Thursday, 19 December 2024

“อรรถวิชช์” ชี้ ขยายเวลาฟังความเห็น ผังเมือง กทม.ไม่พอ ขอ “ชัชชาติ” มาฟังเอง

“อรรถวิชช์” ชี้ ขยายเวลารับฟังความเห็นผังเมืองรวม ไม่เพียงพอ เสนอทำผังเมืองเฉพาะ ฟังความเห็นรายเขต เรียกร้อง “ชัชชาติ” ผู้ว่าฯ กทม. เปิดศาลาว่าการ กทม. นั่งหัวโต๊ะ ฟังความเห็นด้วยตัวเองวันที่ ๑๐ ม.ค. ๒๕๖๗ ด็อกเตอร์อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต สส.กทม. กล่าวถึงการขยายเวลารับฟังความเห็นการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ว่า การขยายเวลาถึงสิ้นเดือน ก.พ. ๒๕๖๗ ไม่เพียงพอ โดยขอร้องให้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดศาลาว่าการ กทม. เป็นประธานรับฟังความเห็นประชาชนด้วยตนเอง ซึ่งขณะนี้มีประชาชนเดือดร้อนหลายพื้นที่ หลายเขต รวมตัวกันคัดค้านโครงการที่เกิดผลกระทบในพื้นที่ ตัวอย่างเช่น๑. กลุ่มเดือดร้อนจากโครงการตึกใหญ่ยัดเข้าในซอยแคบ เริ่มตั้งแต่ ซอยเกอเธ่, ซอยสุขุมวิท ๓๙, ๔๙, ๕๓, กลุ่มคนรักษ์พญาไท โซนพื้นที่ซอยราชครู-อารีย์สัมพันธ์, โซนพื้นที่ซอยลาดพร้าว ๑๘, รัชดา ๔๒, ๔๔ กลุ่มนี้ต้องทำผังเมืองเฉพาะ สงวนเป็นพื้นที่ห้ามสร้างตึกสูงในซอย จะได้ไม่ต้องนั่งเถียงกันว่า ถนน ๖ หรือ ๑๒ เมตรอีก น่าเห็นใจนะครับ เกือบทุกอาทิตย์ต้องเฝ้าระวังการทำ EIA ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์๒. กลุ่มเดือดร้อนจากการโดนเวนคืนถนนใหญ่ อยากนำเสนอเพิ่ม “ทางลัด” เช่น ในเขตจอมทอง โซนถนนราชพฤกษ์ เส้นทาง ฉ.๔ เชื่อมเพชรเกษม-สุขสวัสดิ์ เชื่อมวงแหวนใต้ โซนนี้ชาวบ้านจะถูกเวนคืนมากจริงๆ มีทางลัดหลายเส้นน่าจะทำให้ทะลุเชื่อมถนนใหญ่ เช่น ซอยเอกชัย ๓๐, ๓๓ และอื่นๆ อีกมากtt tt๓. กลุ่มที่อยู่อาศัยใกล้แนวรถไฟฟ้าใหม่ สายสีแดงเข้ม สายสีเหลือง เช่น ในเขตหลักสี่ ดอนเมือง เพิ่งมีรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม หากได้สร้างสะพานข้ามคลองเปรมประชากร เชื่อมกับสถานีทุ่งสองห้อง จะทำให้ประชาชนเดินทางเข้าเมืองได้สะดวกขึ้น๔. กลุ่มที่ต้องการบึงรับน้ำ ป้องกันน้ำท่วมในโซนกรุงเทพตะวันออก อย่างเขตคลองสามวา “บึงคู้บอน” ที่ผมไม่เห็นในผังเมืองใหม่ ทั้งๆ ที่ผ่านการรับฟังความเห็นจากประชาชนมาแล้ว๕. กลุ่มภาคีเครือข่ายที่ช่วยเหลือประชาชนในการขับเคลื่อน เช่น สภาองค์กรของผู้บริโภค เป็นต้นดร.อรรถวิชช์ ย้ำว่า การรับฟังความเห็นผังเมืองรวมไม่เพียงพอ ต้องจัดรับฟังความเห็นผังเมืองเฉพาะ แยกแต่ละเขต เพราะแต่ละที่ภาคประชาชนมีปัญหาต่างกัน การขยายเวลาเพียงสิ้นเดือน ก.พ. ไม่เพียงพอ และขอให้ผู้ว่าฯ กทม. รับฟังความเห็นด้วยตนเอง เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าปัญหาจะนำไปสู่การแก้ไข