Sunday, 19 January 2025

สทน. จับมือ สถาบันพลังงานฯ เกาหลีใต้ จัดอบรมพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชัน

18 Jan 2024
168

สทน. ลงนามความร่วมมือ กับสถาบันพลังงานฟิวชัน เกาหลีใต้ และเป็นเจ้าภาพจัดการอบรมด้านพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันระดับอาเซียนครั้งที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๗ ม.ค. ๖๗ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ลงนามความร่วมมือในด้านการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีฟิวชันและพลาสมาของไทย ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. โดย รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการ สทน. และ Korea Institute of Fusion Energy หรือ KFE สาธารณรัฐเกาหลี โดย Dr.Suk Jae YOO ผู้อำนวยการ KFE มีคณะผู้บริหารจากทั้ง ๒ หน่วยงาน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม หรือ บพค. ภายใต้การกำกับดูแลของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามดังกล่าวจัดขึ้นที่ อาคารปฏิบัติการเครื่องโทคาแมค สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานใหญ่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก tt ttรศ.ด็อกเตอร์ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการ สทน.เปิดเผยถึงที่มาของความร่วมมือในครั้งนี้ว่า การลงนามความมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนและยกระดับศักยภาพให้แก่เหล่าบรรดานักวิจัยและวิศวกรชาวไทยในด้านของการศึกษา วิจัย และการฝึกอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านฟิวชันและพลาสมา ความร่วมมือระหว่าง สทน.และ KFE ครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนของ บพค. ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือกับ University of Science & Technology หรือ UST สาธารณรัฐเกาหลี ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งความร่วมมือระหว่าง  บพค. และ UST จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคลากรด้านฟิวชันและพลาสมาของไทย โดยไทยสามารถส่งบุคลากรไปศึกษาในระดับปริญญาเอก หรือ นักวิจัยหลังปริญญาเอก หรือ โพสต์-ด็อก ด้านฟิวชันพลาสมาที่ KFE ซึ่งจะเป็นการยกระดับการพัฒนาด้านฟิวชันและพลาสมาของไทยในอนาคตtt tt สำหรับความร่วมมือของทั้ง ๒ หน่วยงานที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ สทน.ได้เสนอให้ทาง KFE จัดการฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับนักวิจัยของไทยเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการเดินเครื่อง Thailand Tokamak-๑ ใน ๒ หัวข้อได้แก่ การเตรียมความพร้อมในการออกแบบระบบการจ่ายไฟสำหรับการให้ความร้อนของพลาสมา (Management of Power Supply for Plasma Heating) การออกแบบและพัฒนาระบบ Thomson scattering และระบบ interferometer แบบเปลี่ยนความถี่ รวมไปถึงการส่งนักวิจัยของไทยไปทำการทดลองด้านพลาสมาและฟิวชันร่วมกับ KFE ที่สาธารณรัฐเกาหลีด้วย tt ttโดยในระหว่างวันที่ ๑๕-๑๙ ม.ค. ๖๗ สทน.และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมฝึกอบรมด้านพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันระดับอาเซียนครั้งที่ ๙ หรือ ๙th ASEAN School on Plasma and Nuclear Fusion (ASPNF๒๐๒๒๐๒๔) โดยจัดขึ้นที่ ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา โครงการการอบรมทางด้านพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันแห่งอาเซียน สทน. ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ อาทิเช่น สถาบันวิจัยฟิวชันในสนามแม่เหล็ก (Research Institute on Magnetic Fusion หรือ IRFM) ภายใต้ The French Alternative Energies and Atomic Energy Commission (CEA), International Thermonuclear Experimental Reactor (ITER) ประเทศฝรั่งเศส, ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ประเทศออสเตรีย, Japan Graduate University for Advanced Studies (SOKENDAI), National Institute for Fusion Science (NIFS) ประเทศญี่ปุ่น, สถาบันพลาสมาฟิสิกส์ขั้นสูง ASIPP สาธารณรัฐประชาชนจีน และหน่วยงานเครือข่ายวิจัยภายในประเทศของ สทน. ภายใต้ความร่วมมือ Center for Plasma and Nuclear Fusion Technology (CPaF) มาอย่างต่อเนื่องtt ttซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ ๙ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชันให้นักศึกษาและนักวิจัย เป็นการกระตุ้นและยกระดับความสนใจในด้านการวิจัยเกี่ยวกับพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันในกลุ่มประเทศอาเซียน อีกทั้งสร้างเครือข่ายกลุ่มวิจัยที่เข้มแข็งในด้านพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชัน ซึ่งปีนี้มีนักวิจัย นิสิต นักศึกษาจากอินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ปากีสถาน และญี่ปุ่น จำนวนทั้งสิ้น ๖๐ คน เข้าร่วมการอบรม