Tuesday, 19 November 2024

คนเร่ร่อนไร้บ้าน ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ชีวิตไม่มีทางต่อสู้ ใต้ถุนสังคมไทย

17 Jan 2024
110

คดีฆาตกรรม ป้าบัวผัน หรือป้ากบ หญิงเร่ร่อนในพื้นที่อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ด้วยเงื้อมมือเยาวชนทั้ง ๕ ราย สะท้อนภาพชีวิตของคนเร่ร่อน ส่วนใหญ่มีภาวะจิตเวชแฝงเร้น ถูกรังแกจากคนที่มีกำลังกว่า อย่างกรุงเทพฯ จากการสำรวจล่าสุดพบคนเร่ร่อนประมาณ ๑,๓๐๐ คน มูลนิธิกระจกเงา ชี้ถึงปัญหาที่หมักหมมใน “ใต้ถุนสังคมไทย” ที่ยังไร้ทางออกสิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา เปิดเผยกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า คดีฆาตกรรมป้าบัวผัน ที่เป็นคนเร่ร่อน สะท้อนภาพของกลุ่มคนที่สังคมมองข้ามอย่างชัดเจน แม้ไม่มีเหตุการณ์ที่ถูกฆาตกรรมให้เห็นบ่อย แต่ส่วนใหญ่คนเร่ร่อนจะถูกรังแก ด้วยการถูกขโมยสิ่งของ ถูกรีดไถทรัพย์สินtt tt“หลายครั้งที่คนเร่ร่อนนอนริมถนน แล้วถูกขโมยกระเป๋าสตางค์ระหว่างหลับอยู่ แต่ก็มีที่กลุ่มคนเร่ร่อนหันมาทำร้ายกันเอง ซึ่งผู้หญิง หรือผู้ชายที่มีร่างกายอ่อนแอกว่าจะตกเป็นเหยื่อ สิ่งนี้ทำให้คนเร่ร่อน ต้องมีการจับกลุ่มกัน โดยเฉพาะช่วงเวลาที่นอนหลับ ต้องนอนกันเป็นกลุ่ม เพราะถ้ามีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้นจะได้ช่วยกัน และสถานที่นอนของคนเร่ร่อน จะเลือกนอนในพื้นที่สว่าง เช่น บนถนนราชดำเนิน เพื่อความปลอดภัย”จากการสำรวจจำนวนคนเร่ร่อนทั้งประเทศล่าสุด พบว่า กรุงเทพฯ มีคนเร่ร่อนประมาณ ๑,๓๐๐ คน น่าสนใจว่าช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด มีคนเร่ร่อนไร้บ้านมากขึ้นกว่า ๓๐ เปอร์เซ็นต์ แต่พอทุกอย่างเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ คนเร่ร่อนบางส่วนก็มีงานทำ ทำให้ไม่ต้องออกมาเร่ร่อนเหมือนตอนมีการแพร่ระบาดโควิดtt ttกรณีของป้าบัวผัน ถือว่าเป็นคนเร่ร่อน แม้มีญาติอยู่ แต่ด้วยภาวะบางอย่างต้องหันมาเร่ร่อนเหมือนคนไร้บ้าน ขณะที่บางคนมีปัญหากับทางครอบครัว เลยต้องออกมาใช้ชีวิตข้างถนน จากการทำงานพบว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ของคนไร้บ้าน มีครอบครัว แต่อยู่กับบ้านไม่ได้อาการจิตเวชแฝงเร้น ทำให้มีภาพหลอน เห็นภาพคนจะมาทำร้ายตัวเอง เลยไม่สามารถอยู่ในบ้านกับครอบครัวได้ จึงออกมาเร่ร่อนใช้ชีวิตอิสระ และเมื่อออกมาเร่ร่อนหลายคนก็ไม่สามารถกลับไปรักษาในระบบทางการแพทย์ด้านจิตเวชได้อีก ต้องยอมรับว่าการจะพาคนเร่ร่อนไปพบหมอจิตแพทย์ ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้การเกลี้ยกล่อมหลายวิธี ประกอบกับโรคนี้ต้องใช้เวลาที่นานในการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่ออกมาเร่ร่อน เนื่องจากครอบครัวก็ไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่กลายเป็นคนเร่ร่อน มีในหลายลักษณะ เช่น ชอบแยกตัวออกมาอยู่คนเดียว เราจะเห็นว่าผู้ป่วยจะนั่งอยู่ที่ป้ายรถเมล์เพียงคนเดียว บางครั้งก็บ่นอยู่คนเดียว ใครพูดอะไรก็ไม่ฟังtt ttขณะเดียวกันคนเร่ร่อน ที่ระยะแรกยังไม่มีอาการจิตเวช แต่พอออกมาเร่ร่อน เจอภาวะความเครียด สภาพแวดล้อมที่กดดันทำให้คนไร้บ้านมีอาการจิตเวชตามมา จนมีพฤติกรรมผิดปกติ จนซึมเศร้าปัญหาคนเร่ร่อนที่มีอาการป่วยจิตเวช หรือติดสุราเรื้อรัง ยังไม่มีระบบที่จัดการอย่างเป็นระบบ เลยทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ถูกจัดการเข้าสู่ระบบการรักษาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันควรมีกระบวนการช่วยเหลือคนไร้บ้าน ในคนที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะกลับมาประกอบอาชีพได้ ให้กลับมาทำงานมีรายได้อีกครั้ง จะช่วยลดปริมาณคนไร้บ้านที่มีอยู่ตอนนี้ได้มากขึ้น.