Sunday, 19 January 2025

ส่องเศรษฐกิจไทย ๒๕๖๗ แจกเงินหมื่นดันจีดีพีโต

แม้ว่าในปีที่แล้วทั่วโลกจะเพิ่งผ่าน “วิกฤติโควิด-๑๙ กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวดีขึ้น” แต่ได้ไม่นานก็ต้องมาเจอสถานการณ์ “การสู้รบระหว่างอิสราเอล–กลุ่มฮามาส” ที่มีแนวโน้มขยายตัวใกล้เข้าสู่สงครามภูมิภาคตะวันออกกลาง และมีความเสี่ยงกระทบเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อโลกมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะกรณี “การลอบโจมตีเรือสินค้าแล่นผ่านทะเลแดง” จนบริษัทขนส่งรายใหญ่หลายแห่งเริ่มเลี่ยงเส้นทางผ่านทะเลแดง และหยุดเดินเรือชั่วคราว “จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต” แต่เรื่องนี้ก็ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปลายปี ๒๕๖๖ หดตัวลงเหลือ ๒.๕% จากที่เคยประเมินไว้ระดับ ๓-๓.๕%เรื่องนี้จะมีผลต่อเศรษฐกิจปี ๒๕๖๗ มากน้อยเพียงใดนั้น วิเชียร แก้วสมบัติ ผช.ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย วิเคราะห์ผ่านงานแถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจไทยปี ๒๕๖๖-๒๕๖๗ ว่าถ้าย้อนดูอัตราขยาย GDP ในปี ๒๕๖๖ ไตรมาส ๓ อยู่ที่ ๑.๙% จากเดิมที่ประเมินไว้เดือน กันยายนมีโอกาสขยายตัว ๓% แต่ด้วยระดับสินค้าคงคลังในระบบเศรษฐกิจติดลบเกือบ ๒ แสนล้านบาท ทำให้ฉุด GDP ลดลงกว่า ๑%tt ttสาเหตุคงคลังลดลงนั้นก็เพราะ “ภาคการผลิตไม่มั่นใจเศรษฐกิจ” ถ้าผลิตสินค้าใหม่มาจะขายได้หรือไม่ กลายเป็นการชะลอผลิตสินค้าออกเพิ่มโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม และนำสินค้าในสต๊อกเดิมออกมาขายแทน ทำให้สินค้าในสต๊อกเดิมลดลงแล้วไม่มีสินค้าใหม่มาสะสมที่จะนำออกไปขายกลายเป็นตัวฉุด GDP ลงมานี้ในส่วน “นักท่องเที่ยวตัวเลขสะสม ๒๘ ล้านคน” ผิดคาดจากที่ตั้งเป้าไว้ ๓๐ ล้านคน “สาเหตุเพราะนักท่องเที่ยวชาวจีนฟื้นตัวช้า” ทำให้ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ จำนวนนักท่องเที่ยวมากสุดคือ มาเลเซีย ๔.๔ ล้านคน จีน ๓.๔ ล้านคน จากตั้งเป้า ๕ ล้านคน เกาหลี ๑.๖ ล้านคน อินเดีย ๑.๕ ล้านคน รัสเซีย ๑.๔ ล้านคนนอกจากนี้ “แรงขับเคลื่อนทางการคลัง” มีแนวโน้มลดลงจากความล่าช้า “ออก พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๗” ต้องปรับลดประมาณการ GDP ทั้งการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของภาครัฐบาล และการลงทุนภาครัฐในส่วน “การนำเข้าสินค้ากลับมาเร่งตัว” จากไตรมาส ๓ ติดลบแต่เข้าไตรมาส ๔ แอ็กทีฟขึ้นเป็นผลติดลบน้อยลงปัจจุบันการนำเข้าเป็นบวก ๑๐% ขณะที่การใช้จ่ายของภาคเอกชนยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งในเรื่องการบริโภคและการลงทุน เช่นเดียวกับ “การส่งออกกลับมาขยายตัวดีขึ้น” เพราะในปี ๒๕๖๕ ไตรมาส ๔ มีฐานการส่งออกระดับค่อนข้างต่ำ ทำให้พลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้งมาตลอดในปี ๒๕๖๖ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประมาณการ GDP ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภาคเอกชน การส่งออก การลงทุนเพิ่มขึ้น “มีผลให้ GDP บวก ๑.๒๙%” ส่วนการสะสมสินค้าคงเหลือลดลง นักท่องเที่ยวลดลง การบริโภคการลงทุนของภาครัฐลดลง และนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น “ส่งผลต่อ GDP ติดลบ ๑.๗๘%” ผลกระทบสุทธิคงเป็นลบที่ ๐.๔๙%tt ttดังนั้นในปี ๒๕๖๖ “มีการปรับลดตัวคาดการณ์ GDP ลงมาเหลืออยู่ที่ ๒.๕% จากที่เคยประเมินไว้ ๓%” ทำให้เครื่องมือชี้วัดลดตามทั้งการบริโภครัฐบาลติดลบ ๔.๓% การลงทุนภาครัฐลบ ๐.๙% การนำเข้าสินค้าลบ ๒.๓% อัตราว่างงานดีขึ้น ๐.๙๘% อัตราเงินเฟ้อ ๑.๓% ลดจาก ๑.๘% สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จาก ๘๙.๕% เป็น ๘๙.๘%ทว่าถ้าหากมาดู “การประมาณการเศรษฐกิจมหภาคปี ๒๕๖๗” ปัจจัยสนับสนุนมักจะเป็นการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของภาคการท่องเที่ยวที่มีตัวเลขเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง การบริโภคของภาคเอกชนยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี หรือการลงทุนก็มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี และการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าอีกด้วยขณะเดียวกัน “อัตราเงินเฟ้อเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว” ที่จะส่งผลดีต่อการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการเงินอันจะช่วยผ่อนคลายได้ในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงมาตรการทางเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะมีโครงการต่างๆ ออกมาช่วยกระตุ้นทางด้านเศรษฐกิจในปีนี้อีกมากมายด้วยตอกย้ำข้อจำกัด “ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้” อย่างกรณีความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มขยายขอบเขตมากขึ้น เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน สู้รบกันมา ๒ ปีแล้ว ความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน ก็ยังไม่มีข้อยุติ หรือการสู้รบของอิสราเอล-กลุ่มฮามาส ที่มีโอกาสพัฒนาเป็นสงครามภูมิภาคตะวันออกกลางได้เสมอเช่นเดียวกับ “การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน” ก็ยังค่อนข้างมีข้อจำกัดอันเนื่องจากปัญหาโครงสร้างหนี้สินภาคอสังหาริมทรัพย์ หาทางแก้ไม่ได้ ทำให้กลุ่มนักธุรกิจด้านนี้ล้มละลาย และกำลังจะล้มละลายอยู่อีกมากสิ่งนี้จะเป็นตัวฉุดรั้งการบริโภคในประเทศจีนลดลง และส่งผลให้ออกมาท่องเที่ยวไทยน้อยกว่าที่ตั้งเป้าไว้ตามมาtt ttนอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงในประเทศ “มักมาจากปัญหาภัยแล้ง” ในปีนี้มีแนวโน้มค่อนข้างรุนแรงมากกว่าปีก่อน สิ่งเหล่านี้ล้วนจะเป็นอุปสรรคสำคัญอันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในปี ๒๕๖๗ย้อนกลับมาดู “การประมาณการเศรษฐกิจมหภาค” ถ้าประมาณปริมาณการค้าโลกในปี ๒๕๖๗ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ๓.๕% แต่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวเหลือ ๓% นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้น ๓๕ ล้านคน และรายจ่ายสาธารณะเดิมอยู่ที่ ๓.๙๘% จะเพิ่มขึ้นเป็น ๔.๑๓% ราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ ๘๕ ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรลอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯจะลดลง ๔.๗๕-๕.๕๐% แต่ดอกเบี้ยไทยจะอยู่ที่ ๒.๐๐-๒.