Saturday, 16 November 2024

เปิดใจแชมป์ทำนา ตามปฏิทิน KAS Crop

“ทำนามาได้ราวๆ ๖ ปีแล้ว เดิมไม่ได้คิดอยากมาทำเท่าไร เพราะเรียนจบมาด้านบริหารธุรกิจ เห็นตัวอย่างพ่อแม่ทำนาเหน็ดเหนื่อย แต่พอทำงานบริษัทได้ปีเดียว รู้สึกอยากเป็นเจ้านายตัวเองเลยกลับมาสานต่ออาชีพพ่อแม่ ช่วงแรกมีความรู้ไม่มาก อาศัยที่เคยช่วยพ่อแม่ตอนเด็กๆ ผสมกับถามญาติๆที่ทำนา หลังจากลองผิดลองถูกอยู่นาน เริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น เพราะได้ศึกษาแนวคิดการทำเกษตรสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับแนวคิดการทำเกษตรแบบเดิม จนตอนนี้อยู่ตัวมาได้ ๒ ปีแล้ว”tt ttอิทธิพัทธ์ เอี่ยมสมาน Young Smart Farmer วัย ๓๔ ปี จากบ้านคลองโขลง ต.บ้านจ่า อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เล่าถึงที่มาของการผันตัวเองมาเป็นชาวนา ก่อนจะคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันในโครงการ “คูโบต้า กล้า | ท้า | ปลูก” เพื่อค้นหาสุดยอดนักพัฒนาแปลงเพาะปลูกข้าวด้วย นวัตกรรมปฏิทินการเพาะปลูก KAS Crop Calendar On LINE ครั้งแรกของไทย จัดโดย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และกรมส่งเสริมการเกษตร ในช่วงฤดูนาปีที่ผ่านมาสมัครเข้าแข่งขัน ด้วยเจตนาต้องการนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการทำนาของตัวเอง และผลที่ได้เป็นเหมือน อิทธิพัทธ์ ตั้งใจไว้tt tttt tt“การทำนาตามปฏิทินการเพาะปลูกของคูโบต้าไม่ได้ต่างจากการทำนาของเราเท่าไร เพียงแต่ความต่างกันตรง ทำตามปฏิทินมีความละเอียดถี่ถ้วนมากกว่า มีการให้จดบันทึกต่างๆ ทำให้เราได้รู้รายรับ-รายจ่าย พร้อมมีระบบแจ้งเตือนผ่านทางโทรศัพท์มือถือ บอกให้รู้ถึงสภาพอากาศ โรคแมลงให้เราได้เตรียมรับมือล่วงหน้า นานถึง ๕ วัน แม่นยำมาก ทำให้เราวางแผนรับมือได้ทัน โดยเฉพาะเรื่องฝน พายุที่บอกให้รู้ว่า ถ้าฝนจะมาน้ำมาก เราจะได้ไม่ต้องหว่านปุ๋ย ให้ไหลสูญเปล่าไปกับน้ำและยังมีการแจ้งเตือนให้เรารู้ด้วยว่า ช่วงไหนควรใส่ปุ๋ยได้แล้ว และควรใส่ปุ๋ยสูตรอะไรด้วย พร้อมมีระบบให้เราทำนาแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว ที่เป็นเหมือนการบังคับให้ต้นข้าวออกกำลังกาย ให้ต้นแข็งแรง สามารถต่อสู้กับโรคแมลงได้ดี เลยทำให้เราไม่ต้องเสียเงินค่าฉีดพ่นสารเคมี และลดต้นทุนค่าน้ำมันสูบน้ำเข้านา”tt tttt ttอิทธิพันธ์ บอกว่า ผลการทำนาตามปฏิทินการเพาะปลูก KAS Crop Calendar On LINE ที่มีอยู่ทั้งหมด ๑๙ ขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมดินไปจนถึงเก็บเกี่ยว ช่วยทำให้ต้นทุนลดลงไปได้ถึง ๓๐-๔๐% จากเดิมที่มีค่าใช้จ่ายต้นทุนตกอยู่ที่ไร่ละ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ บาท ลดลงมาเหลือแค่ ๔,๐๐๐ บาทในเรื่องของผลผลิต จากเดิมที่เคยได้ไร่ละ ๘๐๐-๙๐๐ กก. เพิ่มมาเป็นไร่ละ ๑,๐๐๐ กก. ทั้งที่นา ๕ ไร่ แปลงที่ปลูกแข่งขันสภาพดินไม่ค่อยดี เพราะผ่านการปลูกมาแล้ว ๓ รอบและเมื่อหักค่าใช้จ่ายจากการทำบัญชีตามปฏิทินเลยส่งผลทำให้การปลูกทำให้ได้กำไร ไร่ละ ๘,๐๐๐ บาท จากทำแบบเดิมได้กำไรแค่ไร่ละ ๖,๐๐๐ บาท.tt ttชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม