Sunday, 19 January 2025

ศาล จำคุก-ปรับ "อานนท์-พวก ๔ ราย" ชุมนุมม็อบเมื่อปี ๒๕๖๓ แต่ให้รอลงอาญา

ศาลอาญากรุงเทพใต้ สั่ง จำคุก “อานนท์” กับพวก ๔ ราย ชุมนุมม็อบราษฎรประสงค์ เมื่อ ๑๘ พ.ย. ๖๓ หน้า สตช. ฐานร่วมกันมั่วสุมฯ คนละ ๑ เดือน ปรับ ๒ หมื่นบาท แต่ให้รอลงอาญา “ไผ่ ดาวดิน” โชคดี ศาลยกโทษจำคุกให้เมื่อวันที่ ๑๕ ม.ค. ที่ห้องพิจารณาคดี ๕๐๕ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ยื่นฟ้อง นายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นายอรรถพล บัวพัฒน์ จำเลยที่ ๑-๔ ในความผิดฐาน ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการ, ร่วมกันชุมนุมใดๆ โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา ๙ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้ง ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง, พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ ไม่ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะตลอดจนผู้ชุมนุมไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะฯ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๘๕, ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวาง หรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด, พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดฯ มาตรา ๑๙ ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน, พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดฯ มาตรา ๑๒ ร่วมกันขูด กะเทาะ ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดๆ บนถนน, ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่, ร่วมกันทำร้ายเจ้าพนักงาน, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ ร่วมกันทําให้เสียทรัพย์จากการชุมนุม ๑๘ พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๘ พ.ย. ๒๕๖๓โดยในวันนี้จำเลยทุกคนเดินทางมาศาล มีการเบิกตัว นายอานนท์ จำเลยที่ ๑ จากเรือนจำศาลพิจารณาเเล้วเห็นว่า ข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา ๙ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมงนั้น จำเลยที่ ๑,๒ เคยถูกพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงปทุมวัน และศาลมีคำพิพากษาแล้ว เหตุการณ์เป็นช่วงวันเวลาเดียวกัน มีเจตนาต่อเนื่องไม่ขาดตอน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำในส่วนจำเลยที่ ๓,๔ ในข้อหาร่วมกันจัดให้มีการชุมนุมผู้กระทำจะต้องประสงค์ให้มีการจัดการชุมนุม แต่พยานโจทก์ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ ๓,๔ เป็นคนเชิญชวนก่อให้เกิดการชุมนุม รู้แต่เพียงว่าเพจเยาวชนปลดแอกเป็นผู้โพสต์เชิญชวน และฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ ๓,๔ เกี่ยวข้องกับเพจเยาวชนปลดแอก การที่จำเลยที่ ๓,๔ ปราศรัยร่วมในฐานะผู้ชุมนุม พยานหลักฐานไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ร่วมจัดการชุมนุม ซึ่งจะต้องเป็นผู้ขออนุญาตจัดการชุมนุม จึงไม่มีความผิดตามข้อหานี้ และไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องโรคติดต่อตามข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา ๙ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯในส่วนข้อหา พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะไม่ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะตลอดจนผู้ชุมนุมไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะฯ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๘๕, ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวาง หรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด, พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดฯ มาตรา ๑๙ ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน, พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดฯ มาตรา ๑๒ ร่วมกันขูด กะเทาะ ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดๆ บนถนน, ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่, ร่วมกันทำร้ายเจ้าพนักงาน, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ ร่วมกันทําให้เสียทรัพย์ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าจำเลยไม่ใช่เป็นผู้สั่งการให้มีการทำร้ายเจ้าพนักงาน แม้มีการปราศรัยให้มีการปาสี แต่ก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงให้เกิดความเสียหายแก่กล้องวงจรปิด อีกทั้งยังได้ความว่า จำเลยขอให้ยุติการกระทำ ซึ่งการปาสีดังกล่าวใช้เวลาเพียง ๒๐ นาที และได้ความจากพยานเบิกความสอดคล้องกันว่า การชุมนุมดังกล่าวมีผู้ชุมนุมมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน ตำรวจเลยต้องปิดเส้นทางการจราจรเพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยการกีดขวางทางสาธารณะ จึงไม่ใช่ผลโดยตรงและข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้ง ๔ เกี่ยวข้องในการมีคำสั่งให้ปิดการจราจรฯ โจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยเป็นผู้ขูด เขียน พ่นสี ในส่วนข้อหาอื่นๆ พยานหลักฐานโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้เเต่ในส่วนความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการ ที่จำเลยอ้างว่า ที่มีการปาสีใส่สำนักงานตำรวจเเห่งชาติ เพราะมีการฉีดน้ำสลายการชุมนุม เมื่อ ๑ วันก่อน จึงมาชุมนุมปาสีที่สำนักงานตำรวจเเห่งชาตินั้น ศาลเห็นว่า ที่จำเลยว่าเป็นการโต้ตอบการกระทำนั้นเป็นเจตนาที่ขาดตอนย่อมถือว่าเป็นเจตนาของจำเลยเอง การกระทำของจำเลยทั้ง ๔ เป็นกระทำผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๕ วรรคสาม ซึ่งเป็นการมั่วสุมให้เกิดความวุ่นวาย สั่งจำคุกจำเลยที่ ๑,๒ เเละ ๔ คนละ ๑ เดือน ปรับ ๒๐,๐๐๐ บาท ในส่วนของจำเลยที่ ๔ ซึ่งเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ให้บวกโทษ ๑ ใน ๓ คงจำคุก ๑ เดือนเศษ เเละปรับ ๒๖,๐๐๐ บาท แต่เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะบุกเข้าไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นการชุมนุมสาธารณะปราศจากอาวุธ มีการปาสีเพียง ๒๐ นาที ก็ยุติการชุมนุม เป็นการเเสดงออกทางสัญลักษณ์ จึงให้รอการลงโทษจำเลยที่ ๑,๒ เเละ ๔ ในส่วนจำเลยที่ ๓ ซึ่งไม่อาจรอการลงโทษได้ จึงให้ยกโทษจำคุก