Thursday, 19 September 2024

“ดีเดย์ คอบร้าโกลด์ ๒๔” ยกพลขึ้นบก ๒๗ ก.พ. เน้นฝึกสงคราม “ไซเบอร์-อวกาศ”

14 Jan 2024
80

“จิรายุ” เผย ดีเดย์ “คอบร้าโกดล์ ๒๐๒๔” ยกพลขึ้นบก ฝึกร่วม “ไทย-สหรัฐฯ” ๒๗ ก.พ. “บิ๊กทิน” มั่นใจ เน้น สู้สงครามไซเบอร์และอวกาศ พร้อมส่ง วัฒนธรรมไทย ซอฟต์พาวเวอร์ มวยไทย ให้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึก tt ttวันที่ ๑๔ ม.ค. นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกกระทรวงกลาโหมฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายให้ต้อนรับคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (JUSMAG ) นายคริสโตเฟอร์ เฮลม์แคมป์ โฆษกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พันโทอลัน โอลิเวอร์ เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน จัสแมกไทยกองทัพบกสหรัฐฯ นางสาวแชนนา คัมมิงส์ เลขานุการเอกหัวหน้าหน่วยกิจการทางการเมือง-การทหารฯ พร้อมคณะ เพื่อหารือในการเตรียมความพร้อม ในการสื่อสารทำความเข้าใจให้กับประชาชนในการจัดฝึกประจำปีของกองทัพ ไทย-สหรัฐฯ หรือ “คอบร้าโกลด์ ๒๐๒๔” ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ นี้ ในพื้นที่กองทัพเรือจังหวัดชลบุรี-ระยอง และจังหวัดอื่นๆ ตามที่กองทัพกำหนด ทั้งนี้ การฝึกคอบร้าโกลด์ ปี ๒๐๒๔ ในเดือนหน้านี้ จะมีการฝึกเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการบรรเทาสาธารณภัยเพื่อเตรียมรับมือหากเกิดภัยธรรมชาติในภูมิภาค และจะเน้นการฝึกต่อต้านภัยคุกคามด้านสงครามไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาไปทั่วโลก ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของแต่ละประเทศtt ttนายจิรายุ กล่าวต่อไปว่า การฝึกคอบร้าโกลด์ ๒๔ ในครั้งนี้ จะมีการฝึกด้านอวกาศ เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบจากปรากฏการณ์ทางอวกาศ ที่มีผลต่อการปฏิบัติการทางทหารในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระทรวงกลาโหมมีกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศ และศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศของกองทัพอากาศ ในการฝึกร่วมในครั้งนี้tt tt“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ด็อกเตอร์สุทิน คลังแสง ได้ให้แนวทางในการฝึกครั้งนี้ไว้ว่า นอกจากการฝึกทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ในรูปแบบต่างๆ แล้ว ในส่วนของไทยจะผลักดันในเรื่องการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (ซอฟต์พาวเวอร์) แทรกเข้าไปในการฝึก เช่น ยุทธวิธีการต่อสู้ด้วยมวยไทย และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ในการฝึกยุคใหม่ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล เข้าไปอยู่ในส่วนหนึ่งกิจกรรมการฝึก คอบร้าโกลด์ ๒๐๒๔ อีกด้วย ซึ่งปีนี้ประเทศไทยจะได้อะไรมากกว่าเดิมเยอะ” นายจิรายุ กล่าวtt ttข้อมูล คอบร้าโกลด์ พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาhttps://ipdefenseforum.com/th/๒๐๒๓/๐๒/การฝึกคอบร้าโกลด์ พ.ศ. ๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ที่ผ่านมานี้ มีบุคลากรทางทหารประมาณ ๖,๕๐๐ นาย จาก ๓๐ ประเทศเข้าร่วมฝึกและสังเกตการณ์ โดยการฝึกกลับไปมีขนาดเทียบเท่ากับก่อนเกิดโรคระบาดโควิด เมื่อปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ โดยการฝึกได้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นร่วมกันที่มีต่ออินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง “เรากลับไปดำเนินการฝึก ‘คอบร้าโกลด์แบบเดิม’ อย่างแน่นอน” พ.อ.เคิร์ต เลฟฟ์เลอร์ ผู้ช่วยทูตฝ่ายกลาโหมสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาทางทหารร่วมสหรัฐฯ กล่าวระหว่างงานแถลงข่าว ณ กองบัญชาการกองทัพไทยtt ttการฝึกคอบร้าโกลด์ครั้งที่ ๔๒ ในปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมานั้น ไทยและสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพเป็นประจำทุกปี ถือเป็นหนึ่งในการฝึกทางทหารพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดและดำเนินการมาอย่างยาวนานที่สุดในโลก การฝึกซ้อม พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาประกอบด้วยการฝึกภาคสนามและการฝึกสั่งการ ประสานงาน รวมทั้งการบัญชาการในสงครามไซเบอร์ และการฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการรับมือภัยพิบัติ ตลอดจนโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ในไทย มีรายงานว่า มีทหารจากอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เข้าร่วมฝึกหรือ สังเกตการณ์ อาทิ ประเทศออสเตรเลียและอินเดีย อีกด้วย คอบร้าโกลด์ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ถูกลดขนาดลง เนื่องจากโรคระบาด ประกอบด้วยทหารไทย ๑,๙๕๓ นาย และบุคลากรสหรัฐฯ ๑,๒๙๖ นาย พร้อมด้วยทหาร ๕๐ นายจากสิงคโปร์, ๔๑ นายจากเกาหลีใต้, ๓๖ นายจากมาเลเซีย, ๓๕ นายจากญี่ปุ่น และ ๑๖ นายจากอินโดนีเซีย ตลอดจนผู้สังเกตการณ์ ๑๘ นายจากออสเตรเลีย และอีก ๕ คนจากอินเดีย ตามรายงานของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์