Tuesday, 19 November 2024

ใช้จีไอสำรวจมะพร้าวน้ำหอม

18 Jan 2024
107

มะพร้าวน้ำหอมหนึ่งในสินค้าโดดเด่นทางด้านเศรษฐกิจของภาคตะวันตก จังหวัดราชบุรีถือเป็นแหล่งเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมอันดับ ๑ ของประเทศ ที่ได้รับเลือกให้นำร่องในโครงการโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ BCG Modelเพื่อให้มีฐานข้อมูลด้านการผลิตที่ถูกต้องและรวดเร็ว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ๑๐ ราชบุรี (สศท.๑๐) ได้นำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics) หรือ GI โดยเฉพาะการสำรวจระยะไกล มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อที่ยืนต้นมะพร้าวน้ำหอม ปี ๒๕๖๖ ราชบุรีเป็นจังหวัดแรกของภาคตะวันตกที่มีการนำร่องจัดทำข้อมูลเนื้อที่ยืนต้นมะพร้าวน้ำหอมครอบคลุมพื้นที่จังหวัดราชบุรี ภายใต้โครงการ Agri-map เพื่อจัดทำรายงานข้อมูลสารสนเทศสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพระดับจังหวัด และเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพยากรณ์ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม ปี ๒๕๖๗tt ttจากการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ โดยดำเนินการแปลและวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อที่ยืนต้น และตรวจสอบความถูกต้องของผลการแปล เพื่อให้ได้ข้อมูลผลการแปลวิเคราะห์ที่มีความถูกต้องมากที่สุด ผลการจำแนกเนื้อที่ยืนต้นมะพร้าวน้ำหอม ปี ๒๕๖๖ ของจังหวัดราชบุรี พบว่า มีเนื้อที่ปลูกรวม ๑๑๐,๔๙๐ ไร่ ปลูกมากที่สุดในพื้นที่ ๓ อำเภอ ได้แก่ ดำเนินสะดวก ๔๘,๒๗๕ ไร่ เมืองราชบุรี ๒๖,๘๐๖ ไร่ และบางแพ ๑๒,๒๕๑ ไร่และเมื่อนำแผนที่ความเหมาะสมในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมมาซ้อนทับผลการแปลเนื้อที่ยืนต้น พบว่า ราชบุรีปลูกอยู่ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก (S๑) ๖๕,๗๑๕.๙๘ ไร่ พื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S๒) ๔.๔๑ ไร่ พื้นที่ความเหมาะสมน้อย (S๓) ๒,๓๙๑.๑๙ ไร่ และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ๔๒,๓๐๓.๖๑ ไร่สำหรับปีงบประมาณ ๒๕๖๗ สศท.๑๐ จะนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ในการสำรวจมะพร้าวน้ำหอมของภาคตะวันตก ทั้ง ๗ จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภายใต้โครงการบริหารจัดการผลผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) กิจกรรมการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสินค้าเกษตรในระดับจังหวัด ให้สอดคล้องตามศักยภาพของพื้นที่ตามนโยบายเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามความเหมาะสมของพื้นที่.สะ-เล-เตคลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม