Sunday, 19 January 2025

แนวรุกสุขภาพ ปี ๖๗ ดีเด่นต้องทบทวน

08 Jan 2024
115

ณ ปัจจุบัน ประเมินกันว่า การระบาดของ “โควิด-๑๙” กำลังเปลี่ยนโฉมจากเดิม…จากรอบปีกว่าที่ผ่านมา ซึ่งมีลักษณะซุปสายพันธุ์ที่มีไวรัสหลายตัวระบาดในช่วงเวลาเดียวกัน ในสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมากนัก…มีแนวโน้มที่การระบาดปัจจุบันจะนำโดย “JN.๑” เป็นสายพันธุ์หลักแม้จะมีสายพันธุ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นจากการผสมข้ามสายพันธุ์ เช่น XDD, XDK ซึ่งเป็นการผสมระหว่าง JN.๑ กับ XBB นั้น แต่พบว่าสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้ไม่ได้มีสมรรถนะที่จะแพร่ระบาดเหนือกว่า “JN.๑”จึงเป็นที่มาของการมองไปในไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๗ นี้ว่า “JN.๑” จะเป็นสายพันธุ์หลักที่ครองการระบาดทั่วโลกรวมถึงไทยเราด้วย และคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าก้าวย่างของ “โควิด-๑๙” จะเป็นอย่างไรช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ยังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)” วิเคราะห์การระบาดของไทย (ตัวเลขรายงานรายสัปดาห์ ๒๔-๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๖) ไว้ด้วยว่า มีจำนวนผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล ๕๙๔ ราย สูงกว่าสัปดาห์ก่อน ๗%…เสียชีวิต ๓ รายปอดอักเสบทะลุไปถึง ๑๒๐ ราย เกินร้อยติดต่อกันมา ๓ สัปดาห์ มากกว่าสัปดาห์ก่อน ๖.๒% นับว่าสูงสุดในรอบ ๔ เดือน นับตั้งแต่ช่วงต้นกันยายน ๒๕๖๖ เป็นต้นมา…ใส่ท่อช่วยหายใจ ๗๔ ราย สูงกว่าสัปดาห์ก่อน ๑๓.๘% เป็นระดับสูงสุดในรอบ ๔ เดือนเช่นกัน และจำนวนผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจนี้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ ๔ ติดต่อกันคาดประมาณการ “ติดเชื้อใหม่” ในแต่ละวันอย่างน้อย ๔,๒๔๓-๕,๘๙๓ รายtt ttย้ำว่าปัจจุบัน BA.๒.๘๖.x มาครองการระบาดแทนที่สายพันธุ์เดิมอย่าง EG.๕.x เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง JN.๑ (คือสายพันธุ์ BA.๒.๘๖.๑.๑) ซึ่งตอนนี้ครองสัดส่วนหลักทั่วโลก“ช่วงเทศกาลวันหยุดยาวเป็นช่วงเวลาที่ควรประเมินสุขภาพตนเองให้ดี ยิ่งหากไปเที่ยว ร่วมกิจกรรมต่างๆ ถ้าไม่ป้องกันตัวก็มีโอกาสติดเชื้อแพร่เชื้อกันได้มาก หากมีอาการไม่สบาย ควรตรวจโควิด-๑๙ แม้วันแรกๆได้ผลลบอย่าชะล่าใจ ให้ตรวจถึงวันที่ ๔-๕ หลังจากเริ่มมีอาการ เพราะไวรัสจะพีกช่วงนั้น”…ไปทำงาน เรียน หรืออื่นๆ ควรป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ“ดูแนวโน้มทั่วโลกแล้ว ประเมินว่าไทยเรามีโอกาสติดและป่วยกันได้มากในช่วง ๔-๖ สัปดาห์แรกของปีนี้ ดังนั้นหากตัดไฟแต่ต้นลมได้ ย่อมจะดีกว่า ความใส่ใจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ…”ย้อนไปก่อนหน้านี้เสียงเตือนล้วนอยู่ในแนวทางเดียวกัน Dr.Maria Van Kerkhove จากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ในรอบเดือนที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลและไอซียูทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง ๓๕%…“ไปกิจกรรมต้องป้องกันตัวให้ดีใส่หน้ากาก อยู่ที่ระบายอากาศดี เลี่ยงที่แออัด ล้างมือหลังจับสิ่งของสาธารณะ หากไม่สบายควรอยู่บ้านไม่ควรตะลอนครับ ไม่ใช่ปล่อยจอยอ้างว่าหลีกเลี่ยงโควิดได้ยาก ย้ำว่า…ป้องกันได้ด้วยความใส่ใจ ถ้าป่วยแล้วจะลำบากกันรอบวง”tt ttช่วงส่งท้ายปีเก่า รองศาสตราจารย์นพ.ธีระ ยังย้อนทบทวนสถานการณ์ต่างประเทศด้วยว่า…ทั่วยุโรปล้วนเผชิญกับ BA.๒.๘๖.x (รวม JN.๑) มาระยะหนึ่งแล้ว ก่อนหน้าที่จะระบาดไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน“ออสเตรีย” เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เราเห็นว่า โรคโควิด-๑๙ นั้นทำให้ผู้ติดเชื้อป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลมากขึ้นชัดเจนในช่วง ๓ เดือนที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนของผู้ป่วยโควิดมากกว่าไวรัสทางเดินหายใจอื่นๆอย่างมาก และครองสัดส่วนกว่า ๕๐% ในช่วง ๔-๖ สัปดาห์ที่ผ่านมาดังนั้นหากมีการระบาดเยอะ ก็จะเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลกันได้มากแน่นอนว่าช่วงปลายปีเช่นนี้ คนไปเที่ยวต่างประเทศกันมาก จึงควรรับรู้สถานการณ์ เพื่อจะได้ระมัดระวังป้องกันตัว น่าสนใจด้วยว่า ณ ปัจจุบัน ผลการสำรวจแนวโน้มของปริมาณ “ไวรัส” จากน้ำเสียของชุมชนในประเทศต่างๆมีดังนี้ประเทศที่มีอัตราการตรวจพบไวรัสในน้ำเสียจากชุมชนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน สโลวะเกีย สโลวีเนีย ฮังการี นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์กประเทศที่มีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง…คงที่ ได้แก่ เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ โปแลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา อินเดีย ฮ่องกง และญี่ปุ่นประเทศที่มีแนวโน้มลดลงหลังพีกไปแล้ว ได้แก่ ออสเตรีย และเบลเยียม ส่วนประเทศที่ไม่มีข้อมูล ได้แก่ สาธารณรัฐเชค ลัตเวีย ลิทัวเนีย อังกฤษ และอิตาลีประเด็นสำคัญมีว่า…ผลการสำรวจไวรัสในน้ำเสีย ถือเป็นตัวชี้วัดโดยอ้อมที่ใช้ประกอบการประเมินสถานการณ์ระบาดได้และดูควบคู่ไปกับข้อมูลอื่นๆ เช่น ข่าวสารเกี่ยวกับการระบาดแต่ละพื้นที่ ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นในโรงพยาบาลท้องถิ่น การประกาศเตือนในแต่ละพื้นที่ ฯลฯtt tt“การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ควรระมัดระวัง ป้องกันตัวด้วย เพราะหากไม่สบายระหว่างเดินทาง ย่อมไม่ใช่เรื่องสนุก และค่อนข้างลำบากในการหาหยูกยา และเข้าถึงบริการดูแลรักษาขอให้มีสุขภาพดีกันทุกคน ความใส่ใจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญครับ”ปิดท้ายด้วยบทสรุปสถานการณ์เด่นด้าน “สาธารณสุข” ปี ๒๕๖๖ อันดับหนึ่ง…หมดยุคขั้วนโยบายสุขภาพ-ท่องเที่ยว-เดินทาง อันดับสอง… กัญชา กระท่อม ส่งผลกระทบต่อสังคมทั่วหน้า ทั้งเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุอันดับสาม…จำนวนอาชญากรรม ความรุนแรง การทำร้าย ฆ่า จี้ ปล้น ปัญหาจิตเวช มีมากมาย และ…สัมพันธ์กับสิ่งเสพติด การพนัน และคอร์รัปชันในแต่ละระดับอันดับสี่…ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ โรคพิษสุนัขบ้า ฝีดาษลิง มีการระบาดมากขึ้นกว่าสถิติปีก่อนๆ สะท้อนถึงปัญหาในด้านการควบคุมป้องกันโรค และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอันดับห้า…การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากลับเข้ามาสู่เวทีหลักตามแนวทางที่ควรอีกครั้งอันดับหก…แคมเปญให้ความรู้และรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ได้รับการตอบรับจากประชาชนดีมากอันดับเจ็ด… “COVID–๑๙ is not over” …โควิด-๑๙ ยังไม่จบและเริ่มเห็นช่องว่างของระบบบริการที่แตกต่างกันมากระหว่างประเทศอันดับแปด…กระแสลมบนที่เคยมุ่งเน้นสุขภาพเชิงพาณิชย์ เริ่มกลับเข้าที่เข้าทางมากขึ้น และมีความเป็นระบบมากขึ้นอันดับเก้า…ปัญหาด้านบุคลากรยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง ไม่ใช่จากแค่เชิงปริมาณ แต่ต้องการการพัฒนาระบบการทำงาน สิ่งแวดล้อม เครื่องไม้เครื่องมือ รวมถึงสถานที่พัก อาหารการกิน และอื่นๆเพื่อให้เกิดสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของคนทำงานในระบบอันดับสิบ…มลภาวะทางอากาศ “PM๒.๕” ยังคงเป็นปัญหาที่หนักตามฤดูกาล และส่งผลกระทบต่อทุกคนในสังคม จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังโดยสรุปแล้ว…ปี ๒๕๖๖ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครึ่งปีหลัง ภาพรวมด้าน “สาธารณสุข” ดูจะมีแสงสว่าง ณ ปลายอุโมงค์ แม้จะมีปัญหา “สุขภาวะ” มากมายที่ต้องได้รับการจัดการแก้ไข โดยหลายต่อหลายเรื่องก็เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นแบบโดมิโนจากอดีต ซึ่งต้องแบกรับแก้ไขกันไปในระยะยาว.tt ttคลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม