Sunday, 19 January 2025

“คุ้มค่า-วิกฤติ” หรือไม่ “จุลพันธ์” แจง ๒ ข้อกฤษฎีกา รอส่งกก.ชุดใหญ่เคาะอีกที

“จุลพันธ์” เคลียร์กฤษฎีกาฟันธงรัฐบาลกู้เงิน ๕ แสนล้านแจกดิจิทัลวอลเล็ตได้ มีข้อเสนอแนะยึด ม.๕๓ และ ๕๗ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง ต้องประเมินความคุ้มค่าได้ทั้งก่อนและหลังทำ พร้อมเคลียร์ให้ชัดเข้าข่ายเป็นวิกฤติหรือไม่ ชง คณะรัฐมนตรีรับทราบลุยแจกเงินหมื่นตามไทม์ไลน์เดิม พ.ค. คาดนำเข้าหารือบอร์ดใหญ่ใน ๑-๒ สัปดาห์ “อนุทิน-วราวุธ” ย้ำไม่ผิดกฎหมาย ไม่ขัดรัฐธรรมนูญพร้อมหนุน “ศิริกัญญา” กระตุกอย่าเพิ่งดีใจ กฤษฎีกาไม่ได้ชี้ชัดอะไรทำได้หรือไม่ได้ อยู่ที่บอร์ดใหญ่เคาะลุยไฟ มติ กมธ.สว.ล่าชื่อ ๘๔ คนเปิดซักฟอกไม่ลงมติรัฐบาล “เสรี” เผยจ่อถล่มเดือน ก.พ.-มี.ค. ชำแหละ ๔ ปมใหญ่ ดิจิทัลวอลเล็ต แก้ รธน. กระบวนการยุติธรรม ๒ มาตรฐาน แก้ปากท้องไม่สะเด็ดน้ำ “ดิเรกฤทธิ์” จี้แม้ไม่ลงมติ แต่นายกฯควรมาตอบเอง “เศรษฐา” ยินดีพร้อมให้ซักฟอกจากกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการคลัง ระบุคณะกรรมการกฤษฎีกาตอบคำถามของกระทรวงการคลัง โดยยืนยันว่าสามารถออก พระราชบัญญัติกู้เงิน ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อมาดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หรือแจกเงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาทได้ ล่าสุดนายนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการคลัง ยืนยันว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาไฟเขียวรัฐบาลกู้เงินได้ แต่มีข้อเสนอแนะให้ยึดมาตรา ๕๓ และ ๕๗ ของ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง ประเมินความคุ้มค่าทั้งก่อนและหลังทำโครงการ รวมทั้งจะถือเป็นวิกฤติเร่งด่วนหรือไม่“จุลพันธ์” ชี้กฤษฎีกาฟันธงกู้ได้ตาม ก.ม.เมื่อเวลา ๑๕.๕๐ น.วันที่ ๘ มกราคมที่รัฐสภา นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการคลัง ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมร่วมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี ๒๕๖๗ ถึงกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบคำถามของกระทรวงการคลังที่ยืนยันว่าสามารถออก พระราชบัญญัติกู้เงิน ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทเพื่อมาดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หรือแจกเงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาทว่า คณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะให้ปฏิบัติตามมาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ของ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง ในเรื่องของความคุ้มค่าของโครงการเพราะจะต้องมีการประเมินผลได้ทั้งก่อนและหลังทำโครงการ ในเรื่องของกลไกที่จะเป็นไปตามข้อกฎหมายตามมาตรา ๕๓ คือ เรื่องนี้จะเป็นวิกฤติหรือไม่ เป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงการคลัง และถือเป็นภาระหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายจะดำเนินการให้ครบถ้วนด้วย คาดว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ ๙ มกราคมนายกฯจะนำไปรายงานให้ที่ประชุม คณะรัฐมนตรีได้รับทราบไปพร้อมกันๆอีกครั้งเผยข้อเสนอแนะรัดกุมให้ฟังรอบด้านนายจุลพันธ์กล่าวอีกว่า ส่วนข้อเสนอแนะของกฤษฎีกา คือ เรื่องของการให้รับฟังความคิดเห็นให้รอบด้าน คงจะต้องพิจารณาสิ่งที่จะเกิดต่อจากนี้ และคงต้องเชิญประชุมคณะกรรมการนโยบายเพื่อที่จะเชิญทุกฝ่ายมา และคงต้องรบกวนเลขาธิการกฤษฎีกา ที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการให้นำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อให้ทุกคนทราบถึงคำตอบของคณะกรรมการกฤษฎีกา และสรุปให้ที่ประชุมฟังด้วยว่า ในความเห็นนั้นๆ มีความหมายและควรจะดำเนินการอะไรต่อ พวกเราในฐานะกรรมการนโยบายหลังจากประชุมกันแล้ว คงต้องมีมติว่า เราจะดำเนินการขั้นต่อไปอย่างไร ถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่ที่ทำได้ แต่เมื่อมีข้อเสนอแนะมา เราต้องรับฟัง ทั้งนี้เรายังพยายามยืนยันว่า กรอบเวลาของโครงการเป็นไปตามกรอบเดิมในเดือน พ.ค. ณ ขณะนี้ยังไม่มีเหตุให้เลื่อนยันทุกคนรู้ดีสถานการณ์ ศก.วิกฤตินายจุลพันธ์กล่าวอีกว่า รัฐบาลยืนยันเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้อย่างเต็มที่ เพราะขณะนี้สถานการณ์เปราะบางมาก ประชาชนเดือดร้อน ประเทศติดหล่มทางเศรษฐกิจมานาน ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะนี้ไม่มีใครชี้ว่าเศรษฐกิจวิกฤติหรือไม่วิกฤติ แต่ทุกคนรับรู้รับทราบว่าเศรษฐกิจมีปัญหา โดยจะนำประเด็นทั้งหมดหารือในคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ต ที่มีนายกฯและรมว.คลัง เป็นประธาน คาดว่าจะนัดประชุมภายใน ๑-๒ สัปดาห์นี้ เพื่อกำหนดตารางการทำงานให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ยืนยันจะเริ่มแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตภายในเดือน พฤษภาคมนี้tt ttอนุทิน ชาญวีรกูล“อนุทิน-ท็อป” ย้ำถูก ก.ม.หนุนเต็มที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและ รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวว่า ในส่วนของพรรค ภท.ทำตามนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ถ้าถูกกฎหมายทำได้ ไม่ผิด ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เราต้องสนับสนุนในฐานะที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลขณะที่นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวว่า ทราบจากข่าวแล้ว คงต้องขอดูรายละเอียดคำตอบที่กฤษฎีกาส่งมาก่อน ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อเป็นนโยบายรัฐบาล ที่ประชุม คณะรัฐมนตรีต้องพยายามผลักดันให้สำเร็จใช่หรือไม่ นายวราวุธตอบว่า แน่นอน ที่สำคัญหากผลักดันสำเร็จจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่ต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายด้วยเป็นที่มาของการขอความเห็นจากกฤษฎีกา“ไหม” เตือนอย่าดีใจกฤษฎีกาไม่ชี้ชัดน.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า หากจะมองว่ากฤษฎีกาไฟเขียว หากตนเป็นข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จะรู้สึกร้อนๆหนาวๆที่กฤษฎีกาบอกคือ หากโครงการเป็นไปตามกฎหมายมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖ และมาตรา ๙ ของวินัยการเงินการคลัง สามารถทำได้ แต่หากผิดเงื่อนไขเหล่านั้นทำไม่ได้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความตามข้อกฎหมายโดยตรง ฝากไปยังผู้เกี่ยวข้องทุกคนว่า กฤษฎีกาให้นำเรื่องนี้กลับเข้ามาประชุมในคณะกรรมการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตคณะใหญ่อีกครั้งที่มีข้าราชการ และผู้มีความรู้หลายคนให้ระมัดระวังเรื่อง การลงมติเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติกู้เงินให้กระทรวงการคลังกู้เงินด้วย โดยที่คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้ชี้ชัดอะไรมาเลยว่า อะไรที่สามารถกระทำได้และไม่สามารถกระทำได้ สุดท้ายต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายดิจิทัลฯชุดใหญ่ว่าการดำเนินการจะเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมายที่กำหนดไว้หรือไม่“เสธ.อู้” ติงคิดรอบคอบแจกเงินหมื่นพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สว. กล่าวว่า ภาพรวมของงบฯปี ๒๕๖๗ มองว่างบลงทุนเพียง ๒๐% อาจไม่มากพอจะผลักดันประเทศให้พ้นจากปัญหา รวมถึงการดันจีดีพีให้ถึง ๕% ตามที่รัฐบาลมุ่งหวัง การจัดสรรงบอาจยังน้อยไป ดังนั้นการผลักดันนโยบายต่างๆ เช่น โครงการดิจิทัลวอลเล็ตต้องไปหวังพึ่งกลไกภายนอก เช่น พ.ร.บ. เงินกู้ แนวโน้มของดิจิทัลวอลเล็ตต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาลในวันที่ ๙ มกราคมที่รัฐบาลจะชี้แจงว่ากฤษฎีกามีความเห็นอย่างไร แต่มีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย ตอนที่รัฐบาลคิดนโยบายนี้อาจอยู่ในสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินให้ประชาชนไปใช้สอย หลายประเทศในโลกก็ทำ แต่ถึงวันนี้วิกฤติเศรษฐกิจยังไม่เลวร้ายนัก เงินเฟ้อก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์โลกประมาณไว้ ดังนั้นจะเอาเงิน ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทไปแจกประชาชนก็จะเป็นปัญหา อยากให้รัฐบาลคิดอีกครั้งว่า จะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไปหรือไม่นายกฯกระทุ้งคนยอดพีระมิดลดเหลื่อมล้ำเมื่อเวลา ๐๘.๓๐ น. ที่ห้องประชุม ชั้น ๒ ศูนย์ ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรและสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Thailand’s Future : อนาคตประเทศไทย” เปิดโครงการฝึกอบรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ตำรวจประจำปี ๒๕๖๗ ตอนหนึ่งว่า ทุกคนที่มาในนี้เป็นผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชน พวกเราอยู่บนยอดพีระมิดสามารถทำอะไรได้อีกมากมาย อนาคตประเทศชาติอยู่ในมือของพวกท่าน แต่เรื่องค่าแรงขั้นต่ำเป็นเรื่องที่อยู่ในใจมาโดยตลอด รายได้ฐานล่างยังไม่แข็งแรง รายได้ทั้งสองฐานต้องไปควบคู่กัน หลายท่านที่อยู่ฐานบนของสังคมช่วยเหลือสังคมเยอะมาก อยากจะเติมเต็มอีกนิดเชิญพวกท่านลงไปกับตนที่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ ๒๐ ม.ค. ขอร้องถ้าว่างไปเชิญเยี่ยมชมโครงการพระราชดำริ ไปดูเรื่องป่า ทรัพยากรธรรมชาติ มีสินค้าอะไรดีๆที่ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือโปรโมต อยากให้ช่วยกันเป็นตลาด หวังว่าหลักสูตรอื่นๆไปทำตามบ้าง ตนเห็นว่าต้องให้ความใส่ใจ คนที่อยู่ฐานบนของสังคมจะได้ไปดูแววตาประชาชนที่อยู่ชายขอบ จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเรายกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาให้สูงขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำปลาย กุมภาพันธ์วางคิวกินนอน ๓ จชต.ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ช่วงก่อนเดินเข้าห้องประชุมนายกฯได้กล่าวทักทายกับ พล.ต.ต.ชุมพล ศักดิ์สุรีย์มงคล ผบก.สส.จชต.ที่เข้าร่วมอบรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ตำรวจช่วงหนึ่งว่า ฝากดูแลภาค ๙ ด้วย เดือนหน้าจะลงไปนอนสัก ๒ คืน ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อมานายกฯให้สัมภาษณ์ว่า คงเป็นปลายเดือน กุมภาพันธ์จะลงไปสัก ๒-๓ วัน แต่ไม่ได้ลงไปดูเรื่องความมั่นคง ไปดูวัฒนธรรม ประเพณี อาหาร หลายๆเรื่อง ความมั่นคงทำได้ดีอยู่แล้วเหตุการณ์ความรุนแรงน้อยลง แต่เราจะทำให้ยั่งยืนต่อไปได้นั้นต้องทำให้เศรษฐกิจดีมั่งคั่งขึ้นด้วย ส่วนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ลงพื้นที่ไปก่อนแล้วนั้นอย่าไปมองเป็นการตัดหน้าเลย ไม่ว่าเป็นใครที่ลงพื้นที่ไปเป็นเรื่องที่ดี ยินดีสนับสนุนtt ttเศรษฐา ทวีสินเชื่อ ๓ รัฐมนตรีไขก๊อกพ้น สส.ไร้นัยนายเศรษฐายังตอบข้อถามถึงกรณี ๓ รัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกฯ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการคมนาคม และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลาออกจาก สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) จะกระทบกับการทำงานของรัฐบาลหรือไม่ว่า “ไม่มี” เชื่อว่าการทำหน้าที่รัฐมนตรีจะดีขึ้น เพราะท่านได้ทำหน้าที่ฝ่ายบริหารอย่างเต็มที่ ตามที่นายสมศักดิ์ได้พูดไปว่างานตามกระทรวงต่างๆก็เยอะอยู่แล้ว ไม่มีนัยอะไร เพราะเป็นเรื่องของการทำงานเพียงอย่างเดียวสว. เข้าชื่อ ม.๑๕๓ เปิดซักฟอกรัฐบาลอีกเรื่อง เมื่อเวลา ๑๓.๑๐ น. ที่รัฐสภา นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๓ ว่า เป็นการอภิปรายเฉพาะเรื่อง เป็นสิทธิ และอำนาจของผู้ที่ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย สส. หรือ สว. ก็ตาม เพราะเป็นผู้แทนประชาชน นอกจากนี้ เรายังมีหน้าที่ออกกฎหมาย เราติดตามการบังคับใช้กฎหมาย การกำกับการบริหารราชการแผ่นดิน การเปิดอภิปรายแบบไม่ลงมติของวุฒิสภา มีบทบัญญัติชัดเจนให้เชิญรัฐบาลมาสอบถามและชี้แจงเรื่องต่างๆ ที่ทำไป รวมถึงเสนอแนะให้รัฐบาล จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและรัฐบาลเอง หลายเรื่องที่ประชาชนคลางแคลงสงสัย ไม่มีพื้นที่รับฟังคำอธิบายนายกฯ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช้พื้นที่สภาอธิบายผ่านวุฒิสภาสู่ประชาชนจ้องฟัดปมแก้ รธน.เมื่อถามว่า สว.จะนำเรื่องใดขึ้นมาอภิปรายเป็นพิเศษหรือไม่ นายดิเรกฤทธิ์กล่าวว่า ภาพกว้างคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีนโยบายจะแก้ไขทั้งฉบับ รวมถึงการทำประชามติ มีปัญหาหลายประเด็น เช่น ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ วิธีการ ความจำเป็นเนื้อหา ขอบเขตที่จะแก้ รวมถึงสรรหาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร.) กระทั่งการบังคับใช้กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมที่ไม่โปร่งใส รวดเร็วและยังไม่ได้อธิบาย เหล่านี้เป็นความคาดหวังของประชาชน สว.มี กมธ.๒๖ คณะ มีประชาชนมาร้องเรียนนำปัญหา และคำถามมาสะท้อนมากมาย สว.ชุดปัจจุบันที่ยังทำหน้าที่อยู่ มีเรื่องที่เราทำมาต่อเนื่อง ๔-๕ ปีคือการปฏิรูปประเทศ เป็นเรื่องใหญ่มาก อยากเปลี่ยนแปลงประเทศในเรื่องสำคัญ การขับเคลื่อนผ่านรัฐบาลชุดที่ผ่านมายังไม่สำเร็จ อยากรู้รัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญกับทิศทางและวิธีการเหล่านี้อย่างไร หากเกิดขึ้นจริงจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ชาติและประชาชนโยงคนชั้น ๑๔–จี้นายกฯมาตอบเองนายดิเรกฤทธิ์กล่าวต่อว่า หลายรัฐบาลที่ผ่านมา เวลามีกระทู้ถามด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ รวมถึงหารือความเดือดร้อนของประชาชนไปยังฝ่ายบริหาร บางทีนายกรัฐมนตรีไม่มาตอบ เป็นผลเสียของรัฐบาล มีเวทีแล้วไม่มาชี้แจง เป็นผลเสียต่อประชาชนที่ไม่เข้าใจการทำงานของรัฐบาล การมีมาตรา ๑๕๓ จึงเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ส่วนกระบวนการการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่โปร่งใส มีหลายประเด็นทั้งกระบวนการยุติธรรม ทางแพ่ง ทางอาญา ทางปกครอง ยังมีคดีต่างๆ ค้างอยู่มากมาย เช่น กระบวนการบริหารโทษในกรมราชทัณฑ์ ทำไมมีบางคนถูกเลือกปฏิบัติต่างจากประชาชนทั่วไป ประเด็นนี้อธิบายได้ ไม่ใช่เรื่องของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่อยู่ชั้น ๑๔ กรณีเดียว แต่เราพูดถึงภาพกว้างด้วย เราไม่ได้ก้าวล่วงดุลพินิจ แต่อยากสร้างความเคลื่อนไหว และยังมีอีกหลายเรื่องหลายกรณีที่ประชาชนสนใจ เมื่อถามว่าหวังว่าจะให้นายกฯ มาชี้แจงด้วยตัวเองหรือไม่ นายดิเรกฤทธิ์กล่าวว่า ข้อดีของมาตรานี้คือกำหนดให้รัฐมนตรีเข้ามาชี้แจงโดยไม่ต้องผ่านตัวแทน จากที่ สว.คุยกันนอกรอบคนที่เห็นด้วยกับการอภิปรายแบบไม่ลงมติมีมากกว่า ๑ ใน ๓ ที่ต้องเข้าชื่อแน่นอน จะประชุม กมธ. การพัฒนาการเมือง เราเห็นพ้องกัน แต่จะมาดูญัตติอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้รัฐบาลได้เตรียมตัวว่ามีเรื่องอะไรบ้างปชช.