Sunday, 19 January 2025

เปิดปมพฤติกรรม แรงจูงใจ หนุ่มฆ่าพ่อ-น้องสาว ยัดหีบเหล็กถ่วงน้ำ สยดสยอง

10 Jan 2024
151

ลูกชายจับพ่อและน้องสาวใส่หีบเหล็กถ่วงน้ำ แบบมีการวางแผนมาก่อน เป็นอาชญากรรมที่น่าตกตะลึงและน่าสยดสยองที่สุด เหตุการณ์การลงมือฆาตกรรมคนในครอบครัวเริ่มปรากฏมีให้เห็นมากขึ้นในสังคมไทย และเริ่มสร้างความตระหนกแก่ผู้คนมากขึ้นว่า เหตุใดมันจึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้ทำไมพี่น้องซึ่งเราสอนให้มีความรักช่วยเหลือเกื้อกูลกันในครอบครัว พ่อหรือแม่ ซึ่งจะต้องปกป้องลูกและดูแลอบรมสั่งสอนในสิ่งที่ดีงาม ส่วนลูกก็ถูกสอนให้เคารพเชื่อฟังช่วยเหลือพ่อแม่ มีบทบาทหน้าที่ ช่วยเหลือเกื้อกูล และสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัวกันตลอดมาในอดีต แต่เริ่มมีให้เห็นในเรื่องของการสังหารสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พี่น้อง เด็ก คู่สมรส อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเราเริ่มเห็นก็มักจะออกมาในรูปของผู้ก่อเหตุมักจะเป็นคนที่ติดยาเสพติดงอมแงม เมายา คลุ้มคลั่งและก่อเหตุโดยลืมตัว ขาดความยั้งคิด หรือยับยั้งชั่งใจ หรือการฆ่าที่ตายไปพร้อมกันทั้งครอบครัว หรือแม่ฆ่าลูกไปพร้อมกันที่ปรากฏเป็นข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ กระทั่งล่าสุดลูกชายจับพ่อและน้องสาวใส่หีบเหล็กถ่วงน้ำtt ttสังหารหมู่ในสหรัฐฯ มากกว่าครึ่งเกิดขึ้นในครอบครัวบุคคลที่ดูเหมือนคนทั่วไป อยู่ดีๆ ก็ฆ่าคนในครอบครัวและพี่น้องของพวกเขาอย่างโหดเหี้ยมและอธิบายไม่ได้ เราพบว่าเป็นการทำลายล้างครอบครัวนั้นน่ากลัวเกินไป และโหดร้ายเกินกว่าจะเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากอะไร มีอะไรจูงใจให้กระทำ เป็นคำถามที่สังคมตั้งข้อสงสัยอีกเช่นกัน “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล” อดีตประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เหตุการณ์เช่นนี้เป็นเหตุการณ์ที่มีเกิดขึ้นในต่างประเทศมาก่อนแล้วจำนวนไม่น้อย เป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับความสนใจในเชิงอาชญาวิทยาจำนวนไม่น้อยที่พยายามหาเหตุแรงจูงใจว่า ผู้ก่อเหตุนั้นมีเงื่อนไขหรือแรงจูงใจอะไรรุนแรงขนาดถึงกับได้ก่อเหตุในลักษณะเช่นนี้ ในต่างประเทศเหตุการณ์เช่นนี้ ช่วงระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๐๐ ถึง ค.ศ. ๒๐๐๐ มีเหยื่อของการสังหารหมู่ ๙๐๙ รายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งหมายถึงเหยื่อ ๔ รายภายในระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง และมากกว่าครึ่งเกิดขึ้นในครอบครัวเดียวกัน แม้ว่าคดีฆาตกรรมครอบครัวจะเกิดขึ้นค่อนข้างน้อย แต่ก็เป็นรูปแบบการสังหารหมู่ที่พบบ่อยที่สุด จะมีคำเรียกเฉพาะว่า “Familicide” หรือ “Family  annihilation” นักวิจัยที่เป็นผู้ศึกษาเหตุการณ์เช่นนี้และได้รับการนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ให้สาธารรณะรับรู้ คือศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์เดวิด วิลสัน และคณะ จากมหาวิทยาลัย Birmingham City University ใช้เวลาศึกษาลงลึก จนถึงขนาดมาจัดแบ่งประเภทและทำอนุกรมวิธาน (Taxonomy) ออกมา เช่น  Filicide เป็นการฆ่าเด็ก โดยพ่อแม่ของตนเอง Fratricide เป็นการฆ่าน้องชายของตน Infanticide เป็นการฆ่าเด็กของตนเองที่มีอายุไม่เกิน ๑๒ เดือนMariticide เป็นการฆ่าสามี คู่สมรสของตน Matricide เป็นการฆ่าแม่ของตน Patricide เป็นการฆ่าพ่อของตน Sororicide เป็นการฆ่าน้องสาวของตน และ Uxoricide การฆ่าภรรยาหรือคนสำคัญในบ้าน เป็นต้นtt tt๔ พฤติกรรมก่อเหตุ ต้องฆ่าให้ตาย เพื่อจบชีวิตศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์เดวิด วิลสัน ได้ศึกษาเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้จากผู้กระทำความผิดระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๘๐ ถึง ค.ศ. ๒๐๑๒ โดยศึกษาจาก Criminal Profiling หรือแฟ้มประวัติอาชญากรที่มีข้อมูลในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ อาชญาวิทยาและจิตวิทยาการประกอบอาชญากรรมหรือนิติจิตเวชศาสตร์ (Forensic Psychology) ประกอบนอกเหนือจากพฤติกรรมการก่อเหตุ เขาพบว่า สามารถแบ่งการฆาตกรรมแบบฆ่าครอบครัวออกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่กลุ่มแรก พวกที่ไม่มีความรักหรือยึดมั่นอะไรในครอบครัว หรือถือว่าครอบครัวเป็นแค่สัญลักษณ์ทางสังคมและเป็นสถานะที่ถูกจัดสรรให้อย่างหนึ่งที่เขาอาศัยอยู่ พวกนี้เรียกว่า “Anomic killer” ดังนั้นถ้าสมาชิกในครอบครัวใครทำตัวน่ารังเกียจผิดหวัง ก็ควรต้องยุติหรือจบชีวิตไป ซึ่งพวกนี้ในบ้านเราอาจเป็นพวกที่ชาวบ้านมักบ่นว่า “แค่อาศัยท้องแม่มาเกิด ประมาณนั้น” กลุ่มที่ ๒ พวกที่ไม่คิดว่าการฆ่าคนในครอบครัวเป็นสิ่งผิด เป็นพวกที่ลงมือฆ่าเพราะคิดเองว่า ถือว่าชอบธรรมในตนเอง ตนต้องทำอะไรในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น เมื่อสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวพังทลายลง เขามองว่ามันเป็นส่วนเกินต่อความต้องการ ผู้ก่อเหตุประเภทนี้มัก “ผิดหวัง” กับครอบครัว พยายามลงโทษครอบครัวที่ไม่ดำเนินชีวิตตามอุดมคติของชีวิตครอบครัว ฆาตกรที่ “ชอบธรรมในตัวเอง” หรืออาจทำลายล้างครอบครัวเพื่อแก้แค้นก็มีกลุ่มที่ ๓ เป็นพวกที่มีอาการจิตแบบหวาดระแวง กลุ่มนี้พวกผู้กระทำมักประสบกับภาวะซึมเศร้า ปัญหาทางจิต และการทำลายตนเอง บางครั้งพวกนี้ มักกล่าวอ้างว่า พวกเขารับรู้ถึงภัยคุกคามภายนอกต่อครอบครัว ในกรณีนี้แรงจูงใจอาจเป็นความปรารถนาที่บิดเบี้ยวที่จะปกป้องครอบครัว ฆาตกรประจำครอบครัวมักจะฆ่าสมาชิกแต่ละคนในครอบครัว บางครั้งรวมถึงสัตว์เลี้ยงในบ้านด้วย เป็นความเจ็บป่วยทางจิตประเภทหนึ่ง “พวกนี้คิดว่าเหตุผลโรคจิตและเห็นแก่ตัว เพื่อหาประโยชน์จากตนเองเพียงอย่างเดียว จากมุมมองนี้มองยาก หรือไม่มีสิ่งใดที่จะเข้าใจ หรือมีความสมเหตุสมผลได้ แต่มันก็น่าขนลุกและน่ากลัวที่สุดเช่นกัน เพราะพวกเขารู้ดีว่ากำลังทำอะไรอยู่”กลุ่มที่ ๔ เป็นพวกฆ่าเพราะเกียรติยศ กลุ่มนี้ไม่ได้มีการอธิบายให้รายละเอียดมากนัก แต่ในช่วงหลังมีนักวิจัยได้ศึกษามากขึ้นและจัดเป็นพวกที่ประสบกับความรุนแรงในครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง นักวิจัยชาวแคนาดาได้ตรวจสอบตัวอย่างคดีฆาตกรรมครอบครัวในวัยเยาว์ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๘๔ ถึง ค.ศ. ๒๐๐๐ โดยนำมาจากฐานข้อมูลของหน่วยพฤติกรรมศาสตร์ของ FBI พบว่า ๔๐% มีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวต่อครอบครัว และ ๔๗% ของผู้กระทำความผิด มีปัญหาการใช้สารเสพติดมายาวนาน มีผู้กระทำความผิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่มีประวัติป่วยทางจิต ดังนั้นในระยะหลังพบว่ามีการมุ่งเป้าไปที่ประเด็นเรื่องความรุนแรงในครอบครัวที่เรื้อรังtt ttแรงจูงใจฆาตกร ก่อเหตุปลิดชีพคนในครอบครัวในขณะที่การศึกษาก็ระบุ แรงจูงใจของฆาตกรที่ก่อเหตุสอดคล้องกันในแต่ละประเภท โดยหลักการแล้วจะสามารถแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม มีแรงจูงใจประเภทแรก พบว่าผู้ก่อเหตุมักมีความคิดว่าตัวเองกระทำลงไปด้วยความชอบธรรมหรือถูกต้อง (Self-Righteousness killer) เพื่อต้องการให้สิ่งที่สร้างความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานแก่ครอบครัวนั้นควรจะยุติลง เช่น การที่ครอบครัวมีลูกที่มีอาการเจ็บป่วยหรือพิการเรื้อรัง หรือเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ทางสมอง “มีจำนวนไม่น้อยอาจจะประสบปัญหาในชีวิต และเกิดความรู้สึกว่าเมื่อเขาต้องจากไปแล้วลูกอยู่ในสังคมอาจจะตกเป็นเหยื่อของสังคมที่เลวร้ายหรือจะต้องทุกข์ทรมาน ก็อาจจะมีการลงมือฆ่าหรือปลิดชีพ เพื่อยุติความเจ็บปวดปวดร้าวและความทุกข์ทรมานที่จะมีต่อไป อันอาจจะเกิดกับคนในครอบครัว ประเภทนี้มักจะจบลงด้วยการฆ่าตัวตายตามหรือฆ่าไปพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน”แรงจูงใจประเภทที่ ๒ มักเป็นการลงมือฆ่าสมาชิกในครอบครัว เพราะมักเกิดจากความผิดหวังในครอบครัว