ในช่วง ๒–๓ ทศวรรษที่ผ่านมา การสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์และยานอวกาศไปที่ดาวเคราะห์เพื่อนบ้านในระบบสุริยะของเราอย่างละเอียด ทำให้ได้เห็นว่าบรรยากาศปั่นป่วนของพวกมันไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับสภาพอากาศบนโลก นักดาราศาสตร์มองว่าความแปรปรวนนี้ก็น่าจะเกิดขึ้นกับดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นเช่นกันเมื่อเร็วๆนี้มีทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ เผยว่า จากการรวมข้อสังเกตหลายปีจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เครื่องมือขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา และองค์การอวกาศยุโรป เข้ากับการสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้พบหลักฐานของพายุไซโคลนขนาดใหญ่และกิจกรรมการเคลื่อนที่อื่นๆของสภาพอากาศที่หมุนวนบนดาวเคราะห์นอกระบบขนาดพอๆกับดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างออกไป ๘๘๐ ปีแสง ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่า WASP-๑๒๑ b เป็นดาวที่ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ โดยกล้องฮับเบิลถ่ายไว้ในปี พ.ศ.๒๕๕๙, ๒๕๖๑ และ ๒๕๖๒นักดาราศาสตร์พบว่า WASP-๑๒๑b มีชั้นบรรยากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันโคจรใกล้ดาวฤกษ์แม่มากจนมีคาบโคจรเพียง ๑.๒๗ วัน ความใกล้ชิดนี้ชี้ว่าดาวเคราะห์ถูกล็อกด้วยแรงไทดัล (Tidal Locking) ดาวจะหันฝั่งเดียวเข้าหาดาวฤกษ์แม่ตลอดเวลา ในลักษณะเดียวกับที่ดวงจันทร์บริวารของโลก ที่เมื่อมองจากโลกเราก็ได้เห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียว ขณะที่อุณหภูมิของ WASP-๑๒๑b ในเวลากลางวันเข้าใกล้ ๓,๔๕๐ องศาฟาเรนไฮต์ ในด้านที่หันหน้าเข้าหาดาวฤกษ์.Credit : NASA, ESA, Quentin Changeat (ESA/STScI), Mahdi Zamani (ESA/Hubble)อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่