Sunday, 19 January 2025

เผยภาพถ่าย “หางแมว” ในระบบดาวบีตาขาตั้งภาพ

ดาวบีตาขาตั้งภาพ (Beta Pictoris) เป็นระบบดาวเคราะห์อายุน้อยที่อยู่ห่างออกไปเพียง ๖๓ ปีแสง ผ่านการศึกษาเชิงลึกมาหลายสิบปีแต่ไม่เคยคลายความสนใจของนักดาราศาสตร์ เนื่องจากมันมีจานฝุ่นก๊าซที่ล้อมรอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง เศษจากของจานฝุ่นนี้เกิดจากการชนกันระหว่างดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวเคราะห์น้อย ก่อนหน้านี้คิดกันว่าจานฝุ่นก๊าซมีเพียงแผ่นเดียว แต่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา เผยให้เห็นในเวลาต่อมาว่ามีจานฝุ่นแผ่นที่ ๒ ในระบบดาวแห่งนี้ทว่าล่าสุดทีมนักดาราศาสตร์จากศูนย์ชีวดาราศาสตร์ในสเปน ที่ใช้อุปกรณ์ NIRCam คือกล้องตรวจจับคลื่นความร้อนย่านใกล้อินฟราเรด และอุปกรณ์ MIRI ที่เป็นเครื่องตรวจจับรังสีอินฟราเรดย่านกลาง ติดตั้งอยู่บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เวบบ์ ของนาซา และองค์การอวกาศยุโรป รวมถึงองค์การอวกาศแคนาดา ถ่ายภาพระบบดาวบีตาขาตั้งภาพ ทำให้พบโครงสร้างใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นคือกิ่งก้านของฝุ่นที่มีความโน้มเอียงอย่างมาก รูปร่างคล้าย “หางแมว” ยื่นออกมาจากจานฝุ่นนักดาราศาสตร์จากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดของนาซาซึ่งร่วมในงานวิจัยนี้ เผยว่า MIRI แสดงให้เห็นชัดเจนว่าวัสดุของจานฝุ่นที่มีหางแมวนั้นร้อนกว่าจานฝุ่นอีกแผ่น และฝุ่นที่ก่อตัวเป็นแผ่นจานและหางแมวจะต้องมืดมากจนยากจะมองเห็นในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้ แต่ในช่วงแสงอินฟราเรดตอนกลางจะสว่างจ้า ซึ่งการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าระบบดาวบีตาขาตั้งภาพอาจมีกิจกรรมอันสุดวุ่นวายมากกว่าที่นักดาราศาสตร์คิดไว้.Credit : NASA, ESA, CSA, STScI, R. Crawford (STScI), C. Stark (NASA-GSFC), M. Perrin (STScI), and I. Rebollido (Astrobiology Center).อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่