๕๐% เหตุนี้ทำให้ “สามารถประมาณการ GDP ด้านรายจ่ายในปี ๒๕๖๗ อยู่ที่ ๓.๒%” ปรับขึ้นจากปี ๒๕๖๖ อยู่ที่ ๒.๕% เพราะการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ๓.๔% การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น ๓.๐% เดิมเคยติดลบ ๐.๙% การนำเข้าสินค้า ๓.๘%อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ไม่รวมผลของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต) ๒.๐% อัตราการว่างงาน ๐.๙% สัดส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนต่อ GDP ลดลงจากปีที่แล้ว ๘๙.๘% คงเหลือ ๘๗.๘%สำหรับปัจจัยผลักดัน “การขยายตัว” มีตั้งแต่การสะสมสินค้าคงเหลือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การส่งออกสินค้า การบริโภคภาคเอกชน การเพิ่มของนักท่องเที่ยว แต่ตัวฉุดรั้งยังเป็นการนำเข้าสินค้าที่สูงขึ้น ฉะนั้นครึ่งปีแรก “GDP จะขยายตัวได้ ๓.๓%” (ยังไม่รวมผลของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต) ส่วนครึ่งปีหลังนั้น “GDP จะขยาย ๓.๑%”tt tttt tttt ttนอกจากนี้ “โครงการ Easy E–Receipt ๒๕๖๗” เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.-๑๕ ก.พ. ประชาชนซื้อสินค้าหักลดหย่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม “กระตุ้นการใช้จ่ายราว ๒.๑ หมื่นล้านบาท” ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยประมาณ ๖.๒ หมื่นล้านบาท ตรงนี้จะมีผลเพิ่มตัวเลข GDP ประมาณ ๒.๙ หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น ๐.๑๖%หากวิเคราะห์สถานการณ์ในปี ๒๕๖๗ “โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ๑ หมื่นบาท” ที่คาดว่าจะเริ่มต้นได้เดือน พ.ค-มิถุนายนนี้ “ผู้รับสิทธิ์มี ๕๐ ล้านคนใช้งบประมาณ ๕ แสนล้านบาท” แต่ก็อาจมีผู้ไม่เข้าร่วม ๑๐% ในจำนวนนี้ ๘๐% จะใช้จ่ายครบตามสิทธิ์มีเงินเข้าระบบ ๔ แสนล้านบาท “ผลักดัน GDP โตขึ้น ๑%” จากฐานเดิม ๓.๒% ปรับไป ๔.๒%กรณีดีที่สุดคือผู้รับสิทธิ์ทุกคนใช้เงินตามสิทธิ์ครบในเวลากำหนด ทำให้มีการใช้เงิน ๕ แสนล้านบาท เข้าระบบดัน GDP เพิ่มขึ้น ๔.๕% แต่กรณีแย่สุด “สงครามอิสราเอล–ฮามาสยืดเยื้อ” ทำให้เศรษฐกิจโลกซึมตัวลงโดยเฉพาะวิกฤติทะเลแดงมีผลกดดันการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดยุโรป และอังกฤษ รวมถึงการนำเข้าน้ำมันดิบสูงขึ้นทั้งมีเรือขนส่งสินค้าผ่านทะเลแดง ๑๒% ของโลก ตู้คอนเทนเนอร์ ๓๐% จากทั้งโลก ถ้าเรือเลี่ยงเส้นทางทะเลแดงไปอ้อมแหลมกู๊ดโฮปแทนต้องเพิ่มระยะทาง ๔๐% จากเส้นทางเดิม เรื่องนี้จะกระทบต่อการค้าโลกแน่นอนหากสถานการณ์ไม่สงบ แม้สหรัฐฯจะจัดตั้งหน่วยปกป้องเรือสินค้าแต่ก็มีบริษัทเรือหลายแห่งไม่มั่นใจหยุดเดินเรือชั่วคราวกรณีนี้จะส่งผลต่อ GDP ของไทยลดลงจากฐาน ๓.๒% คงเหลืออยู่ที่ ๒.๒% สิ่งนี้เป็นตัวอย่างเท่านั้นนี่คือ “การประมาณการ GDP ไทย” หักปากกาเซียนมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๖ ที่คาดว่าจะขยายตัว ๓.๕% “ด้วยสงครามอิสราเอล–ฮามาส” มีผลต่อการส่งออกซึมตัวกระทบเศรษฐกิจไทยหดลงเหลือ ๒.๕% ดังนั้นในปี ๒๕๖๗ “ต้องลุ้นโครงการดิจิทัลวอลเล็ต” ถ้าเกิดขึ้นได้จริงจะมีส่วนดัน GDP โตเพิ่มขึ้น ๑–๑.๓%ได้อีก…คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม