รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เผยว่า การควบคุมโรคในสวนทุเรียนแบบผสมผสาน ต้องหมั่นตรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ มีการตัดแต่งกิ่งเพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม ตัดแต่งร่องรอยที่เกิดโรคเพื่อลดความรุนแรง ปรับสภาพการระบายน้ำในแปลง ตรวจสภาพดินภายใต้ทรงพุ่ม เพื่อควบคุมความเป็นกรดด่างของดิน และต้องมีการใช้ปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ดินและความสมบูรณ์ของต้น การเลือกใช้สารให้ตรงกับเชื้อสาเหตุ และฉีดพ่นอย่างทั่วถึง ส่วนโรคสำคัญในสวนทุเรียน โรครากเน่าโคนเน่าจากเชื้อไฟทอปธอรา การป้องกันกำจัดใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา หว่านในพื้นที่รัศมีทรงพุ่ม หรือละลายน้ำฉีดพ่นทั่วแปลง นอกจากนี้แล้วยังมีโรคกิ่งแห้งที่เกิดจากเชื้อฟิวซาเรียมซึ่งมีความสัมพันธ์กับมอดที่เข้าทำลายต้นtt tt“จากปัญหานี้ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย, กรมวิชาการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน, เกษตรจังหวัดสงขลา และสมาคมทุเรียนใต้ จึงได้จัดอบรม ทุเรียนมือใหม่กับคุณภาพตามมาตรฐาน GAP โดยนำความรู้จากวิทยากรระดับแนวหน้าด้านการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือมาตรฐาน GAP ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรในฟาร์ม ตั้งแต่การเลือกพื้นที่ การให้น้ำ ปัจจัยการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การจดบันทึก การตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อให้ทุเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนรุ่นใหม่และผู้สนใจ จำนวน ๒๕๐ คน เมื่อปลายปีที่ผ่านมา”tt tttt ttดร.ชัยณรงค์ แนะนำเทคนิคในการกำจัดแมลงในสวนทุเรียน สิ่งสำคัญคือ ๑) ต้องรู้จักศัตรูพืช โดยแมลงศัตรูสำคัญได้แก่ หนอนเจาะเมล็ด หนอนเจาะผล มอด ไรแดงแอฟริกัน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เป็นต้น ๒) รู้จักผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชแต่ละชนิด ใช้สารชนิดไหน กลไกเป็นอย่างไร การเข้ากันได้ของสารแต่ละชนิด เพราะอาจ ต้องมีการผสมสารมากกว่า ๑ ชนิด ๓) รู้วิธีการพ่นที่เหมาะสม ๔) สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของสารเคมีที่ใช้ และ ๕) ต้องปลอดภัยtt ttทั้งนี้ โครงการพัฒนาชุดความรู้และกลไกการจัดการความรู้สำหรับการผลิตทุเรียนคุณภาพ ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานทุเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดความรู้ในการผลิตทุเรียนคุณภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดภาคใต้ โดยศึกษาวิจัยความรู้จาก ๒ แหล่ง คือ (๑) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ซึ่งรวบรวมจากคู่มือ หนังสือ หรือเอกสารต่างๆ และ (๒) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติของเกษตรกรต้นแบบหรือผู้เชี่ยวชาญ โครงการจะนำชุดความรู้ที่พัฒนาขึ้นไปเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ และจะพัฒนากลไกในพื้นที่เพื่อจัดการชุดความรู้ โดยคาดหวังว่าการมีชุดความรู้นี้จะทำให้การผลิตทุเรียนของเกษตรกรมีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงขึ้น อันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และกรอบยุทธศาสตร์ชาติ.คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม
Related posts