Sunday, 19 January 2025

ดูแลตนเองให้ห่างไกล COVID-๑๙

19 Jan 2024
83

วินาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙” หรือ “COVID-๑๙” ซึ่งมีการระบาดตั้งแต่ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๑๙ ที่ผ่านมา โดยเริ่มจากประเทศจีน และระบาดไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย แม้ว่าขณะนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ (ค.ศ. ๒๐๒๔) “โรค COVID-๑๙” จะมีการระบาดลดลง รวมทั้งมีความรุนแรงน้อยลงแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสติดได้ ดังนั้นจึงไม่ควรประมาท และดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยมีวิธีการ ดังนี้๑. รับประทานอาหารที่สด ใหม่ สะอาด๒. รับประทานอาหารให้หลากหลาย ครบทั้ง ๕ หมู่๓. ใช้ช้อนกลาง ไม่รับประทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายากtt tt๔. หากซื้ออาหารกล่องมารับประทาน ก่อนจับกล่องอาหาร ต้องล้างมือให้สะอาด เทอาหารจากกล่องใส่ภาชนะแล้วจึงรับประทาน๕. หากได้รับพัสดุ ควรทำความสะอาดด้วยสเปรย์ฆ่าเชื้อก่อนแกะพัสดุ๖. ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่๗. ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย ๒๐ วินาที๘. งดจับตา จมูก ปาก ขณะที่ไม่ได้ล้างมือ๙. เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่างๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน๑๐. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ๑๑. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา๑๒. การเข้าห้องน้ำสาธารณะ ให้ทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์ก่อนนั่ง ก่อนกดชักโครกให้ปิดฝาก่อน และล้างมือหลังสัมผัสบริเวณต่างๆ ในห้องน้ำtt ttสังเกตอาการอย่างไรเมื่อสงสัยว่าเป็นอาการ ไข้ เจ็บคอ ไอ (อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้) เจ็บหน้าอกแบบเสียวแปลบๆ ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวท้องเสีย หลายคนมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น หรือบางคนมีอาการน้อย อาจทำให้แยกได้ยากจากภาวะนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเผชิญมลภาวะฝุ่นควัน บางรายอาจมีอาการและอาการแสดงแบบรุนแรง เช่น หายใจหอบเหนื่อย หายใจไม่เต็มอิ่มโดยเฉพาะเวลาออกแรง ความดันตกจนทำให้วิงเวียนศีรษะมาก ถ่ายเหลวมากจนเกิดภาวะขาดน้ำ ทั้งนี้ หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ควรตรวจ ATK เบื้องต้น หากขึ้น ๑ ขีดแล้วยังมีอาการอยู่ ควรไปตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งที่โรงพยาบาลแม้ว่าขณะนี้ “โรค COVID-๑๙” จะไม่มีอันตรายและความรุนแรงแล้ว แต่การป้องกันไม่ให้เป็น ก็จะเป็นการดีที่สุด ซึ่งหากปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรงและห่างไกลจาก “โรค COVID-๑๙” ได้แล้ว@@@@@@@@แหล่งข้อมูลอ.พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลอ่านคอลัมน์ “ศุกร์สุขภาพ” เพิ่มเติม