คาดหวังพันธสัญญาที่หาเสียงนายดิเรกฤทธิ์กล่าวว่า ส่วนโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลายคนมองถึงความจำเป็น เป็นวิกฤติหรือไม่อย่างไร ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผิดกฎหมายฉบับใดหรือไม่ ดำเนินการได้หรือไม่ มีหลายแง่มุมที่ยังมีข้อถกเถียง ทำไมไม่ให้ผู้รับผิดชอบมาชี้แจง เพื่อไม่ให้ข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อน เมื่อถามย้ำว่ารัฐบาลเพิ่งทำงานได้ ๔ เดือน เหตุใดจึงจะขอเปิดอภิปรายแบบไม่ลงมติ นายดิเรกฤทธิ์กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่ได้เป็นช่วงๆ ตอนรัฐบาลชุดที่แล้วมีการมารายงานทุก ๓ เดือนเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงการทำงานร่วมกับ กมธ. ประเด็นแตกต่างกับรัฐบาลชุดนี้ที่มาจากประชาชน พันธกรณี ข้อผูกพันกับสิ่งที่หาเสียงหรือประกาศเป็นนโยบายไว้ เมื่อให้พันธะสัญญาจะต้องขับเคลื่อนและมีความคาดหวังจากประชาชนtt ttกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ“กิตติศักดิ์” รอขยี้ “ทักษิณ–แจกเงินหมื่น”นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สว.กล่าวว่า ระยะเวลาการทำงานของรัฐบาลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ ไม่ว่ารัฐบาลจะอยู่กี่วัน หากทำไม่ดีมีค่าเท่ากัน จะมาบริหาร ๓-๔ เดือนหรือ ๓-๔ ปี ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมรัฐบาลว่าบริหารประเทศดีหรือไม่ หากทำไม่ดีเพียง ๑ วันแพงเกิน จากการพูดคุยกันกับเพื่อน สว.เห็นว่าพฤติกรรมรัฐบาลขณะนี้มีเสียงสะท้อนเข้ามา โดยเฉพาะเรื่องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และเรื่องเงินดิจิทัลวอลเล็ต ๑๐,๐๐๐ บาท ยังไม่มีใครตอบคำถามประชาชนที่สงสัยได้ ดังนั้นสิ่งที่ยังปกปิดอยู่จะต้องมีความชัดเจนต่อประชาชน ขณะนี้จากการลงพื้นที่ พบว่าประชาชนที่ค้าขายกำลังจะตายแล้ว จากที่ไม่เคยค้างค่าเช่าเกือบทุกจังหวัดกลายเป็นหนี้แล้ว เมื่อถามว่าจะเกิดข้อครหาหรือไม่ เพราะ สว.ไม่อภิปรายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่กลับอภิปรายรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ที่บริหารประเทศเพียง ๔ เดือน นายกิตติศักดิ์กล่าวว่าเทียบกันได้ แต่เราคิดว่าถ้าด้วยความเป็นธรรม ตอนนี้ผลงานรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ๘-๙ ปีที่ผ่านมาเกิดมรรคผลอะไรบ้าง ในขณะที่รัฐบาลของนายเศรษฐา ๓-๔ เดือนที่ผ่านมาทำอะไรที่ประชาชนได้ประโยชน์จับต้องได้บ้างจ่อถล่ม ๔ ปมใหญ่ ก.พ.–มีนาคมช่วงเย็น นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะ กมธ.การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน สว.ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมกมธ.ฯ เพื่อพิจารณาเรื่องญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๓ ของ สว.ว่า ที่ประชุม กมธ.ฯ มีมติให้มีการยื่นญัตติตามมาตรา ๑๕๓ โดยจะมีการล่าชื่อ สว.ตั้งเเต่วันพรุ่งนี้ (๙ ม.ค.) เพื่อให้ได้ตามเงื่อนไขมาตราดังกล่าว ต้องใช้เสียง สว. ๑ ใน ๓ หรือ ๘๔ คน เชื่อว่าจะมี สว.ร่วมลงชื่อตามที่คาดหวัง แต่ยังไม่ทราบว่าจะยื่นหรือเปิดซักฟอกรัฐบาลได้เมื่อไหร่ ต้องดูความพร้อมของรัฐบาลที่จะมาชี้แจงประกอบด้วย คาดว่าจังหวะเวลาที่เหมาะสมคือช่วงเดือน ก.พ.-มีนาคม๖๗ แต่ถ้าจะให้เลยไปถึง เม.ย. คงไม่ดี หัวข้ออภิปรายรัฐบาลมีหลายเรื่อง อาทิ เรื่องกระบวนการยุติธรรม ที่บังคับใช้กฎหมายไม่เท่าเทียม เป็นเรื่องสองมาตรฐาน แต่ไม่ขอเอ่ยชื่อว่าหมายถึงใคร เรื่องดิจิทัลวอลเล็ต เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องปากท้องของรัฐบาลที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ“ราเมศ” บอกดีช่วยกันตรวจสอบนายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงกรณีที่ สว. จะรวบรวมชื่อเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๑๕๓ ของรัฐธรรมนูญแบบไม่ลงมติ ว่า รัฐธรรมนูญกำหนดในมาตรา ๑๕๓ ชัดเจนให้ สว.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวน สว. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีได้แถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยที่ไม่มีการลงมติ ถือว่าเป็นสิทธิของ สว.สามารถดำเนินการได้ อย่าไปคิดว่า สว. มีเจตนาไม่ดีต่อรัฐบาล หากมีการอภิปรายที่เล็งเห็นถึงการตรวจสอบอย่างแท้จริง เพื่อให้รัฐบาลได้มาอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมแถลงข้อเท็จจริง เป็นเรื่องที่ดีอย่างน้อยที่สุดนี่คือกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลโดยฝ่ายรัฐสภา ฝ่ายนิติบัญญัติกรณี “ทักษิณ” รักษาหลักการถูกผิด“ส่วนที่มี สว.บางคนบอกว่า เรื่องนายทักษิณ ชินวัตร ไม่ควรแบ่งสีแบ่งฝ่าย ให้เลิกทะเลาะกันเรื่อง สีแดง สีเหลือง นปช. กปปส.แล้ว เพราะเขาไปรวมเป็นรัฐบาลกันหมดแล้ว วุฒิสมาชิกกำลังเข้าใจผิดในหลักการของบ้านเมือง เรื่องทักษิณ ชินวัตร เป็นเรื่องหลักการความถูกผิดของบ้านเมือง เป็นการเลือกปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เท่าเทียม ไม่ใช่เรื่องสีเสื้อ ไม่ใช่เรื่องทะเลาะส่วนตัว คือเรื่องใหญ่ของบ้านเมือง หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้บ้านเมืองในวันข้างหน้าจะอยู่กันอย่างไร นักการเมืองควรเป็นแบบอย่างในการเคารพกฎหมายบ้านเมือง เพราะถ้าไม่เป็นเช่นนั้นต่อไปบ้านเมืองจะเหลืออะไร” นายราเมศกล่าว“เศรษฐา” ยินดีพร้อมให้ สว.ซักฟอกเมื่อเวลา ๐๙.๑๐ น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี สว.บางส่วนเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๑๕๓ แบบไม่ลงมติในส่วนของ คณะรัฐมนตรีว่า เป็นหน้าที่ฝ่ายบริหารอยู่แล้ว ถ้าเกิดฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายตรวจสอบต้องการความกระจ่าง หรืออะไรต้องชี้แจง เป็นไปตามกลไกรัฐธรรมนูญ เมื่อถามย้ำว่า ระยะเวลาในการบริหารประเทศมีเพียงแค่ ๔ เดือน คิดว่าเร็วไปหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ถือว่ามันเป็นหน้าที่ ไม่เกี่ยวกับจำนวนเดือน หรือจำนวนวัน มีความพร้อมและยินดี“จุลพันธ์” ปากกล้ามีหน้าที่ก็แจงไปนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการคลัง กล่าวถึงกรณี สว.เตรียมนำโครงการดิจิทัลวอลเล็ตไปอภิปรายตามมาตรา ๑๕๓ ด้วยว่า กลไกดิจิทัลวอลเล็ตเป็นเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมเป็นหลัก ไม่ใช่โครงการสงเคราะห์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยกลับไปสู่ระดับการเติบโตที่เต็มศักยภาพ นี่คือจุดมุ่งหมายของรัฐบาล เรื่องอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เราได้แสดงความเป็นห่วงตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า มีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นที่ค่อนข้างเร็วและสูง กระทบกับประชาชนวงกว้าง โครงการดิจิทัลวอลเล็ต หาก สว.จะขอยื่นอภิปรายแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๕๓ เป็นสิทธิและหน้าที่ ยินดี เพราะรัฐบาลมีหน้าที่ชี้แจง ทำความเข้าใจอยู่แล้ว“อนุทิน” ย้ำ รบ.แน่นปึ้กไร้กลิ่นปรับ คณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและ รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์ถึงการนัดพรรคร่วมรัฐบาลทานอาหารว่า เดิมนัดไว้วันที่ ๒๕ ม.ค. แต่นายกฯมีภารกิจด่วน อาจเลื่อนไป นายกฯคงจะกำหนดวันใหม่ ยังไม่รู้ว่าวันไหน ต้องเชิญหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคทุกพรรค ต้องให้เลขาฯนายกฯช่วยเชิญ เราเป็นเจ้ามือไม่ใช่เจ้าภาพ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ส่วนกระแสข่าวการปรับ ครม. ไม่มีเลย ไม่ได้คุยกับนายกฯเรื่องนี้เลย ตอนนี้นายกฯมั่นใจ เข้าใจระบบรัฐสภามากขึ้น มั่นใจว่าพรรคร่วมรัฐบาลพร้อมสนับสนุนนโยบายของนายกฯ การพิจารณางบฯได้เสียงครบ ที่หายไป ๒-๓ เสียง คงจะมีปัญหาสุขภาพ ไม่ใช่หายไปเพราะไม่ต้องการโหวต ถือว่ารัฐบาลมั่นคง จากนี้ไปต้องช่วยกันสนับสนุนให้นโยบายต่างๆของรัฐบาลสำเร็จ เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง เมื่อถามว่าความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาลยังเหนียวแน่นอยู่ใช่หรือไม่ นายอนุทิน ยิ้มพร้อมกล่าวว่า ไม่ยาก ช่วยดูรูปเมื่อวันที่ ๗ มกราคมมีใครมากอดคอตน เมื่อถามอีกว่ายังคงมีข่าวพรรค ภท. เป็น ๑ ในเป้าหมายที่ถูกปรับออก เพื่อนำพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเสียบแทน นายอนุทินกล่าวว่า ไม่รู้จะตอบอย่างไรtt ttภูมิธรรม เวชยชัยเเบ่งเค้กลงตัว “ภูมิธรรม” นั่งหัวโต๊ะเวลา ๑๖.๐๐ น. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบฯปี ๖๗ นัดแรก มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและ รัฐมนตรีว่าการพาณิชย์ เป็นประธานเพื่อพิจารณากรอบการทำงาน โดยวาระที่น่าสนใจคือการเลือกตำแหน่งต่างๆ ปรากฏว่า นายภูมิธรรมเป็นประธานคณะ กมธ. ส่วนรองประธาน กมธ. มี ๑๙ คน อาทิ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการคลัง นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรค รทสช. นายไผ่ ลิกค์ สส.กำเเพงเพชร พรรค พปชร. โฆษกคณะ กมธ.มี ๗ คน อาทิ นายภราดร ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง พรรค ภท. ขณะที่ ที่ปรึกษาคณะ กมธ.มี ๗ คน อาทิ นางฐิติมา ฉายแสง สส.ฉะเชิงเทรา พรรค พท. นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ สส.กาญจนบุรี พรรค พท. เป็นต้นหวั่นคนนอกฟ้องร้อง ตีตกไลฟ์สดผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าพรรค ก.ก.ไม่ได้เสนอชื่อบุคคลใดร่วมชิงตำแหน่งต่างๆใน กมธ.แม้แต่ตำแหน่งเดียว นอกจากนี้ นายภูมิธรรมได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าจะจัดให้มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียง แค่บริเวณหน้าห้องประชุมและห้องรับรองผู้ชี้แจงเท่านั้น ยกเว้นช่วงการประชุมลับ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้เสนอให้มีการถ่ายทอดสดไปยังช่องทางสาธารณะ แต่ กมธ.เสียงส่วนใหญ่ได้คัดค้าน เนื่องจากกังวลว่าจะพาดพิงไปถึงบุคคลภายนอก ทำให้เกิดปัญหาจนมีการฟ้องร้องกันได้ จึงขอให้ทำเหมือนทุกปีที่ผ่านมา ทำให้ น.ส.ศิริกัญญายินยอมให้การพิจารณาเป็นไปตามเดิมขอทุกฝ่ายช่วยจัดงบฯให้เหมาะสมนายภูมิธรรมกล่าวภายหลังการประชุมคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบฯปี ๖๗ นัดแรกว่า ได้กำหนดกรอบการทำงานร่วมกัน ส่วนสัดส่วนในตำแหน่ง กมธ.ไม่มีปัญหา เมื่อผ่านวาระแรกมาแล้ว ถือว่าสภาฯได้รับรองขั้นต้น จากนี้ไปทุกภาคส่วนต้องช่วยกันทำให้งบฯปี ๖๗ บริหารได้โดยยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมถึงแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่าเราผ่านวิกฤติกันมา เราต้องการจะแก้ไข เชื่อว่าทุกคนจะใช้ความพยายาม ใช้ความรู้ที่มีอยู่จัดสรรงบฯให้เป็นไปตามความเหมาะสมและนโยบายของรัฐบาลที่จะดำเนินการ ส่วนที่ฝ่ายค้านต้องการให้ถ่ายทอดสดการประชุม กมธ.งบฯปี ๖๗ ขึ้นอยู่กับที่ประชุม กมธ. บางเรื่องไม่สามารถพูดในที่ประชุมหรือสาธารณะได้ในทันที จะมีผลเกี่ยวกับการนำงบฯไปใช้ ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ เช่น ผู้จะนำไปเป็นข้อมูลการใช้จ่ายโดยหลักการแล้วจะชี้แจงอย่างเปิดเผยอยู่แล้ว ต้องเอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง อะไรที่เปิดเผยได้ค่อยว่ากัน โดยทั่วไปการจัดสรรงบฯต้องทำให้ชัดเจนก่อน หากข้างในยังทำอะไรไม่เสร็จแล้วมีคนมานั่งเฝ้าดู เห็นว่าเป็นประโยชน์อะไรจะนำไปใช้ประโยชน์คงไม่เหมาะสมเท่าไหร่ปชป.จวก รบ.โยนบาปงบฯปี ๖๗นายชนินทร์ รุ่งแสง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีต สส.กทม. กล่าวถึงกรณีสภาฯรับหลักการร่าง พระราชบัญญัติงบฯปี ๖๗ วาระแรกว่า รัฐบาลพยายามให้เหตุผลว่าการจัดสรรงบฯบางส่วนที่ไม่เหมาะสมเป็นผลมาจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาทำหน้าที่มีกระบวนการสั่งให้ทบทวนงบฯของกระทรวง ทบวง กรมทั้งหมดอีกครั้ง สำนักงบฯได้ทำหนังสือไปถึงทุกหน่วยงานให้ปรับงบฯเป็นไปตามแนวนโยบายของรัฐบาล แล้วส่งกลับมายัง ครม. จากนั้นจึงเสนอต่อสภาฯ เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น ไม่เป็นความจริงโดยสิ้นเชิง ได้ผ่านตารัฐบาลชุดนี้มาแล้ว การอภิปรายวาระแรก สส.ของพรรคกล่าวถึงนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่กำลังต้องโทษ ดูเหมือนติดคุกทิพย์อยู่ ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวหรือความแค้นส่วนบุคคล แต่เป็นบรรทัดฐานของกระบวนการยุติธรรมไทยต้องทำให้กระจ่าง ขอฝากถึงนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการพลังงาน กำกับ ดูแลกระทรวงยุติธรรม ต้องทำเรื่องที่สังคมเคลือบแคลงให้ชัดเจน นายพีระพันธุ์เคยพูดว่าไม่เคยเกรงใจใคร จึงเรียกร้องให้ดำเนินการเรื่องนี้พิสูจน์คำพูดตัวเอง ขอความกรุณาให้ร่วมมือกับกลไกการตรวจสอบของพรรค ปชป.ผ่าน กมธ.ตำรวจ ที่จะเข้าไปดูให้ได้ความกระจ่าง“สถิตย์” ซัด รบ.ไม่ใส่ใจจัดทำแผนงบฯนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สว. กล่าวถึงการจัดทำงบฯปี ๖๗ ของรัฐบาลว่า รัฐบาลอ้างมีเวลาดูแลงบฯจำกัด ดูไม่สมเหตุสมผลมากนักกว่า ๑๐๐ วันรัฐบาลขยันทำงานมาก แต่ไม่ให้เวลาเพียงพอดูแลงบฯที่เป็นเรื่องสำคัญในการบริหารประเทศ งบฯปี ๖๗ นอกจากไม่นำนโยบายสำคัญมาบรรจุในงบฯแล้ว ยังไม่ได้มองระยะปานกลางหรือยาวที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาขึ้น แม้จะกำหนดทำงบฯขาดดุลต่อเนื่องร้อยละ ๓.๔ ต่อปีจนถึงปี ๗๐ แต่ไม่ได้แสดงนัยให้เห็นว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ถึงร้อยละ ๕ นำไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว งบฯลงทุนมีเพียงร้อยละ ๒๐.๖ เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทางเป็นหลัก แต่เรื่องอื่นๆโครงสร้างพื้นฐานพัฒนาประเทศสำคัญเช่นกัน ควรสร้างความสมดุลโครงสร้างพื้นฐานสว.ตั้ง กมธ.งบฯคู่ขนานไปกับฝั่ง สส.พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สว.กล่าวถึงการพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบฯปี ๖๗ ของสภาฯว่า ช้ามาก ทำให้มีเวลาทำงานน้อย ตามกำหนดการต้นเดือนเม.ย.ต้องผ่านสภาฯช่วงต้นสัปดาห์ และส่งให้ สว.พิจารณาให้เสร็จภายในวันที่ ๙-๑๐ เม.ย. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประมาณวันที่ ๑๗ เม.ย. กรอบเวลาพิจารณาของ สว.มีน้อยมากแค่ ๖-๗ วัน ประธานวุฒิสภาจึงให้ตั้งคณะ กมธ.พิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบฯปี ๖๗ ในส่วนวุฒิสภาวันที่ ๙ มกราคมจำนวน ๔๑ คน จะเริ่มประชุมตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคมคู่ขนานไปกับ กมธ. ของสภาฯเพื่อจะช่วยให้ส่วนราชการมาชี้แจงคู่ขนานกันไปโดยสะดวก คาดว่าราววันที่ ๒๐ มี.ค. กมธ.ของ สว.จะจบการพิจารณาพร้อม กมธ.สภาฯ จากนั้นเข้าสู่ การแปรญัตตินำเข้าสู่วุฒิสภาเพื่อเปิดอภิปรายงบฯวันที่ ๙ เม.ย. ขณะนี้ทยอยแจกเอกสารรายละเอียดไปให้สมาชิกแล้วอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่