Sunday, 19 January 2025

ข้อมูลแสงไขปริศนาซากซุปเปอร์โนวา

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไต้หวัน ในกรุงไทเป เผยว่า จากการรวมข้อมูลของกล้อง โทรทรรศน์อวกาศจันทรา ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา กับข้อมูลแสงจากกล้องโทรทรรศน์ บลังโก ๔ เมตรในชิลี กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ทำให้ได้ภาพที่มีสีสันสดใสของซากซุปเปอร์โนวาที่ชื่อว่า ๓๐ Doradus B อยู่ห่างจากโลก ๑๖๐,๐๐๐ ปีแสงในกาแล็กซีเมฆแมกเจลเลนใหญ่ ซึ่งเป็นกาแล็กซีบริวารขนาดเล็กของกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราภาพของซากซุปเปอร์โนวาแห่งนี้ มองเห็นแสงชนิดต่างๆที่สวยงามน่าตื่นตะลึง ทว่าสิ่งสำคัญที่ค้นพบในซากนี้คือไม่ได้มีดาวฤกษ์ที่ระเบิดเพียงดวงเดียว แต่มีดาวฤกษ์ระเบิดอย่างน้อย ๒ ดวง ซึ่งแสงสีในซาก ๓๐ Doradus B นั้นนักดาราศาสตร์แจงว่า สีม่วงมาจากข้อมูลแสงของกล้องรังสีเอกซ์จันทรา สีส้มและสีฟ้ามาจากข้อมูลแสงของกล้องโทรทรรศน์บลังโก สีแดงมาจากข้อมูลแสงของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ ส่วนสีขาวและดำที่เน้นให้ภาพคมชัด มาจากข้อมูลเชิงแสงของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลส่วนความสว่างที่เห็นในใจกลางซาก ๓๐ Doradus B น่าจะเป็นผลมาจากการระเบิดซุปเปอร์โนวาที่ดาวฤกษ์มวลสูงล่มสลาย เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปีก่อน ทว่าเปลือกรังสีเอกซ์จางๆที่ใหญ่กว่านั้น กลับใหญ่เกินกว่าที่จะเป็นผลมาจากซุปเปอร์โนวาเดียวกัน ทีมจึงคิดว่ามีการระเบิดของซุปเปอร์โนวาอย่างน้อย ๒ ครั้งเกิดขึ้นในซาก ๓๐ Doradus B.Credit : NASAอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่