จากกรณีการเสียชีวิตของ นางสาวจุฬาลักษณ์ อิสมาโลน หรือ หญิง จุฬาลักษณ์ ในวัยเพียง ๔๕ ปี ด้วยโรคมะเร็งเต้านม ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากมีความวิตกกังวล โดยเฉพาะการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ซึ่งเรื่องนี้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข ระบุว่า โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทยและทั่วโลก โดยมีอุบัติการณ์เกิดในผู้ป่วยใหม่ปีละประมาณ ๑๒% โดยในปี ๒๕๖๖ พบผู้ป่วยรายใหม่ ๑๗,๗๔๒ คน หรือวันละ ๔๙ คน และพบการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมหรือการแพร่กระจายของโรคค่อนข้างสูงกว่ามะเร็งชนิดอื่น“สิ่งที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เป็นกังวลคือ เรื่องของการแพร่กระจาย การรักษาพยาบาล การกลับมาเป็นซ้ำ ทำให้ผู้ป่วยหลายรายหมดกำลังใจในการรักษา” นพ.ชลน่านบอกและว่า รัฐบาลได้กำหนดให้นโยบายการรักษามะเร็งเป็นหนึ่งในนโยบายควิกวิน (QuickWin) ภายใน ๑๐๐ วันผ่านนโยบายมะเร็งครบวงจร โดยมุ่งเน้นจัดบริการด้านโรคมะเร็งที่ครบวงจร ครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่การส่งเสริมป้องกัน การคัดกรอง การตรวจวินิจฉัย การรักษา จนถึงการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ซึ่งจะพุ่งเป้ามะเร็ง ๕ ชนิดที่พบบ่อยคือ มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกtt ttนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว“สำหรับมะเร็งเต้านม ไม่ถือว่าเป็นมะเร็งที่รักษายาก หากตรวจพบเร็ว เข้ารับการรักษาเร็ว และดูแลตนเองอย่างถูกวิธี จะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตอยู่กับคนที่รักได้อีกนาน” รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุขบอกทั้งนี้ มะเร็งเต้านม สามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้านเป็นประจำ เช่น คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้ โดยก้อนเนื้อที่พบอาจจะกดเจ็บ หรือไม่เจ็บก็ได้ ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนหลังรอบเดือนหมด ประมาณ ๑ สัปดาห์ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป แม้ปกติเต้านมทั้ง ๒ ข้างอาจมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกันบ้าง แต่การหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างมีลักษณะผิดปกติไปจากเดิม จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้เท่าทันหากเกิดโรคร้ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้นtt ttผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือบวมหนา เหมือนเปลือกส้ม รวมถึงสีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ละเอียด เนื่องจากอาจเป็นอาการของเซลล์มะเร็งที่ลุกลามมาถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังมีน้ำเหลืองหรือของเหลวไหลออกมาจากหัวนม โดยเฉพาะหากพบว่าน้ำเหลืองหรือของเหลวไหลนั้นมีสีคล้ายเลือด และออกจากหัวนมเพียงรูเดียว ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเต้านมโดยละเอียดมีอาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม หรือผิวหนังของเต้านมอักเสบ ซึ่งหากมีอาการเจ็บเต้านมโดยที่ไม่ใช่ช่วงมีประจำเดือน หรือพบว่าผิวหนังรอบๆ เต้านมบวมแดงอักเสบ โดยเฉพาะเมื่อคลำพบก้อนเนื้อร่วมด้วย อย่าละเลยว่าเป็นเรื่องธรรมดาเด็ดขาดtt ttนอกจากนี้ สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมที่บางครั้งอาจพบได้ เช่น มีผื่นคันบริเวณเต้านมรักษาแล้วไม่หายขาด โดยผื่นคันอาจเกิดขึ้นที่หัวนมหรือบริเวณเต้าส่วนใหญ่ เริ่มต้นเป็นเพียงผื่นแดงแสบๆ คันๆ แม้จะรักษาโดยแพทย์ผิวหนังแล้วยังไม่หายขาดจนกลายเป็นแผลตกสะเก็ดแข็ง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมอีกครั้ง เนื่องจากอาจเกิดจากเซลล์มะเร็งลามขึ้นมาที่ผิวหนังด้านบนบริเวณหัวนมหรือเต้านมแล้วทั้งนี้ ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม โดยมีปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงมากมาย ทั้งอายุ พันธุกรรม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต การป้องกันที่ดีคือหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายและเต้านมสม่ำเสมอ หากพบสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นสำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละ ๑๔๐,๐๐๐ คน และเสียชีวิต ๘๔,๐๐๐ คนต่อปี.คลิกอ่านคอลัมน์ “สมาร์ทไลฟ์” เพิ่มเติม
Related posts