ผ่านพ้นไปแล้วกับ ๓ วันการประชุม สภาฯครั้งแรกของศักราชใหม่ที่ถูกกำหนดให้เป็นการประชุมเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๓-๕ มกราคม ๒๕๖๗แม้ผลการโหวตรับหลักการจะผ่านฉลุย…ไม่พลิกโผ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกกระทรวงถูกอภิปรายกันอย่างดุเดือด อันเป็นผลจากการได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหนึ่งในนั้นคือ “กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)” ภายใต้การนำของ “หมอชลน่าน” นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข ที่ในภาพรวมได้รับงบประมาณทั้งหมดจำนวน ๓๑๙,๕๙๔.๗๕ ล้านบาท และมีหน่วยรับงบประมาณทั้งหมด ๑๖ หน่วยงานสืบเนื่องจากนโยบายเรือธงของรัฐบาลอย่าง “๓๐ บาทอัปเกรด” ซึ่งนำพาให้ สธ.ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ทำให้ “สธ.” ถูกตั้งคำถามในหลายประเด็นเช่น เรื่องการตั้งดัชนีชี้วัดผลงาน (KPI) ที่ต่ำกว่ารัฐบาลชุดก่อน การให้ความสำคัญกับผู้ป่วยสุขภาพจิตยาเสพติดมากกว่าผู้ป่วยสุขภาพจิตที่ไม่ได้เกิดจากยาเสพติด การจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา เด็กเกิดน้อยที่น้อยกว่าที่ควร ค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ ฯลฯหมอชลน่านเคลียร์ชัดในทุกประเด็น ทั้งยังยอมรับว่าในเอกสารคำขอนั้นมีงบประมาณเพิ่มขึ้น ๒๓,๙๓๒.๖๖ ล้านบาท หรือคิดเป็น ๘.๐๙% ซึ่งถือว่ามากกว่ากระทรวงกลาโหมแต่ก็เป็นเพราะการปรับ “ค่าป่วยการ” ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ “อสม.” ที่ถือเป็นบุคลากรสาธารณสุขด่านหน้าให้เพิ่มขึ้น จากเดิมคือเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ให้เป็น ๒,๐๐๐ บาท ตามมติ คณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา รวมแล้วเป็นเม็ดเงินจำนวน ๑๓,๓๒๗.๑๖ ล้านบาทโดยอยู่ในรายงานงบของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ขณะที่อีก ๑๐,๔๐๐.๓๐ ล้านบาท เป็น “งบเหมาจ่ายรายหัว” ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง ๓๐ บาท”tt ttส่วนงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ใช้สำหรับนโยบายใหม่นั้น สธ. ได้รับจัดสรรมา ๖,๒๗๓.๒๘ ล้านบาท โดยจะรองรับนโยบายความสำเร็จเร่งด่วน ๑๐๐ วันแรก หรือ “ควิกวินใน ๑๐ ประเด็น” ซึ่งจากเม็ดเงินดังกล่าวแบ่งเป็น ๑.งบเหมาจ่ายรายหัวรวมเงินเดือนของกองทุนบัตรทอง ๓๐ บาท จำนวน ๑,๘๘๔.๕๗ ล้านบาท๒.งบประมาณค่าบริการทางการแพทย์ของกองทุนบัตรทอง ๓๐ บาท (นอกงบเหมาจ่ายรายหัว) รวม ๔,๓๘๘.๗๐ ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ๑,๔๒๖.๓๕ ล้านบาท ค่าบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ ๑,๖๑๖.๐๗ ล้านบาท การช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้รับบริการ ๓๙.๔๗ ล้านบาทและสำหรับสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ๑,๓๐๖.๗๙ ล้านบาทน่าสนใจว่าการเดินหน้านโยบายใหม่นั้น บางส่วน สธ.ได้มีการดำเนินการ ไปแล้วผ่านการใช้งบประมาณไปพลางก่อน ตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๖ ที่ให้ใช้ไปพลางก่อน ๒ ใน ๓ ได้เพราะเป็นแผนงานโครงการที่มีลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับที่มีอยู่แล้ว เช่น นโยบายมะเร็งครบวงจร ซึ่งได้ประกาศฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ๑ ล้านโดส ภายใน ๑๐๐ วันพุ่งเป้าไปที่งบประมาณ “กองทุนบัตรทอง ๓๐ บาท” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ได้มาเพียง ๒๑๗,๐๐๐ ล้านบาท จากที่ตั้งคำของบประมาณเม็ดเงินลงทุนไป ๒๒๔,๐๐๐ ล้านบาท แม้จะถูกหั่นออกไปราว ๖,๐๐๐ ล้านบาท แต่ถ้าเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ได้ ๒๐๔,๑๔๐ ล้านบาท…ก็ถือว่ายังได้เพิ่มขึ้นแน่นอนว่าส่วนที่ลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนพอสมควร แต่ก็ได้รับอนุญาตให้ใช้เงินนอกงบประมาณได้ หมอชลน่าน ย้ำว่า ในเรื่องการให้ความสำคัญกับเรื่องยาเสพติดและกลุ่มงานจิตเวชนั้นเป็นงานสำคัญระดับชาติ และมีแนวโน้มเกิดขึ้นกับประชาชน โดยเฉพาะ…“คนรุ่นใหม่”tt tttt ttอีกทั้งยังเป็นแผนปฏิบัติการเร่งรัดยาเสพติดต้องลดลงภายใน ๑ ปีที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ประกาศไว้อีกด้วย…มากไปกว่านั้น ประเด็น “ยารักษาจิตเวช” ที่กำลังมีปัญหานั้น ได้เริ่มดำเนินการเพื่อผลักดันเข้าสู่คณะกรรมการยาแห่งชาติ ในการพิจารณาให้เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับบรรจุเป็น “สิทธิประโยชน์” ให้สามารถ “เบิกจ่าย” ได้แล้วภายใต้ระบบ “หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ประเด็นสำคัญมีว่า “เงินภาษี”…ประชาชนทุกบาททุกสตางค์จะถูกใช้ไปอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อทุกคนอย่างแท้จริงปัจจุบันระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำลังดำเนินการเข้าสู่ปีที่ ๒๒ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาฯ สปสช.บอกว่า ตลอด ๒๑ ปีที่ผ่านมา ความสำเร็จส่วนหนึ่งคือการทำให้ประชาชนมีสิทธิในการรับบริการสุขภาพ ซึ่งถือว่าน่าพอใจในระดับหนึ่งอย่างไรก็ดี ก็ยังมีความท้าทายในเรื่องความสะดวกในการเข้ารับบริการ เพราะแม้มีสิทธิแล้ว แต่ถ้าประชาชนไม่สามารถเข้ารับบริการได้สะดวกก็ไม่มีประโยชน์อะไร สิ่งที่เราจะดำเนินการต่อ คือเรื่องการยกระดับเพื่อให้ประชาชนเข้ารับบริการได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้นคำว่า “ความสะดวก” ที่ว่านี้ แบ่งเป็น ๒ ประเด็น คือ หนึ่ง…สะดวกจากสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ โดย สปสช.ได้สรรหาสิทธิประโยชน์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกมากขึ้นเช่น การเก็บสิ่งส่งตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง หรือตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยตัวเอง…สิทธิประโยชน์เหล่านี้ จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวกโดยไม่ต้องไปที่โรงพยาบาลสอง…สะดวกในการเข้ารับบริการ ที่ผ่านมาเวลาเจ็บป่วยต้องไปโรงพยาบาลเท่านั้น แต่วันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆทำให้เพิ่มบริการได้มากขึ้น เช่น เจ็บป่วยเล็กน้อยไปร้านยา…คลินิกพยาบาล…รับบริการผ่านระบบเทเลเมดิซีน และถ้าจำเป็นต้องเจาะเลือดก็มีบริการไปเจาะเลือดให้ที่บ้าน มีบริการทำกายภาพบำบัดให้ที่บ้านtt tt“ส่วนหนึ่ง สปสช.ได้เริ่มดำเนินการแล้วและจะขยายให้มากขึ้น” นพ.จเด็จ ว่า “เพราะที่ผ่านมาเราผูกผู้มีสิทธิบัตรทองไว้กับหน่วยบริการใกล้บ้าน แต่ก็จะมีบางส่วนราว ๒๐% ของผู้มีสิทธิทั้งหมด อาจต้องการไปรักษาที่อื่น หรือบางครั้งต้องเดินทางไปต่างพื้นที่แล้วมีความจำเป็นต้องเข้ารับบริการ เราก็อำนวยความสะดวกให้”ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม๒๕๖๗ เริ่มจากการยกระดับบัตรทองใน ๔ จังหวัด นำร่องคือ จ.แพร่ จ.เพชรบุรี จ.ร้อยเอ็ด และ จ.นราธิวาส สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวไปรับบริการได้ทุกที่ในเครือข่ายหน่วยบริการแน่นอนว่าการดำเนินการเช่นนี้ได้ ปัจจัยสำคัญคือ “ข้อมูลบริการ” จะต้องเชื่อมต่อกัน ให้หน่วยบริการสามารถดึงประวัติการรักษาผู้ป่วยโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ซึ่งต้องขอบคุณกระทรวงสาธารณสุขที่ดำเนินการเชื่อมต่อข้อมูลบริการของโรงพยาบาลรัฐไว้บนระบบคลาวด์แล้วส่วน สปสช. จะเสริมในส่วนการพัฒนาระบบการจ่ายชดเชยค่าบริการให้เร็วขึ้นและลดภาระหน่วยบริการให้มากที่สุด รวมทั้งการดึงหน่วยบริการในสังกัดอื่นและภาคเอกชน ให้เข้ามาร่วมดูแลผู้มีสิทธิบัตรทองมากขึ้น เช่น โรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม ร้านยา คลินิกพยาบาล ฯลฯ“บัตรทอง ๓๐ บาท” ยังคงอยู่และเดินหน้าต่อไป เพื่อสิทธิประโยชน์ “คนไทย” สูงสุด.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม
Related posts