Thursday, 19 December 2024

เตรียมชง คณะรัฐมนตรีไฟเขียว "การไหว้" เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ

“สมศักดิ์” ประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เห็นชอบ “การไหว้” เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ หลังแพร่หลายไปทั่วโลก ผู้นำต่างชาติหันมาไหว้แทนเพื่อลดการสัมผัส เชื่อการประกาศเอกลักษณ์ จะยึดโยงความเป็นไทยให้ได้นานที่สุด พร้อมช่วยส่งเสริมด้านต่างๆเมื่อวันที่ ๑๑ ม.ค. ๖๗ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ โดยมี นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ และคณะกรรมการฯ เข้าร่วมประชุมtt ttโดย นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้การไหว้ เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ประเภทการทักทายและการแสดงความเคารพแบบไทย เนื่องจากการไหว้เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรม ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทย ซึ่งเราต่างคุ้นเคยและประพฤติอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน โดยแม้การไหว้จะเป็นสิ่งที่ประเทศไทย และประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมาจากอินเดีย ผ่านทางคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ ที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตั้งแต่สมัยทวารวดี แต่ประเทศไทยก็ได้นำมาปรับและพัฒนา จนมีความหลากหลาย ความลุ่มลึก และความหมายในการแสดงออก ที่ทำให้แตกต่างกับประเทศอื่นๆนายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันการไหว้แบบไทยได้เป็นแบบแผนปฏิบัติในการทักทายที่แพร่หลาย และเป็นสากลมากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ทำให้บรรดาผู้นำชาติต่างๆ หันมาทักทายและทำความเคารพด้วยการไหว้ เพื่อเป็นการลดการสัมผัส ซึ่งทำให้การไหว้ได้กระจายไปทั่วโลกแล้ว โดยตนมีความยินดีและขอชื่นชมที่ผลักดันการไหว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพราะจะทำให้เกิดการส่งเสริมในด้านต่างๆ อีกจำนวนมาก อย่างในอดีตที่มีการประกาศ ช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติ ก็ทำให้เกิดการท่องเที่ยว รวมถึงมีการทำหนังแอนิเมชันเกี่ยวกับช้าง จนได้รับความสนใจจากต่างประเทศ ดังนั้น การไหว้ที่แสดงถึงการให้เกียรติและนอบน้อม ภายหลังประกาศเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ก็จะเป็นการช่วยส่งเสริมด้านต่างๆ ให้กับประเทศไทยต่อไปtt tt”ผมเคยไปบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีการแกะสลักประวัติพระพุทธเจ้า บนภูเขาทั้งลูก เมื่อ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงออกถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา แต่ปัจจุบันบริเวณนั้นกลายเป็นศาสนาอื่นไปหมดแล้ว จึงถือว่าเป็นพัฒนาการของมนุษย์ ที่ขนาดสร้างไว้อย่างยิ่งใหญ่ แต่ยังไม่สามารถยึดผู้คนไว้ได้ ดังนั้น การสร้างเอกลักษณ์อย่างการไหว้ จะช่วยทำให้ยึดโยงความเป็นไทยให้ได้นานที่สุด ซึ่งผมขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่ช่วยกันผลักดัน โดยจากนี้ก็จะนำมติที่ประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณากำหนดให้การไหว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติต่อไป” รองนายกรัฐมนตรี กล่าว