Tuesday, 24 September 2024

สถาบันวัคซีนฯ แจง ภาวะลองโควิด-ผลกระทบวัคซีน กับข้อมูลที่คลาดเคลื่อน

15 Jan 2024
146

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงการณ์ ภาวะลองโควิด-ผลกระทบวัคซีน กับข้อมูลที่คลาดเคลื่อน …เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม๖๗ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้มีแถลงการณ์ถึงสื่อมวลชน ในประเด็น “ข้อเท็จจริงสถานการณ์ภาวะลองโควิด ๑๙ และผลกระทบของวัคซีนโควิด ๑๙” หลังจากมีสื่อออนไลน์บางแห่งได้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง โดยในแถลงการณ์ ระบุว่า แถลงการณ์สถาบันวัคซีนแห่งชาติเรื่อง ข้อเท็จจริงสถานการณ์ภาวะลองโควิด ๑๙ และผลกระทบของวัคซีนโควิด ๑๙ ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูล เรื่อง สถานการณ์ภาวะลองโควิด ๑๙ และผลกระทบของวัคซีนโควิด ๑๙ ทางสื่อ ออนไลน์และได้มีการส่งต่อข้อมูลดังกล่าวในวงกว้างสถาบันวัคซีนแห่งชาติกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องคณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยาของประเทศรวมทั้งองค์การ อนามัยโลก ประจําประเทศไทย ได้ร่วมกันพิจารณาข้อมูลดังกล่าวแล้ว พบว่า ข้อมูลดังกล่าวยังมีคลาดเคลื่อนใน หลายประเด็น และการส่งต่อข้อมูลดังกล่าวในวงกว้าง อาจเป็นสาเหตุทําให้ประชาชนเกิดความสับสน มีความ เข้าใจทคี่ลาดเคลื่อนและทําให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคมได้ ในการนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จึงขอชี้แจงเบื้องต้น ดังนี้ ภาวะลองโควิด (Long COVID) หรือ อาการหลังโควิด ๑๙ (Post COVID-๑๙ condition) เป็นภาวะ ที่พบได้จริง หลังการป่วยด้วยโรคโควิด ๑๙ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด ๑๙ จากข้อมูลขององค์การ อนามัยโลก ระบุว่า ความเข้าใจในปัจจุบันเกี่ยวกับสาเหตุของภาวะลองโควิด และสาเหตุท่ีผู้คนได้รับผลกระทบ หนักเบาไม่เท่ากันนั้นยังมีจํากัด จึงยังคงจําเป็นต้องมีการติดตามผลกระทบ รวมถึงการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็น ระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุและการดําเนินของโรคได้อย่างแท้จริง จากข้อมูลในช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่า อาการที่พบบ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับภาวะลองโควิด ได้แก่ ความเหนื่อยล้า หายใจถี่หรือหายใจลําบาก ปัญหา ด้านความจํา สมาธิ หรือการนอนหลับ ไอถาวร อาการเจ็บหน้าอก ปัญหาในการพูด อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สูญเสียการรับกลิ่นหรือรสชาติ ภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล และเป็นไข้ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถของ บุคคลในการทํากิจกรรมประจําวันได้ อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ระยะเวลาในการ ฟื้นตัวขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล จึงทําให้ไม่สามารถระบุระยะเวลาการดําเนินของภาวะดังกล่าวได้อย่างแน่ชัด๑ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการศึกษาจํานวนมากท่ีพบว่า การฉีดวัคซีนโควิด ๑๙ ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะลองโควิดได้  สําหรับประเด็นการปกปิดข้อมูลและข้อเท็จจริงของผู้ที่ได้รับผลกระทบและเสียชีวิตจากวัคซีนนั้น ไม่เป็นความจริง ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีนโควิด ๑๙ ของประเทศไทย มีการเก็บข้อมูล พิจารณา วินิจฉัย และมีการเผยแพร่อย่างเป็นระบบ โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ดําเนินการเฝ้า ระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก แนะนํา และมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญระดับชาติหลายสาขาที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณา ว่าผลกระทบดังกล่าว เกิดขึ้นจากวัคซีนหรือไม่ หรือมีปัจจัยอื่นใดที่ทําให้เกิดภาวะดังกล่าวขึ้น ซึ่งต้องใช้ข้อมูลผลตรวจด้านการแพทย์ของ ผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าวมาพิจารณาร่วมด้วย เพื่อให้สามารถวินิจฉัยได้แน่ชัด ทั้งนี้ ผลการวินิจฉัยจะมีการ เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข๕ ไม่ได้มีการปกปิดข้อมูลแต่อย่างใด การเปิดเผยข้อมูลเป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้องครบถ้วน นอกจากนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และหน่วยงานใน กระทรวงสาธารณสุข ไม่มีอํานาจใดที่สามารถปิดกั้นข้อมูลข่าวสารจากโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ ดังเห็นได้จากการระบาดของข้อมูลข่าวปลอมและข่าวบิดเบือน (Infodemic) ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ รวมถึงข้อมูล บิดเบือนด้านวัคซีนจํานวนมาก ที่เผยแพร่อยู่ในสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน ประเด็นอัตราการตายส่วนเกิน (excess deaths) ของประชาชนไทยในช่วงปี ๒๕๖๕-๒๕๖๖ นั้น เป็น ข้อมูลการตายจากสาเหตุอื่น ๆ ในภาพรวม เช่น การเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง หรือโรคเรื้อรังต่างๆ ท่ีไม่ได้รับการ รักษาที่เหมาะสม รวมทั้งจากการผ่อนคลายมาตรการป้องกันควบคุมโรค มีการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับการจราจรเพิ่มมากขึ้นในปี ๒๕๖๕-๒๕๖๖๗ ซึ่งไม่เกี่ยวกับโรค โควิด ๑๙ และการวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการตายส่วนเกินไม่มีหลักฐานว่าเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด ๑๙ แต่ ประการใด จึงไม่สามารถนํามาใช้อ้างอิงว่าสาเหตุการตายเกิดจากวัคซีน สําหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข มีการเก็บข้อมูลอัตราการตายของประชากรไทยอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยในรายละเอียดของอัตราการตาย ส่วนเกินในช่วงเวลาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจะมีการแถลงให้ประชาชนทราบข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป สําหรับประเด็นการติดตามผลกระทบเบื้องต้นจากการฉีดวัคซีนโควิด ๑๙ ในผู้ที่ฉีดวัคซีนในประเทศ ไทยเกือบ๑๐๐รายในระยะเวลา๑ปีที่มีการอ้างถึงนั้นตามหลักวิชาการพบว่ายังต้องมกีารวางแผนแนวทาง การศึกษาให้รัดกุม และต้องมีการกําหนดกลุ่มเปรียบเทียบเพิ่มเติม เพื่อหลีกเลี่ยงอคติ (Bias) ในการศึกษา ซึ่ง จะทําให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลผลกระทบระหว่างผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด ๑๙ และกลุ่มผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน โควิด ๑๙ ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากการทําการศึกษาผลกระทบของสิ่งใดก็ตาม หากไม่มีกลุ่มควบคุม อาจทําให้มี อคติเกิดขึ้นในการศึกษานั้นได้ ประเด็นข้อมูลรายงานในวารสาร Nature Scientific Reports ที่มีการกล่าวอ้างว่า การฉีดวัคซีน หลังเข็มที่ ๓ ว่าอาจจะทําให้ภูมิคุ้มกันชนิด T-Cell หมดแรงนั้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้มีการประสานไปยังนักวิจัยเจ้าของข้อมูลดังกล่าว ซึ่งมีการเผยแพร่รายงานในเรื่อง “Hybrid and herd immunity ๖ months after SARS‐CoV‐๒ exposure among individuals from a community treatment program” ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๖ พบว่า ประเด็นหลักที่นักวิจัยต้องการสื่อสาร คือ การฉีดวัคซีนเข็ม กระตุ้นปริมาณมาก ๆ ในช่วงระยะห่างสั้น ๆ (ฉีดวัคซีนจํานวนมาก และฉีดก่อนครบกําหนด) ไม่ทําให้เกิดการ กระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ดี การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นควรมีการวางแผน และกําหนดระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการ สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคได้ดีที่สุด ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้มีคําแนะนําให้ประชาชนทั่วไป ผู้สูงอายุ ผู้มีโรค ประจําตัว หรือผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด ๑๙ จําเป็นต้องได้รับวัคซีน ๑ โดส และตาม ด้วยการฉีดวัคซีนเพิ่มเติมหลังจากฉีดเข็มแรกมาแล้ว ๖ เดือนถึง ๑ ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดความ เสี่ยงของการป่วยหนักและเสียชีวิต๙ ซึ่งคําแนะนําสําหรับการฉีดวัคซีนโควิด ๑๙ ของประเทศไทย ได้ผ่านการ พิจารณาจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของประเทศ และเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับองค์การ อนามัยโลกด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ เกี่ยวข้อง คณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยาของประเทศ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก ประจําประเทศไทย จะ ทําการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อตอบข้อสงสัยประเด็นต่าง ๆ ในรายละเอียด และจะทําการ เผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบทั่วกันอย่างต่อเนื่องต่อไป สถาบันวัคซีนแห่งชาติ๑๕ มกราคม ๒๕๖๗ เอกสารอ้างอิง ๑. https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/coronavirus-disease-(covid- ๑๙)-post-covid-๑๙-condition ๒. https://www.thelancet.com/journals/lanres/article/PIIS๒๒๑๓-๒๖๐๐(๒๓)๐๐๔๑๔-๙/fulltextThe effectiveness of COVID-๑๙ vaccines to prevent long COVID symptoms: staggered cohort study of data from the UK, Spain, and Estonia ๓.https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/fullarticle/๒๗๙๗๗๘๒Prevalence and Correlates of Long COVID Symptoms Among US Adults ๔.https://www.nature.com/articles/s๔๑๓๙๒-๐๒๓-๐๑๖๔๐-zThe long-term health outcomes, pathophysiological mechanisms and multidisciplinary management of long COVID๕.https://ddc.moph.go.th/doe/pagecontent.php?page=๗๔๔&dept=doe๖.https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/๒๐๒๓/๑๑/Hstatistic๖๕.pdf๗.https://digi.data.go.th/showcase/accident-on-thai-roads/๘.https://www.nature.com/articles/s๔๑๕๙๘-๐๒๓-๒๘๑๐๑-๕๙.https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-๒๐๑๙/covid-๑๙- vaccines/advice