Thursday, 19 December 2024

"สรรเพชญ" จับโป๊ะ รัฐบาล กู้จริง ๑.๑ ล้านล้าน ไหนบอกไม่กู้ "ดิจิทัลวอลเล็ต"

“สรรเพชญ” สส.สงขลา ปชป.แนะ “รัฐบาล” ยึด พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง ทวงถาม ไหนบอกไม่กู้ มี ๔ แหล่ง ที่มาเงินทำดิจิทัลฯ ชงข้อสังเกต จับโป๊ะ จับตา กู้จริง ๑.๑ ล้านล้านบาทเมื่อวันที่ ๑๐ ม.ค. ๒๕๖๗ นายสรรเพชญ บุญญามณี สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) กล่าวถึงกรณีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่ง ความเห็นกรณีการออก พ.ร.บ. กู้เงิน ๕ แสนล้านบาท เพื่อจัดทำนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต ให้กระทรวงการคลัง ว่า ตนทราบข่าวว่า ทางกฤษฎีกาไม่ได้ฟันธงว่ารัฐบาลสามารถจัดทำนโยบายดิจิทัล วอลเล็ตได้หรือไม่ แต่กฤษฎีกาทำหน้าที่ส่งความเห็นในเชิงกฎหมายเพียงเท่านั้น ซึ่งตนเห็นว่า กฤษฎีกากำลังบอกรัฐบาลว่า หากจะจัดทำนโยบาย ดิจิทัล วอลเล็ต ต้องพิจารณาภายใต้กฎหมายใดเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ตนเห็นว่านโยบายรัฐบาล คือฉันทามติของสังคมที่ไม่สามารถหักล้างได้ ขณะเดียวกัน หากสุดท้ายมันผิดกฎหมายจริง รัฐบาลจำเป็นรับผิดชอบ ทั้งทางกฎหมายและการเมืองเป็นอย่างน้อย เพราะมันคือนโยบายที่ใช้หาเสียงที่จำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ก่อนจะประกาศหาเสียงเลือกตั้งนายสรรเพชญ กล่าวต่อว่า กรณีตัวนโยบาย ดิจิทัล วอลเล็ต แจกคนละ๑๐,๐๐๐ บาท เป็นนโยบายเรือธงของพรรคเพื่อไทยที่ประกาศโดยนายเศรษฐา ทวีสิน สร้างความฮือฮาให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก แต่ภายใต้ความฮือฮาก็มีข้อกังขาถึงความเป็นไปได้ของนโยบาย มาจนถึงวันนี้ ความชัดเจนของนโยบายก็ยังไม่คืบหน้า เพราะรัฐบาลไม่มีเงินที่จะมาทำนโยบาย อีกทั้งรัฐบาลเองก็มีความสับสนในช่วงแรกว่า จะกู้หรือไม่กู้ จะใช้เงินผ่านแพลตฟอร์ม หรือ แอปพลิเคชัน ซึ่งรัฐบาลเองก็ยังไม่มีความชัดเจน โดยนโยบาย ดิจิทัล วอลเล็ต ที่พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นไว้กับ กกต. ตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่องของการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองที่ต้องให้จ่ายเงิน พบว่าเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล วงเงิน ๕๖๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งที่น่าสังเกตคือที่มาของเงินที่จะใช้ในการดำเนินการโดยจะมาจาก ๔ แหล่ง คือ๑.)รายได้ที่รัฐจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นในปี ๒๕๖๗ จำนวน ๒๖๐,๐๐๐ ล้านบาท๒.)ภาษีที่ได้มาจากผลคูณต่อเศรษฐกิจจากนโยบาย ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท๓.)การบริหารจัดการงบประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ ล้านบาท๔.)การบริหารงบประมาณที่ซ้ำซ้อน ๙๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งไม่มีเรื่องของการกู้ จึงหมายความว่า นโยบายนี้จะสามารถดำเนินการได้โดยใช้เงินที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องสร้างภาระให้กับประเทศเพิ่มtt tt“ผมขอตั้งข้อสังเกตว่าการ ทำนโยบาย นี้ หากรัฐบาลจะดึงดันให้สามารถดำเนินการภายในปี ๒๕๖๗ เท่ากับรัฐบาลนายเศรษฐา จะต้องกู้เงินถึง ๑.๑ ล้านล้านบาท เพราะเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๗ ซึ่งในรายละเอียดไม่ปรากฏนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต และร่าง พ.ร.บ. งบฯปี ๖๗ มีการกู้เงินเพื่อชดใช้เงินคงคลังกว่า ๖๐๐,๐๐๐ แสนล้านบาท และหากจะดำเนินการ นโยบายดิจิทัล วอลเล็ต รัฐบาลจะต้องกู้อีก ๕๖๐,๐๐๐ ล้านบาท รวมแล้วรัฐบาลนายเศรษฐา จะสร้างหนี้กว่า ๑.๑ ล้านล้านบาททั้งนี้ การกู้เงินของรัฐบาลจะต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรา ๕๓ มาตรา ๖ มาตรา ๗ และมาตรา ๙ ที่ระบุไว้ว่า “คณะรัฐมนตรีต้องไม่บริหารราชการแผ่นดินโดยมุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว” หากพิจารณาเรื่องของหนี้สาธารณะคงค้าง ณ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๖ รัฐบาลมีหนี้สาธารณะคงค้างอยู่ที่ ๑๑ ล้านล้านบาท ซึ่งหากต้องกู้เพื่อทำนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต ผมไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว การกระตุ้นและพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาว มันมีอยู่หลากหลายแนวทาง หลายแนวทางมันนำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ การฝึกทักษะใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพ การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ความท้าทายของรัฐบาล หรือ พรรคเพื่อไทย คือมาตรฐานนโยบายการเมืองกับความถูกต้องทางกฎหมาย และจำเป็นต้องกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของนโยบายที่ให้ไว้เป็นสัญญาประชาคม ว่า ดิจิทัล วอลเล็ต จะเป็นนโยบายที่ไม่ต้องกู้เงิน ซึ่งรัฐบาลจะต้องนำไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง” นายสรรเพชญ กล่าว