Sunday, 19 January 2025

วิกฤติขาดแคลนแรงงาน เด็กเกิดน้อยคนชราเพิ่ม

06 Jan 2024
117

ประเทศไทยกำลังเผชิญ “วิกฤติขาดแคลนแรงงาน” ด้วยอัตราเด็กเกิดใหม่ลดลงต่อเนื่อง สวนทางกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นระเบิดเวลาการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวในอนาคตกระทั่งปัญหานี้ “ประเทศไทยต้องหันไปพึ่งพาแรงงานต่างชาติ” กลายเป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเติบโตน้อยลง และเติบโตช้าหรือไม่เพียงใดนั้น รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย ให้ข้อมูลว่าtt ttรศ.ด็อกเตอร์อนุสรณ์ ธรรมใจปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว” ทำให้ในปี ๒๕๖๖ มีผู้สูงวัย ๒๐% วัยแรงงาน ๖๓% และวัยเด็กเพียง ๑๖% ในส่วนประชากรวัยทำงานอยู่ที่ประมาณ ๔๒.๔ ล้านคน แต่สถานการณ์ของกลุ่มวัยทำงานนี้กลับมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในอัตราเร่งมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ แล้วด้วยซ้ำถ้าย้อนดู “งานวิจัยธนาคารโลก” ในเรื่อง Aging and the Labour Market in Thailand จะพบว่า “ภาวะประชากรสูงวัย” กำลังส่งผลกระทบ อย่างมากต่อ “ตลาดแรงงานไทยและการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม” เนื่องจากจำนวนประชากรวัยทำงานลดลง ทำให้รายได้เฉลี่ยบุคคลในประเทศเติบโตลดลงตามมาด้วยเหมือนกันหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง “โครงสร้างประชากร” คาดการณ์ว่า การเติบโตของ GDP ต่อหัวจะลดลงอีกร้อยละ ๐.๘๖ ในทศวรรษ ๒๐๒๐ กระทบ ตลาดแรงงานหนัก แล้วถ้าอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานยังคงที่ตามอายุ และเพศ “โครงสร้างประชากรจะเปลี่ยนไป” คาดว่าจะส่งผลให้อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานลดลงร้อยละ ๕ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓-๒๖๐๓ แรงงานจะลดลงถึง ๑๔.๔ ล้านคน ส่งผลให้ประเทศอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงาน “เสียโอกาสเติบโต” แต่ว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นจะช่วยบรรเทาปัญหาแรงงานได้บางส่วนประการถัดมาด้วย “ประเทศไทยค่อนข้างมีการกระจุกตัวของการผลิต และการจ้างงานสูง” สิ่งนี้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ แต่ระบบประกันสังคมช่วยสร้างระบบสวัสดิการขนาดใหญ่ครอบคลุมแรงงานในระบบทั่วทั้งประเทศ และสร้างระบบการออมแบบบังคับ เพื่อดูแลผู้สูงอายุในวัยเกษียณtt ttตามงานวิจัย ศ.ด็อกเตอร์ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ชี้ถึงความเหลื่อมล้ำค่าจ้างมีดัชนีจีนีอยู่ที่ ๐.๔ ถือว่าตัวเลขสูงเกินไป “โอกาสการมีงานทำสั้น” แรงงานจำนวนไม่น้อยต้องออกจากตลาดแรงงานในระบบโรงงานตั้งแต่อายุ ๔๕ ปีแต่ว่า “ปัญหาการกระจุกตัวการผลิต การประกอบการ และการจ้างงาน” ก็ได้สะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำในมิติพื้นที่ชัดเจน “กรุงเทพฯ และปริมณฑล” มีการจ้างงานในระบบ ๖-๗ ล้านคน และมีสถานประกอบการในระบบ ๒๓๙,๐๐๐ แห่ง “จีดีพีอยู่ที่ ๗.๕–๗.๖ ล้านล้านบาท” ทำให้มีโอกาสการมีงานทำสูงสุดดังนั้นเป้าหมายทางนโยบายสาธารณะคือ “กระจายโอกาสจ้างงานไปทั่วทุกภูมิภาค” แล้วในการย้ายแหล่งการผลิตหรือการจ้างงานไปต่างจังหวัด “ต้องเกิดผลดีต่อพื้นที่ทวีคูณท้องถิ่น” ทั้งยังลดปัญหาความแออัด ปัญหามลพิษทางอากาศ สิ่งแวดล้อม และการแตกสลายของสถาบันครอบครัวในชนบทที่พ่อแม่ลูกไม่ได้อยู่ด้วยกันตอกย้ำว่าเศรษฐกิจและภาคการผลิตบางส่วน “จำเป็นต้องอาศัยแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน”  โดยเฉพาะงานใช้ทักษะต่ำ สังเกตตามตลาดสดหรือไซต์งานก่อสร้างล้วนมีแต่แรงงานต่างด้าว “ยกเว้นหัวหน้าคุมงานยังเป็นคนไทย” แม้แต่ธุรกิจประมงทางทะเลก็ยังใช้แรงงานต่างด้าว เพราะคนไทยสมัยนี้ไม่ทำงานเหล่านี้กันแล้วในส่วน “แรงงานคนไทยที่มีทักษะปานกลางและระดับสูง” จำนวนไม่น้อยก็ไปทำงานต่างประเทศที่มีค่าตอบแทนสูง สิ่งนี้ได้สะท้อนปัญหาโครงสร้างตลาดแรงงานระบบค่าจ้างที่บ่งชี้เศรษฐกิจไทยไม่อาจยกระดับขึ้นมาเป็นระบบเศรษฐกิจการผลิตใช้แรงงานทักษะสูง และผลิตสินค้ามูลค่าสูงด้วยนวัตกรรมได้อย่างแท้จริงแต่ยังคงติดกับดัก “โครงสร้างการผลิตและเศรษฐกิจแบบเดิม” ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากการจ้างงานไม่อาจปรับค่าแรงขั้นต่ำได้มากเกินไป ด้วยความสามารถและต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถรับไหว เพราะถ้าจะจ่ายค่าแรงสูงเท่าต่างชาติได้นั้นต้องพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เทียบเท่าประเทศพัฒนาแล้วtt ttเหตุนี้ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจไทยยังคงต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยังไม่มีท่าทีจะยกระดับฐานการผลิตสูงขึ้น แต่คงอาศัยแรงงานมนุษย์ราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านที่สามารถดึงเข้ามาระบบทำงานได้ง่าย กลายเป็นฝากความหวังไว้กับแรงงานกลุ่มนี้ ถ้าขาดหายไปเศรษฐกิจไทยก็คงแย่ตอกย้ำอีก ๑๗ ปีข้างหน้า “จะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คาดว่าจะมีผู้สูงอายุถึง ๓๐% และวัยแรงงานลดลงเหลือ ๕๕% ส่วนวัยเด็กเพียง ๑๒% อันอัตราเจริญพันธุ์ต่ำที่ยังไม่มีประเทศใดสามารถเพิ่มสูง เพื่อมาทดแทนในระยะ ๑๐-๒๐ ปีนี้ได้ เช่นนี้ต้องปรับทัศนคติการมีบุตรไม่ใช่เรื่องของแต่ละครอบครัวอย่างเดียวหากแต่เป็นเรื่องของส่วนรวมเนื่องจากเด็กๆของแต่ละครอบครัวจะเป็นทุนมนุษย์สำคัญของสังคม “อันเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ” ที่จะรองรับ สัดส่วนประชากรสูงวัยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยประชากรวัยทำงานจะเป็นแหล่งรายได้ภาษีของภาครัฐ เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายสวัสดิการให้ผู้สูงอายุเพราะต้องใช้งบประมาณดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปีเฉลี่ยปีละ ๗.๖-๗.๗ แสนล้านบาท หรืออย่างต่ำ ๔.๕% ของจีดีพี “อันมีกองทุนชราภาพ กองทุนประกันสังคม” เป็นผู้รับผิดชอบดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุใหญ่ที่สุดแม้นสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี แต่งบประมาณจัดสรรไปสู่รายจ่ายทางด้านสวัสดิการสังคมของไทยยังอยู่ในระดับต่ำมาก เมื่อเทียบกับจีดีพีอยู่ที่ไม่เกิน ๕% รายจ่ายสวัสดิการสังคมต่องบประมาณของไทยจะอยู่ที่ ๒๐% และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนรายได้ภาษีต่อจีดีพีต่ำและยังขึ้นอยู่กับภาษีทางอ้อมและภาษีเงินได้เป็นหลักtt tt ปัญหามีอยู่ว่า “ความวิตกกังวลในระดับโลกและในไทย” ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ “หุ่นยนต์ และเครื่องจักรอัตโนมัติ” อาจทำให้ตำแหน่งแรงงานมนุษย์หดหายมากเกินไปส่งผลให้จีดีพีโดยรวมลดลง แล้วแนวโน้มคาดได้แน่ๆ คือส่วนแบ่งจีดีพีที่เคยเป็นค่าจ้างแรงงานมนุษย์จะลดลงชัดเจนเช่นนี้เสนอว่าควรปฏิรูประบบแรงงานรับมือสมองกลอัจฉริยะ หรือ AI แล้วเพิ่มความเป็นธรรมและความสามารถแข่งขัน การเร่งอัตราขยายตัวทางผลิตภาพขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ จะทำให้ขีดความสามารถการแข่งขันเศรษฐกิจไทยดีขึ้น ตอบโจทย์ปัญหาขาดแคลนแรงงานมนุษย์ที่จะรุนแรงในทศวรรษหน้านอกจากนี้ “ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI หุ่นยนต์ จักรกลอัตโนมัติ” จะทำให้อาชีพและตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงไปแบบพลิกโฉม ฉะนั้นจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบการศึกษาเรียนรู้ ระบบพัฒนาทักษะ และระบบแรงงานทั้งระบบ เพื่อให้แรงงานมนุษย์สามารถทำงานร่วมกับ AI และระบบหุ่นยนต์ได้ดีขึ้นด้วยหลายอย่างสมองกลอัจฉริยะ AI สามารถทำงานได้ดีกว่าแรงงานมนุษย์ และเสริมการทำงานของมนุษย์ระบบ Software คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณ ประกอบกับการใช้ Big Data และ Machine Learning สามารถทำงานทางด้านการวิเคราะห์ การคำนวณ การประเมินการลงทุน การศึกษา การวิจัยได้อย่างดีtt ttอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจคือ “เปิดตั้งถิ่นฐาน” ด้วยการรับคนต่างด้าว ที่มีทักษะสูงเข้ามาร่วมในการพัฒนาประเทศ “แต่อาจต้องทำอย่างรัดกุม” คล้ายสหรัฐอเมริกาเปิดรับผู้มีความรู้ ความสามารถเข้ามาตั้งรกรากในประเทศ ทำให้หลายคนที่ได้สัญชาติอเมริกันแล้วสร้างชื่อเสียงในเวทีโลกให้กับสหรัฐอเมริกาอย่างมากมายนี่คือทิศทางสถานการณ์ “ประเทศไทย” ที่นับถอยหลังเผชิญหน้าปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต ฉะนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจเพื่อรักษาแรงงานไทยที่มีทักษะสูงให้อยู่ทำงานในประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะยกระดับแรงงานรุ่นใหม่ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนี้.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม