Thursday, 19 December 2024

“อนุทิน” จ่อ ฟัน หากพบทุจริต สอบ “ข้าราชการท้องถิ่น” ย้ำ เข้มทุกขั้นตอน

“อนุทิน” จ่อ ฟันไม่ยั้ง หากพบทุจริต สอบข้าราชการท้องถิ่น มอบ สถ. ร่วม ป.ป.ช.-ป.ป.ท.-ปปง. ตรวจสอบเข้มทุกขั้นตอน พร้อมจับตาใกล้ชิด กรณีเปลี่ยนตัวผู้จัดสอบ คาดโทษพบผิดแม้จุดเดียว ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมรับผิด แพ่ง อาญา วินัย ไม่มีเว้นวันที่ ๑๐ ม.ค. น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ได้ให้นโยบายกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลกระบวนการการสอบคัดเลือกบุคลากร เข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่กำลังจะเปิดรับสมัครสอบเข้าแข่งขันในปี ๒๕๖๗ จะต้องปลอดการทุจริต โดยเน้นย้ำว่ากระทรวงมหาดไทยจะร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบการสอบครั้งนี้อย่างเข้มงวด และตรวจสอบเส้นทางการเงินผู้เกี่ยวข้อง และผู้มีประวัติเรียกรับผลประโยชน์และหากพบว่ามีการกระทำผิดจริง จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับทุกราย ไม่มีละเว้นท่าน รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ได้รับรายงานจากผู้เกี่ยวข้องว่า ในอดีตมีการเรียกรับเงินจากผู้สมัครสอบในหลายจังหวัดทั่วประเทศ มีประชาชนถูกหลอกจำนวนมาก มีการฟ้องร้อง เป็นคดีอยู่ในศาลหลายคดี มีผู้เสียหายจำนวนมาก ในการสอบครั้งนี้จึงได้ให้นโยบายอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) ว่าต้องตรวจสอบ และหามาตรการป้องกัน ไม่ให้มีการเรียกรับเงิน ไม่ให้ผู้เข้าสอบถูกหลอกเหมือนอดีตที่ผ่านมา และต้องมีมาตรการที่จะกำกับดูแลการจัดสอบให้เป็นไปด้วยความสุจริตทุกขั้นตอนการสอบครั้งนี้ มีปัญหาตั้งแต่การคัดเลือกผู้ดำเนินการจัดสอบ เคยทำสัญญากับรายหนึ่งแล้วก็ยกเลิกไป ต่อมามีการคัดเลือกผู้จัดสอบใหม่ได้อีกรายหนึ่งมาเป็นผู้จัดสอบ ซึ่งการเกิดกรณีเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ จะต้องมีการพิจารณาให้ดีๆ ตั้งแต่เหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงว่าได้มีการวางมาตรการกำกับดูแลกันดีพอหรือยัง และขอเน้นย้ำว่า หากพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น ผู้เกี่ยวข้องทุกขั้นตอนต้องร่วมกันรับผิดชอบตามกฎหมายทั้งทางแพ่ง อาญา และโทษวินัย ตั้งแต่ผู้ดำเนินการให้มีการสอบ คือ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยผู้รับจ้างจัดการสอบ ผู้เข้าสอบ ผู้เรียกรับเงิน และผู้ประกาศผลสอบ“ท่าน รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ หากมีการทุจริต เท่ากับเป็นการตัดโอกาสทางราชการ จะได้รับคนดี มีความสามารถเข้าทำงาน และผู้มีส่วนร่วมกับการทุจริต เป็นขบวนการที่เอาเปรียบประชาชน ผู้สอบ และครอบครัว สำคัญที่สุดคือเป็นการทำลายศักดิ์ศรีข้าราชการ การเข้าสู่ตำแหน่งทุกตำแหน่ง ต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นกุญแจดอกแรกไขเข้ามา ไม่ใช่ใช้เงินมาซื้อตำแหน่ง ในยุคที่ผมเป็น รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ต้องไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง ใครทำ หากตรวจสอบพบ ต้องลงโทษสูงสุดเท่าที่กฎหมายกำหนด ไม่มีลดหย่อนผ่อนโทษ ไม่มีบรรเทาโทษ ไม่มีละเว้น ทุกคนที่ร่วมดำเนินการต้องรับโทษ ไม่มีเว้นผู้เข้าสอบที่พบว่ามีการทุจริต จะตัดสิทธิการสอบเข้ารับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยตลอดชีวิต หากเข้ามาแล้ว ต่อมาพบว่ามีการกระทำทุจริตการสอบ จะต้องยกเลิกผลการสอบ และต้องได้รับโทษ”รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ได้ให้นโยบายด้วยว่า การออกข้อสอบในปีนี้ ขอให้เป็นไปตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย คือต้องมีข้อสอบวัดความรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย จิตสำนึกความรัก ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เสริมสร้างความภาคภูมิใจที่เป็นคนไทย รักศักดิ์ศรีข้าราชการ อย่างน้อย ๓๐% ของข้อสอบ และจะต้องไม่รับผู้ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และเมาแล้วขับทุกกรณี เข้าสู่ราชการอย่างเด็ดขาดน.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ในการเปิดสอบข้าราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละปีจะมีผู้สมัครประมาณ ๖ แสนคน เข้าสอบประมาณ ๔ แสนคน มีการจัดสอบกระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีผู้ผ่านการสอบประมาณ ๑๘,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ คน แต่ล่าสุดได้มีประชาชนเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกับ รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ว่า ได้มีการเรียกรับผลประโยชน์จากการสอบ ประชาชนที่ต้องการให้ลูกหลานเข้ารับราชการต้องเสียเงิน ๕-๘ แสนบาท ซึ่งทำให้ประชาชนที่มีความสามารถเดือดร้อน ขณะที่ราชการก็เสียหาย“ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ประชาชน และผู้เข้าสอบท่านใดที่มีข้อมูล เบาะแสการเรียกรับเงิน การทุจริต ขอให้แจ้งมาที่เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย เพื่อป้องกันการทุจริต รักษาประโยชน์ทางราชการ และรักษาศักดิ์ศรีของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยอีกทางหนึ่งด้วย” น.ส.ไตรศุลี กล่าว