Thursday, 19 December 2024

๕ สัญญาณเตือน ลูกจ้างถูกลอยแพ “ลดเงิน-ตัดสวัสดิการ” นายจ้างขาดสภาพคล่องสูง

07 Jan 2024
126

สถานการณ์เลิกจ้างในระบบยังสูง ด้วยมีคดีค้างอยู่ที่ศาลแรงงาน เพราะลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง โดยเฉพาะการเลิกจ้าง ไม่จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า รวมถึงการเรียกร้องเงินค่าชดเชย จึงเป็นสัญญาณที่แรงงานไทยไม่ควรประมาทนราธิป ฤทธินรารัตน์ ทนายความด้านกฎหมายแรงงาน สำนักกฎหมายเนตินรา เปิดเผยกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า ในปีที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวด้านคดีแรงงาน โดยสรุปได้ดังนี้tt tt๑. สถานการณ์การฟ้องร้องด้านแรงงาน จากสถิติปริมาณคดีที่เข้าสู่ศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจครอบคลุมกรุงเทพมหานคร พบว่า ตลอดปี ๒๕๖๖ มีจำนวนคดีขึ้นสู่ศาล ประมาณ ๔,๐๐๐ คดี ใกล้เคียงกับสถิติของปี ๒๕๖๕ ประมาณ ๔,๐๐๐ คดี เช่นเดียวกัน ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ๒. สถิติข้อมูล จากเว็บไซต์ ระบบเตือนภัยด้านแรงงาน พบว่า ในปี ๒๕๖๖ ข้อมูล เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖ มีการจ้างงานในระบบประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน ม.๓๓ เพิ่มขึ้นจำนวน ๓๔๙,๔๑๕ คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมมีการจ้างงานในปัจจุบันทั้งสิ้น ๑๑,๘๓๓,๐๘๖ คน ในทางเดียวกันมีสถิติผู้ถูกเลิกจ้างในระบบประกันสังคม เพิ่มขึ้น ๖,๕๐๔ คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยถูกเลิกจ้างสะสมตลอดปี ๒๕๖๖ จำนวน ๓๕,๑๕๙ คน แสดงให้เห็นว่า ในปี ๒๕๖๖ มีการจ้างงานในระบบที่สูงขึ้น ภาคธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินกิจการได้มากขึ้น มีความต้องการแรงงานที่มากขึ้น และมีการเลิกจ้างที่สูงขึ้นเช่นเดียวกันtt tt๓. เมื่อพิจารณาถึงประเภทกิจการที่มีการเลิกจ้างสูงสุด พบว่า อุตสาหกรรมภาคการผลิต มีการเลิกจ้างสูงสุด รองลงมาเป็น การขนส่งและที่เก็บสินค้า และการก่อสร้าง โดยธุรกิจที่มีการฟื้นตัวได้ดี ได้แก่ ธุรกิจด้านโรงแรม ที่พัก บริการร้านอาหาร ซึ่งได้รับอานิสงส์จากนักท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาท่องเที่ยวในประเทศ๔. ในส่วนการฟ้องร้องคดีขึ้นสู่ศาลแรงงาน พบว่า ๕ ปัญหาที่มีการฟ้องร้อง จำนวนมาก ได้แก่- การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า – การเลิกจ้างเรียกร้องเงินค่าชดเชย เนื่องจากเลิกกิจการ บริษัทขาดทุน ยุบหน่วยงาน- การถูกลดเงินเดือน สวัสดิการ- การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม- การไม่จ่ายค่าจ้างของนายจ้าง เนื่องจากขาดสภาพคล่องtt tt๕. สิ่งที่นายจ้างและลูกจ้างมักมีความเข้าใจผิดสูงสุดและเป็นจำนวนมาก คือ การเลิกจ้าง โดยไม่แจ้งบอกกล่าวล่วงหน้า หรือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ถูกต้อง โดยนายจ้างมักเข้าใจว่า เมื่อจะเลิกจ้าง ให้บอกกล่าวล่วงหน้า ๓๐ วัน และให้ออกจากการเป็นลูกจ้างได้ ซึ่งขัดกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการศึกษาข้อกฎหมายให้ถ่องแท้ ก่อนปฏิบัติจริง มิเช่นนั้นก็อาจถูกฟ้องร้อง เรียกร้องค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นคดีกันตามมาได้นั่นเองส่วนลูกจ้าง หากสงสัยว่า ถูกเอาเปรียบในการจ้างงาน หรือนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายด้านแรงงาน เช่น ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างที่ไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ลูกจ้างต้องได้รับค่าล่วงเวลาเมื่อทำงานเกิน ๘ ชั่วโมง ลูกจ้างต้องได้รับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน ๖ วัน เมื่อทำงานครบ ๑ ปี ถ้าพบว่าบริษัทที่ทำงานอยู่ ปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมายแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำคือการทักท้วงโดยทันที และสิ่งสำคัญคือการเก็บหลักฐาน ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการร้องเรียน เช่น ใบสลิปการจ่ายค่าจ้าง สัญญาจ้างงาน หลักฐานการทำงาน ภาพถ่ายการกระทำที่ไม่ถูกต้องของนายจ้าง โดยสามารถร้องเรียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือศาลแรงงาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาสิทธิของตน.