Thursday, 19 December 2024

แจ้งเกิด..กุ้งขาว ๒ พันธุ์ใหม่ เพชรดา ๑ โตดี และ ศรีดา ๑ ต้านโรค

นับแต่ปี ๒๕๕๕ การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยประสบวิกฤติการระบาดของโรคตายด่วน หรือ EMS-AHPND สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยตลอดห่วงโซ่การผลิตกรมประมงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สวก. ดำเนินการโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “การสร้างประชากรพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวปลอดโรคและโตดีเพื่อการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” เพื่อพัฒนาสายพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไมให้มีคุณภาพด้วยเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์tt tttt ttจนประสบผลสำเร็จ และได้กุ้งขาวแวนนาไม ๒ สายพันธุ์ใหม่ คือ “เพชรดา ๑” มีลักษณะเด่นด้านการเจริญเติบโตดี และ “ศรีดา ๑” เด่นในด้านการต้านทานโรค EMS-AHPND“การวิจัยปรับปรุงพันธุ์ครั้งนี้ ได้นำประชากรกุ้งขาวแวนนาไมสายพันธุ์จากต่างประเทศและในประเทศ มาประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอไมโครแซทเทลไลท์ ๘ ตำแหน่ง และตรวจสอบการปลอดจากเชื้อก่อโรค ๘ โรค คือ โรคตัวแดงดวงขาว (WSSV) โรคทอร่าซินโดรม (TSV) โรคหัวเหลือง (YHV) โรคแคระแกร็น (IHHNV) โรคกล้ามเนื้อขาวหรือกล้ามเนื้อตาย (IMNV) โรคไวรอลโคเวร์ทมอร์ทาลิตี้ (CMNV) โรคอีเอชพี (EHP) และโรคเอเอชพีเอ็นดี (AHPND) หรือโรคตายด่วน (EMS-AHPND) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio para haemolyticus ปรากฏว่า กุ้งขาวที่ได้จากแหล่งภายในประเทศเหมาะสมที่สุด”tt ttนายคงภพ อำพลศักดิ์tt ttนายคงภพ อำพลศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง เผยอีกว่า จากนั้นจึงดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการคัดเลือก (selective breeding) อีก ๖ รุ่น/ชั่วอายุ (generations) โดยเป็นการดำเนินการบนพื้นฐานวิธีแบบมาตรฐานเดิม ร่วมกับการพัฒนาและประยุกต์ใช้เครื่องหมายโมเลกุล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในกระบวนการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ จนสามารถพัฒนาสายพันธุ์ได้ประชากรพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวปลอดโรค ๒ สายพันธุ์ดังกล่าวสำหรับสายพันธุ์โตดี “เพชรดา ๑” ทำการปรับปรุงพันธุ์และดำรงรักษาสายพันธุ์ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี ผลการเลี้ยงทดสอบการเจริญเติบโตในบ่อผ้าใบภายนอกอาคาร และการเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ภายในอาคารปรับปรุงพันธุ์ พบว่า การเลี้ยงทั้ง ๒ แบบแสดงการเจริญเติบโตสูงขึ้นจากรุ่น P๐ ถึงรุ่น F๖นอกจากนี้ การทดสอบการเจริญเติบโตโดยการเลี้ยงเปรียบเทียบกับพันธุ์กุ้งจากแหล่งอื่น ทั้งในฟาร์มเกษตรกรและในศูนย์ พบว่า “เพชรดา ๑” มีค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตสูงกว่าพันธุ์กุ้งแหล่งอื่นที่นำมาเปรียบเทียบtt ttและจากการเลี้ยงกุ้งรุ่น F๖ ในบ่อผ้าใบความจุ ๒๕ ลูกบาศก์เมตร พบว่า ผลการเจริญเติบโตกุ้งมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ๐.๔๖ กรัม/วัน น้ำหนักเฉลี่ย ๔๓.๗๖ กรัม/ตัว และมีอัตรารอดตายเฉลี่ย ๙๑%ส่วนสายพันธุ์ต้านโรค EMS–AHPND “ศรีดา ๑” ทำการปรับปรุงพันธุ์และดำรงรักษาสายพันธุ์ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำนคร ศรีธรรมราช จากผลการทดสอบความต้านทานเชื้อก่อโรค EMS– AHPND พบว่า ค่าเฉลี่ยอัตรารอดตาย จาก ๓๗.๕๑±๑๒.๒๔% ในรุ่น P๐ เพิ่มสูงขึ้นเป็น ๖๓.๕๙±๓๓.๓๖% ในรุ่น F๖โดยผลการทดสอบความต้านทานเชื้อก่อโรค EMS-AHPND ในรุ่น F๔, F๕ และ F๖ เปรียบเทียบกับกุ้งจากแหล่งพันธุ์อื่น พบว่า กุ้งทุกรุ่นมีอัตรารอดตายเฉลี่ยไม่แตกต่างกับทุกแหล่งพันธุ์ที่นำมาเปรียบเทียบtt ttอย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบกุ้งสายพันธุ์ต้านโรค EMS-AHPND “ศรีดา ๑” ในรุ่น F๖ ได้แสดงถึงความสามารถในการต้านเชื้อก่อโรค EMS-AHPND ของกุ้งกลุ่มคัดเลือกรุ่นล่าสุดว่ามีเพิ่มสูงขึ้นมากกว่ากุ้งกลุ่มควบคุมในรุ่นเดียวกันและกุ้งจากแหล่งพันธุ์เอกชนบางแหล่งขณะนี้กุ้งขาวแวนนาไมทั้ง ๒ สายพันธุ์ ยังอยู่ในระยะการวิจัยเพื่อต่อยอดเพิ่มเติม โดยกรมประมงจะได้นำกุ้งขาวที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์จากโครงการ มาทำการทดสอบในเชิงพาณิชย์ ทั้งในด้านการใช้พ่อแม่พันธุ์ การเพาะฟักและอนุบาล รวมถึงการนำไปเลี้ยงให้ได้ขนาดที่ตลาดต้องการในบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรที่มีรูปแบบและสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการนำกุ้งขาวทั้ง ๒ สายพันธุ์ ไปเลี้ยงให้เกิดผลผลิตที่ดี มีคุณภาพต่อไป.ชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม