Tuesday, 24 September 2024

หมอเตือนปี ๖๗ เจอ ๓ โรคระบาด โควิด-หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก ให้ระวังอีกเพียบ

11 Jan 2024
121

ปี ๖๗ มีโรคระบาดเกิด ๓ โรค ทั้งโควิด-๑๙ ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก พร้อมเฝ้าระวัง ๑๒ โรคอันตราย อาทิ โรคมือเท้าปากที่อาจพบในเด็กกว่า ๖ หมื่นคน โรคชิคุนกุนยาที่คาดว่าจะมีสถิติผู้ป่วยสูงขึ้นในปีนี้ และโรควัณโรคที่คาดว่าพบผู้ป่วยถึงกว่า ๘ หมื่นคน เผยออกมาคาดการณ์เพื่อเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมยา เวชภัณฑ์การไม่เจ็บป่วยหรือไม่มีโรคภัยไข้เจ็บกัดกร่อน ร่างกายถือเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ปัจจุบันมีโรคต่างๆ อุบัติขึ้นใหม่มากมาย ส่วนหนึ่งถือเป็นภัยเงียบด้านสุขภาพที่ทุกคนควรระวัง เมื่อวันที่ ๑๐ ม.ค. นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวอนาคต ประเทศไทยโรคและภัยสุขภาพประชาชน ปี ๒๕๖๗ ว่า กรมคาดการณ์สถานการณ์ปี ๒๕๖๗ มีโรคที่จะ ระบาด ๓ โรค ได้แก่ โรคโควิด-๑๙ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก และโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ๑๒ โรค ได้แก่ ๑.โรคมือเท้าปาก ๒.โรคหัด ๓.โรคฝีดาษวานร ๔.โรคไข้ดิน ๕.โรคฉี่หนู ๖.โรคไข้หูดับ ๗.โรคไวรัสซิกา ๘.โรคชิคุนกุนยา ๙.โรคซิฟิลิส ๑๐.โรคหนองใน ๑๑.โรคเอชไอวี/เอดส์ ๑๒.โรควัณโรคนพ.ธงชัยกล่าวต่อว่า โรคระบาดมี ๓ โรค ได้แก่ ๑.โรคโควิด-๑๙ ปัจจุบันเป็นโรคประจำถิ่น ปี ๒๕๖๖ พบผู้ป่วย ๖๕๒,๘๖๘ คน รักษาตัวในโรงพยาบาล ๓๘,๔๕๗ คน เสียชีวิต ๘๔๘ คน ปี ๒๕๖๗ คาดพบผู้ป่วย ๖๔๙,๕๒๐ คน นอนโรงพยาบาล ๓๘,๖๗๒ คน เสียชีวิต ๘๕๒ คน สายพันธุ์ที่พบยังเป็นสายพันธุ์โอมิครอน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่ม ๖๐๘ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง บุคคลทั่วไปฉีดตาม ความสมัครใจ กระทรวงสาธารณสุขให้บริการฟรี โรคที่ ๒ คือโรคไข้หวัดใหญ่ คาดปีนี้จะพบผู้ป่วย ๓๔๖,๑๑๐ คน เริ่มระบาดเดือน พ.ค. ป้องกันโดยฉีด วัคซีนปีละ ๑ ครั้ง ๓.โรคไข้เลือดออก คาดพบผู้ป่วย ๒๗๖,๙๔๕ คน เสียชีวิต ๒๘๐ คน ถ้าไม่กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย จะพบผู้ป่วยมากกว่าปี ๒๕๖๖ เริ่มระบาดเดือน พ.ค. ปัจจุบันไข้เลือดออกเป็นโรคที่พบได้ในทุกกลุ่มอายุ จะเป็นอันตรายมากกับวัยผู้ใหญ่ ป้องกันได้โดยการทายากันยุง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรอบบ้าน ที่สำคัญควรทายากันยุงในผู้ป่วยไข้เลือดออก เพื่อป้องกันยุงกัดและนำเชื้อไปติดต่อผู้อื่น สำหรับวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ในไทยได้รับการรับรอง จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ๒ ยี่ห้อ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนต่อคนไทย เพื่อนำเสนอต่อกระทรวงใช้ในวงกว้างต่อไปนพ.ธงชัยกล่าวอีกว่า ส่วน ๑๒ โรค ที่ต้องเฝ้า ระวังนั้น ได้แก่ ๑.โรคมือเท้าปาก คาดว่าส่วนใหญ่พบ ในเด็ก ๖๑,๔๗๐ คน แนะนำให้ล้างมือบ่อยๆ ๒.