Sunday, 19 January 2025

ขยายผลงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง ถั่วลิสงเกษตรศาสตร์ สวก.๑

นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยถึงสถานการณ์การผลิตถั่วลิสงของไทยในช่วงที่ผ่านมาพบว่า มีปริมาณผลผลิตประมาณปีละ ๒๕,๐๐๐ ตัน ในขณะที่มีความต้องการใช้ถึงปีละ ๑๑๓,๕๐๐ ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องนำเข้าถั่วลิสงจากต่างประเทศปริมาณสูงถึง ๘๙,๔๐๐ ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาทtt tt“นอกจากนี้ ความต้องการถั่วลิสงเพื่อการบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและผู้ที่รักสุขภาพเพิ่มขึ้น เน้นการดูแลสุขภาพด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันต่ำ เพิ่มการบริโภคโปรตีนจากพืช ดังนั้น ถั่วลิสงจึงเป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่มีอนาคตทางการตลาดtt tttt ttกรมส่งเสริมการเกษตรจึงร่วมกับคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำแปลงสาธิตขยายผลการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงเกษตรศาสตร์ สวก.๑ เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๒ จังหวัด ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุดรธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ เป็นการนำโครงการที่ได้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) มาขยายผลงานวิจัยให้เป็นต้นแบบการเรียนรู้ การยอมรับเทคโนโลยีและขยายผลในวงกว้าง ที่จะสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรไม่ต่ำกว่าไร่ละ ๙,๐๐๐ บาท/ฤดูกาลผลิต คาดว่าในฤดูฝนจะมีปริมาณผลผลิตที่ได้ ๓๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูแล้งจะมีปริมาณผลผลิตที่ได้ ๓๕๐ กิโลกรัมต่อไร่”tt tttt tttt ttรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยอีกว่า ถั่วลิสงเกษตรศาสตร์ สวก.๑ มีลักษณะประจำพันธุ์ที่ดี คือทรงต้นแบบพุ่มตั้ง ไม่ยืดเลื้อย เปลือกฝักมีลาย เมล็ดใหญ่ เก็บเกี่ยวง่าย ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคยอดไหม้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมจากผลงานวิจัยสู่พื้นที่ของเกษตรกร เพื่อส่งเสริมการผลิต การกระจายพันธุ์ การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดูแลรักษา การให้ปุ๋ยตามความต้องการ การให้ธาตุอาหารเสริมที่จำเป็นต่อความสมบูรณ์ของเมล็ด การสาธิตการใช้เครื่องจักรกลในการปลูก การเก็บเกี่ยว ลดการใช้แรงงานเกษตร จะเป็นอีกทางเลือกในการผลิตถั่วลิสงในเชิงธุรกิจ ที่จะสามารถ แก้ไขปัญหาการผลิตถั่วลิสงแบบเดิมๆของเกษตรกรได้.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่