Thursday, 19 December 2024

กระทุ้ง ธปท.ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ

ความไม่ลงรอยระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีไม่บ่อยครั้งนัก จะปรากฏชัดเมื่อความคิดเห็นขัดแย้งกันจนถึง ขั้นเป็นอุปสรรคต่อการบริหารเศรษฐกิจ ยิ่งถ้าเป็นยุคที่นายกรัฐมนตรีกับ รัฐมนตรีว่าการคลังมาจากภาคธุรกิจ มีพื้นฐานความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ก็จะไม่ชอบใจที่ผู้ว่าการ ธปท.คอยขัดแข้งขัดขาหลายครั้งที่ความเป็นอิสระและการยึดมั่นในหลักการของ ธปท. ช่วยกระตุกให้รัฐบาลไม่ทำอะไรผิดพลาดนอกลู่นอกทาง แต่ก็มีหลายครั้งที่นักการเมืองและนักธุรกิจมอง ธปท.เป็นแค่นักวิชาการ พูดตามตำรา ไม่กล้าตัดสินใจ ทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลสะดุดการที่ ธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึง ๘ ครั้ง จากระดับ ๐.๕๐% ในเดือน สิงหาคม๖๕ สู่ระดับ ๒.๕๐% ในปัจจุบัน เท่ากับปรับขึ้น ๒% ในช่วงเวลาปีครึ่ง ถือเป็นความจำเป็นที่ ธปท.ต้องทำล้อไปกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เพื่อสกัดเงินเฟ้อ และป้องกันเงินทุนจากต่างชาติไหลออกนอกประเทศแต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลกระทบรุนแรงต่อชาวบ้านฐานราก ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจนเกินรับไหว ธปท.ก็น่าจะมีมาตรการหรือส่งสัญญาณอะไรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนบ้าง ประกอบกับผลประกอบการปี ๖๖ ของธนาคารพาณิชย์มีกำไรกว่า ๒.๒ แสนล้านบาท เลยทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบในสังคมข้อความที่ นายกฯเศรษฐา ทวีสิน โพสต์ใน X ว่า “จากการที่แบงก์ชาติ ขึ้นดอกเบี้ยทั้งๆที่เงินเฟ้อติดลบติดต่อกันหลายเดือนนั้น ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจเลย และยังมีผลกระทบต่อประชาชนที่มีรายได้น้อยและ SME ด้วย …หวังว่าแบงก์ชาติจะช่วยดูแลประชาชน ไม่ขึ้นดอกเบี้ยสวนทางกับเงินเฟ้อ” จึงได้ใจชาวบ้านไปเต็มๆถ้าไม่ติดที่มีกฎหมายเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานของ ธปท. เชื่อได้เลยว่ารัฐบาลคงกดดันอย่างหนักให้ ธปท.เร่งลดอัตราดอกเบี้ยระยะหลังภาคเอกชนก็เริ่มส่งเสียงดังขึ้นเช่นกัน คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้า และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แถลงตอนหนึ่งหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน (กกร.) เมื่อวันพฤหัสที่แล้วว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันของประเทศไทยเป็นระดับสูงสุดแล้ว ในระยะข้างหน้าดอกเบี้ยควรปรับทิศทางให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ และการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดที่มีแนวโน้มลดลงในปีนี้ เมื่อเฟดปรับลดลงเมื่อใด หวังว่าจะปรับลดลงทันทีมีข้อเรียกร้องที่น่าสนใจจาก คุณพิชัย นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และรองประธานยุทธศาสตร์และการเมืองพรรคเพื่อไทย ส่งถึง ธปท.อยากให้ ออกนโยบายการเงินมาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาใหญ่ทางเศรษฐกิจ ๕ เรื่อง ดังนี้๑.ปัญหาเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวต่ำมาเป็นเวลานาน และมีแนวโน้มที่ปีนี้จะขยายตัวต่ำอีก ซึ่งการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี ๒๕๖๗ จะขยายได้เพียง ๒% กว่าเท่านั้น และ ๕ ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าเศรษฐกิจโลกมาตลอด อีกทั้งภาคเอกชนต่างเห็นตรงกันว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่น่าจะดีนัก๒.หนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า ๑๖.๕ ล้านล้านบาท หรือกว่า ๙๐% ของจีดีพี ธปท.จะช่วยแก้ไขอย่างไร รวมถึงหนี้ของ SMEs หนี้เสียในระบบธนาคาร และหนี้นอกระบบ๓.เงินเฟ้อที่ติดลบมา ๓ เดือนติดต่อกัน (เดือน ตุลาคม๖๖ ติดลบ ๐.๓๑% เดือน พฤศจิกายนติดลบ ๐.๔๔% เดือน ธันวาคมติดลบ ๐.๘๓%) และเงินเฟ้อเดือน มกราคมนี้ก็น่าจะติดลบอีก หลังจากที่เงินเฟ้อไทยลดต่ำมาก่อนหน้านี้ ๕ เดือนก่อนที่จะติดลบ น่าจะทำให้ไทยเข้าสู่ภาวะเงินฝืดแล้ว๔.การส่งออกที่ติดลบในปี ๒๕๖๖ และส่งออกจะขยายตัวต่ำในปี ๒๕๖๗๕.สภาพคล่องในระบบการเงิน และสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ ลดลงมากคุณพิชัยกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา ธปท.มองว่าทุกอย่างกำลังไปได้ดี เครื่องยนต์เศรษฐกิจเดินหน้าได้ครบ ซึ่งตรงข้ามกับประชาชนและนักธุรกิจที่ กำลังสัมผัสอยู่ ตนคงไม่ไปแนะนำ ธปท.ว่าต้องทำอะไร เพียงแค่อยากให้มีแนวคิดที่ตรงกันในการฟื้นเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นต้องยอมรับว่า ธปท.มีเครื่องมือหลายอย่างที่จะช่วยพยุงและฟื้นเศรษฐกิจ นโยบายการเงินยังออกฤทธิ์เร็วกว่านโยบายการคลังด้วย และถ้านโยบายการคลังกับนโยบายการเงินสอดรับกัน การบริหารนโยบายเศรษฐกิจจะเกิดประสิทธิภาพเต็มที่.ลมกรดคลิกอ่านคอลัมน์ “หมายเหตุประเทศไทย” เพิ่มเติม