ซึ่งแรงจูงใจประเภทนี้อาจจะเกิดขึ้นจากการที่สมาชิกในครอบครัวได้รับรู้และเติบโตมาในครอบครัว มีการทะเลาะเบาะแว้ง เป็นครอบครัวแตกแยก (Broken Home) ครอบครัวที่ยากจนซ้ำซาก หรืออาจจะกล่าวรวมๆ ก็คือครอบครัวที่ถือว่าล่มสลาย ซึ่งไม่ได้มีเพียงแต่ปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจของครอบครัวเท่านั้น แต่การล่มสลายของครอบครัวมาจากการขาดบรรยากาศความรักความเอื้ออาทร การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในครอบครัว ไม่มีความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจหรือขาดสายใยความรักในครอบครัว และผู้ก่อเหตุมีทัศนคติที่มืดมนต่อการใช้ชีวิต จึงทำให้เกิดความผิดหวัง และประสบการณ์แบบนี้เกิดบ่อยๆ เรื้อรัง จนมีความรู้สึกว่าถึงเวลาที่จะต้องเป็นจุดเปลี่ยนอะไรในครอบครัว จึงลงมือฆ่าtt ttแรงจูงใจประการที่ ๓ ตามที่เดวิดและคณะ ได้ระบุไว้คือ พวกที่ผิดหวังในสมาชิกในครอบครัว เกิดจากการที่เห็นสมาชิกในครอบครัวสร้างความเดือดเนื้อร้อนรำคาญใจให้มาตลอด โดยในบางครอบครัวก็จะมีลูกประเภทที่เราเรียกว่าเป็น “ลูกแบบทำลายล้าง” หรือ “destructive Child” ซึ่งลูกประเภทนี้มักเกิดมาแล้วเป็นเด็กที่สร้างปัญหาให้ครอบครัวมาตลอด และพ่อแม่จะต้องตามไปแก้ไขตลอดเวลาที่ผ่านมา “แถมบางครั้งเอาคนในครอบครัวไปเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ พวกนี้มองว่า คงถึงเวลาที่จะต้องจบชีวิตคนที่สร้างปัญหาให้ครอบครัว หรือแม้จะเป็นสมาชิกในครอบครัวก็ตาม เรียกว่าตัดนิ้วร้าย เพื่อรักษาชีวิตครอบครัว ประมาณนั้น”แรงจูงใจประการที่ ๔ คือ อาการหวาดระแวง อาจเป็นการหวาดระแวงเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างคู่สมรส การหวาดระแวงว่าตนเองจะถูกทำร้ายหรือหวาดระแวงที่มาจากการใช้ยาเสพติด นอกจากนี้ยังมีแรงจูงใจเบื้องหลังมากกว่า เช่น ความโกรธหลงตัวเอง ความอิจฉาริษยา และความกลัวการละทิ้ง ฯลฯจากการวิจัยเกี่ยวกับผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ พบว่า ๘๔% ของผู้กระทำความผิดเป็นผู้ชาย สิ่งที่น่าสนใจคือพวกเขายังพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ๕๐% ของผู้กระทำความผิด มีสัญญาณล่วงหน้าว่าพวกเขาต้องการฆ่าคนในครอบครัว ๗๕% ของการฆาตกรรมในครอบครัวที่กระทำโดยผู้กระทำความผิดมีการวางแผน และ ๘๑% ของผู้กระทำความผิดเหล่านี้สารภาพว่ามีการฆาตกรรมเมื่อถูกสอบสวน ที่สำคัญพบว่า ผู้ก่อเหตุจะมีความรู้สึก “เป็นเจ้าของ” เหนือครอบครัว แม้ว่าพวกเขาจะมีแรงจูงใจที่แตกต่างกันในการฆาตกรรมก็ตาม ผู้กระทำผิดเชื่อว่าครอบครัวจะรับมือไม่ได้หรือได้ไม่ดีพอ หากยังมีชีวิตอยู่ และสำคัญกว่านั้น นักวิจัยทั้งหลายที่ศึกษาเรื่องการฆาตกรรมในครอบครัว พบว่า จะมีสัญญาณก่อนการก่อเหตุเสมอ.