โรคหัด คาดว่า พบ ๑,๐๘๙ คน และอาจสูงกว่าปีก่อนแนะนำ ให้นำบุตรหลานเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคหัดให้ครบ ๒ เข็ม ๓.โรคฝีดาษวานร คาดว่าพบ ๓๙๔ คน โรคนี้ เป็นโรคใหม่ในไทย แม้จำนวนผู้ป่วยจะไม่มากแต่ต้อง เฝ้าระวัง ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกลุ่มชายรักชาย คนทั่วไปติดเชื้อได้หากสัมผัสสารคัดหลั่งและไม่ค่อยมีผู้เสียชีวิต แต่ผู้เสียชีวิตส่วนมากจะเป็นกลุ่มโรคเอดส์ ที่ไม่ได้กินยาต้านไวรัสต่อเนื่องกับมีโรคอื่นแทรกซ้อน ๔.โรคไข้ดิน คาดว่าพบ ๓,๔๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร แนะนำให้สวมรองเท้า ถุงมือยาง เมื่อต้อง สัมผัสดิน ๕.โรคฉี่หนู คาดว่าพบ ๒,๘๐๐ คน ส่วนใหญ่ ระบาดในพื้นที่น้ำขัง แนะนำให้สวมรองเท้า ถุงมือยาง เมื่อต้องย่ำน้ำลุยโคลน ๖.โรคไข้หูดับ คาดพบ ๔๓๒ คน ปีก่อนมีผู้เสียชีวิต ๒๙ คน ป้องกันโดยการกินหมูสุก และซื้อจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการกินหมูดิบ ลาบเลือด ส่วนการกินหมูกระทะ ถือว่าปลอดภัยเพราะ กินหมูสุก ปัจจุบันพบคนไทยนิยมกินของดิบมากขึ้น เช่น หมึกช็อต ก็น่าห่วงว่าจะมากินหมูช็อต จะเป็น อันตรายต่อสุขภาพได้อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ๗.โรคไวรัส ซิกา ปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วย ๗๕๘ คน หญิงตั้งครรภ์ ๔๑ คน ทารกศีรษะเล็ก ๑๓ คน โรคนี้เป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ที่จะมีผลต่อทารกในครรภ์ ๘.โรคชิคุนกุนยา ปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วย ๑,๓๘๙ คน ปีนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น ป้องกันด้วยการทายากันยุง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ๙.โรคซิฟิลิส คาดว่ามีจำนวน ๑๗,๒๗๓ คน พบในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น จึงต้องเร่งรณรงค์ให้เยาวชนสวมถุงยางอนามัย และเชื้อยังเป็น อันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ เพราะเชื้อถ่ายทอดสู่ลูกได้ ๑๐.โรคหนองใน คาดพบผู้ป่วย ๗,๒๕๔ คน มีแนวโน้มลดลง แต่ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศใช้ถุงยางทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ๑๑.โรคเอชไอวี/ เอดส์ คาดพบรายใหม่ ๙,๓๖๖ คน เสียชีวิต ๑๐,๐๑๔ คน ป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยลดการแพร่ระบาดได้ ๑๒.โรควัณโรค คาดพบ ๘๒,๗๕๙ คน ผู้ที่มีอาการไอติดต่อกันเกิน ๒ สัปดาห์ ไอมีเสมหะปนเลือด น้ำหนักลด ควรรีบพบแพทย์ การคาดการณ์โรคเพื่อให้เห็นแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้น จะได้เตรียมรับมือ แจ้งให้ประชาชนทราบและเตรียมตัว ป้องกัน ขณะที่กรมและกระทรวงสาธารณสุข เตรียมยา เตียง เวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อดูแลกรณีที่เกิดการระบาด ของโรคต่างๆ พร้อมทั้งเฝ้าระวังโรคทุกช่องทางอย่าง ต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนไทยมีสุขภาพที่ดีอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่