไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืดภาวะเงินเฟ้อเดือน มกราคมปี ๒๕๖๗ คาดว่ามีโอกาสจะติดลบเป็นเดือนที่ ๔ หากเดือนต่อๆ ไปติดลบยาวนาน อาจเกิดภาวะเงินฝืดได้ จากราคาสินค้า และบริการลดต่ำลง เพราะผู้บริโภคชะลอการจับจ่าย หรือต้นทุนการผลิตสินค้าที่ลดต่ำลง ดูเหมือนเป็นเรื่องดีสำหรับผู้บริโภค แต่ภาวะเงินฝืดจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง เพราะผู้ผลิตอาจลดการผลิต และลดการจ้างงาน เมื่อคนตกงานกระทบต่อการเป็นอยู่ ยิ่งทำให้กำลังซื้อลดลงไปอีกtt ttไทยไม่ถึงขั้นเงินฝืด เป็นห่วงเงินเฟ้อกลับมาอีก”ด็อกเตอร์บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี” อาจารย์เกียรติคุณ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ระบุคำว่าเงินฝืดมีความหมาย ๒ อย่าง คือ เงินเฟ้อติดลบ และอุปสงค์หดตัว ต้องรุนแรงเรื้อรังเหมือนประเทศญี่ปุ่น ส่วนไทยยังไม่ถึงขั้นนั้น แต่เป็นห่วงจะเกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาในตะวันออกกลางจะขยายวงกว้าง และราคาน้ำมันจะปรับขึ้นไปแตะที่ระดับ ๑๐๐ ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้เงินเฟ้อขยับขึ้นอีกจนไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และหนี้จะเพิ่มขึ้น“เป็นสัญญาณมีปัญหา เมื่อเงินเฟ้อกลับมาสูงขึ้นอีก ขณะที่เศรษฐกิจไทยก็อ่อนแอ ทางแบงก์ชาติจะขึ้นดอกเบี้ยก็ลำบากมาก และสหรัฐฯ อาจขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นว่าปี ๒๕๖๗ เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อ และจีนน่าจะเกิดปัญหาสถาบันการเงินหลายแห่งจะแย่ลง รัฐบาลจีนจะเข้าไปช่วยทั้งหมดคงไม่ได้ จะช่วยเฉพาะ ๔ แบงก์ใหญ่ แล้วปล่อยให้นันแบงก์ล้มไป โดยเฉพาะแบงก์ท้องถิ่นน่าเป็นห่วงตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ไม่มีเงินจ่ายให้คนฝากเงิน เพราะปัญหาสินเชื่ออสังหาฯ ๘ ล้านล้านดอลลาร์ เอ็นพีแอลพุ่ง ๓๐-๔๐% จนรัฐบาลจีนไม่มีปัญญาอุ้ม”tt ttห่วงวิกฤติจีน กระทบไทย หวั่นเศรษฐกิจแย่ ซ้ำรอยปี ๕๐วิกฤติในจีนน่าเป็นห่วงทั้งหนี้เอกชน หนี้ครัวเรือน และหนี้รัฐบาลจีน มีสัดส่วนในระดับสูง ๓๐๐% ของจีดีพี อาจรุนแรงมากกว่าวิกฤติซับไพรม์ในสหรัฐฯ เพราะรัฐบาลท้องถิ่นในจีนคงไม่ไหว จะเป็นมหาวิกฤติใหญ่ในจีน และสถาบันการเงินอย่างโกลด์แมน แซกส์ คาดว่าวิกฤติในจีนจะฟื้นช่วงปลายปี หากไม่มีปัญหาราคาน้ำมันเข้ามาแทรกแซง ขณะที่ไทยในปี ๒๕๔๐ เคยเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ใช้เวลา ๖-๗ ปี กว่าจะเคลียร์ปัญหาให้จบเมื่อจีนเกิดวิกฤติจะกระทบไทยหนัก ในฐานะเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทย รวมถึงมีผลต่อนักท่องเที่ยวจีนจะลดน้อยลง หากราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นจะกระทบต่อไทยเกิดภาวะเงินเฟ้อ และดีมานต์จากต่างประเทศก็จะแย่ลง อาจไม่ถึงขั้นวิกฤติเหมือนปี ๒๕๔๐ แต่เศรษฐกิจไทยจะแย่เหมือนปี ๒๕๕๐ จนมีความเป็นห่วงเรื่องเงินเฟ้อมากกว่าเงินฝืด และรัฐบาลไทยก็ไม่มีความชัดเจนในการสะสางเรื่องตราสารหนี้ ๑ ล้านล้านบาท หรือแค่ ๕ หมื่นล้านล้านบาท ยังไม่ดำเนินการใดๆ ทั้งๆ ที่ควรเตรียมการรับมือ ซึ่ง ด็อกเตอร์ศุภวุฒิ สายเชื้อ ก็น่าจะเข้าใจในเรื่องนี้“เรื่องตราสารหนี้ต้องทำไปด้วย ไม่ให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดตราสารหนี้ และตลาดหุ้น จนวุ่นกันไปหมด ซึ่งรัฐบาลไม่พูดเรื่องนี้เลย มัวแต่จะพูดเรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยงบ เหมือนเป็นการแบ่งเค้กมากกว่า การตั้งใจแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นไม่มียุทธศาสตร์อะไรเลย กลายเป็นคิดไปทำไป จากเดิมจะคิดใหม่ทำใหม่ กลายเป็นคิดมั่วทำมั่ว ไม่มียุทธศาสตร์ในการดูแลเศรษฐกิจ ทั้งระยะสั้น และปานกลาง ไม่มีแนวทางแก้ปัญหาในระยะยาว จนผู้คนในตลาดเป็นห่วงในเรื่องนี้ และปัญหาของนายกรัฐมนตรีอาจไม่มีทีมที่ปรึกษา”tt ttจากข้อมูลปีที่แล้วไทยลงทุนในต่างประเทศ ระดับท้ายๆ สุดของอาเซียน และไม่สามารถดึงดูดเม็ดเงินเข้ามา อย่างโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เงียบมาก หากมีการลงทุนเป็นจำนวนมาก คนในวงการก็คงรู้ แต่ตอนนี้เงียบ ขณะที่รัฐบาลจะเอาโครงการแลนด์บริดจ์ และจะเอารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ก็ยังคาราคาซัง เหมือนมวยวัด หรือการโรดโชว์โครงการแลนด์บริดจ์ ก็ไม่มีการทำผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คิดว่าต้องกวาดบ้านตัวเองให้ดีก่อนจะไปขายอะไร คาดว่าปี ๒๕๖๗ จะแย่กว่าปีที่แล้ว จากปัญหาภายนอก โดยเฉพาะจากจีน และราคาน้ำมันอาจแตะระดับ ๑๐๐ ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งมีความเป็นไปได้ จนเงินเฟ้อกลับมาปรับตัวสูงขึ้นแต่รัฐบาลไม่ตั้งรับ ไม่ทำอะไรเลย และปัญหาของราคาน้ำมันจะทำอย่างไร จะมีมาตรการอะไรก็ไม่มี การจัดสรรงบประมาณก็เละเทะ ไม่มียุทธศาสตร์อะไร อย่าไปฟัง ตัวเลขจีดีพีจากรัฐบาลว่าจะเติบโตเท่าใด คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวเต็มที่แค่ ๒% หากโชคดี หรืออาจเป็นศูนย์ ไม่ไปไหน เพราะฉะนั้นอยากให้ผู้ประกอบการปรับตัวรับมือ เน้นการคุมต้นทุน อย่าขยายธุรกิจโดยไม่จำเป็น และรัฐบาลก็ควรจะต้องวางยุทธศาสตร์ จะปรับตัวอย่างไร ในเรื่องของห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) จากที่จีนเปลี่ยนไปแล้ว“จะต้องพูดความจริงเพื่อให้ประชาชนเตรียมตัว หากจะขึ้นดอกเบี้ยก็คงขึ้นไม่มาก คาดว่าแบงก์ชาติคงไม่ขึ้นดอกเบี้ย ไม่เช่นนั้นคนระดับล่างจะได้รับผลกระทบ อีกทั้งราคาสินค้าเกษตรก็ไม่กระเตื้อง ก็ขอให้มนุษย์เงินเดือนอย่าเพิ่งออกจากงานจะดีที่สุด”.
เงินเฟ้อไทยร่วงไม่หยุด เสี่ยงหรือไม่เผชิญเงินฝืด เตือนมหาวิกฤติในจีน
Related posts