ดังที่หัวหน้าทีมซอกแซกได้ชี้แจงแถลงไขไว้ในคอลัมน์เหะหะพาที เมื่อ ๒–๓ วันก่อนแล้วว่า ไปอินโดนีเซียเที่ยวนี้แม้วัตถุประสงค์หลักจะไปดูงานด้านการเงินการธนาคาร แต่หัวหน้าทีมก็ได้มีโอกาสไปดู “ของแถม” อื่นๆอีกมากมายรวมทั้งได้มีโอกาสไปเยี่ยมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ และได้ไปกราบสักการะ “บุโรพุทโธ” พุทธสถานแห่งประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของชาวพุทธมาด้วยเช่นกันดังนั้น เมื่อมาถึงคิวของคอลัมน์ซอกแซกซึ่งเป็นคอลัมน์สบายๆ เพื่อความสุขใจในวันหยุดเช่นนี้ จึงเป็นโอกาสดีที่ควรจะเขียนถึงเรื่อง “บุโรพุทโธ” สิ่งปลูกสร้างอันยิ่งใหญ่ของอินโดนีเซีย เมื่อเกือบ ๑,๒๐๐ ปีที่แล้ว เพื่อถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกลายเป็น “พุทธานุสรณ์” ที่อยู่ยั้งยืนยาวมาถึงกาลปัจจุบันหลายๆท่านคงประหลาดใจเช่นเดียวกับหัวหน้าทีมซอกแซก ที่อดสงสัยมิได้ว่า เหตุใดประเทศอินโดนีเซียที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ จึงมีสิ่งปลูกสร้างมหัศจรรย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนามาประดิษฐานอยู่ด้วยเช่นนี้ทำให้ต้องใช้เวลาทำการบ้านไปค้นอ่านใน “วิกิพีเดีย” ถึง ๓ หัวข้อคือ ในหัวข้อว่าด้วย “บุโรพุทโธ” โดยตรง และว่าด้วย “พุทธศาสนา ใน อินโดนีเซีย” เพื่อหาเหตุผลประกอบ รวมถึงว่าด้วย “อาณาจักรศรีวิชัย” ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของ “บุโรพุทโธ” อย่างสำคัญเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า อาณาจักรศรีวิชัย ที่คาดว่าก่อตั้งก่อน พ.ศ.๑๒๒๕ เล็กน้อย โดย ราชวงศ์ไศเลนทร์ นั้น มีอิทธิพลครอบคลุมภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างกว้างขวางมิใช่น้อย ตั้งแต่อินโดนีเซียไปจนถึงคาบสมุทรมาลายู และบางส่วนของภาคใต้ในประเทศไทยเราราชวงศ์ไศเลนทร์มีการติดต่อสัมพันธ์กับ ราชวงศ์ปาละ แห่งเบงกอลอย่างใกล้ชิด มีการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและการศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนานิกายมหายานมาโดยตลอดต่อมาในปีพุทธศักราช ๑๓๙๓ พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ ก็ได้สร้างพระสถูปแบบมหายานขึ้น ณ บริเวณเชิงเขาใกล้กับแม่น้ำโปรโกและชุมชน มาเกอลัง ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองเล็กๆเมืองหนึ่งของจังหวัดชวากลางประเทศอินโดนีเซียโดยใช้หินภูเขาไฟถึงเกือบ ๒ ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ ๑๒๑ เมตร และสำหรับองค์พระสถูปที่ก่อสร้างขึ้นไปเป็นชั้นๆ รูปทรงคล้ายพีระมิดนั้น บนยอดแหลมที่เป็นองค์พระเจดีย์จะสูงจากพื้นดิน ๑๒๓ เมตรก่อนขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ จะออกแบบเป็นลานเอาไว้ ๘ ชั้น โดย ๕ ชั้นล่างเป็นลานสี่เหลี่ยม และ ๓ ลานชั้นบนจะเป็นวงกลม โดยมีการตกแต่งรอบๆพระสถูปด้วยภาพสลัก ๒๖๗ ชิ้น และรูปปั้นพระพุทธรูปรวม ๕๐๔ องค์น่าเสียดายที่ อาณา จักรศรีวิชัย ค่อยๆเสื่อมอำนาจลงไปและอีกเกือบ ๑๘๐ ปีต่อมา นับจากปีที่สร้างพุทธสถานแห่งนี้ (ประมาณ พ.ศ.๑๕๖๘) ประวัติศาสตร์ก็ได้จารึกไว้ว่า อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักร มัชปาหิต ซึ่งเป็นอาณาจักรของพระมหากษัตริย์ และพลเมืองที่นับถือศาสนาฮินดูที่สำคัญไปกว่านั้น กษัตริย์พระองค์หนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิตนามว่า “ระเด่นปาทา” ทรงเกิดความเลื่อมใสในศาสนาอิสลาม และทรงยกย่องให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำอาณาจักร และห้ามเผยแพร่พระพุทธศาสนานับตั้งแต่นั้นอย่างไรก็ตาม สำหรับองค์พระมหาสถูป “บุโรพุทโธ” นั้นก็ยังคงประดิษฐานอยู่ ณ ที่เดิม แม้จะขาดการดูแลในช่วงแรกๆแต่ก็ยังยืนหยัดอยู่ได้ภายใต้พุ่มไม้ต่างๆ จนกระทั่งถึง ค.ศ.๑๘๑๔ หรือ พ.ศ.๒๓๕๗ เซอร์โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ผู้ปกครองเกาะชวา ซึ่งเคยเป็นของอังกฤษอยู่ช่วงหนึ่งได้รับข้อมูลจากชาวท้องถิ่นว่า มีสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ชิ้นนี้อยู่ในบริเวณดังกล่าว จึงเดินทางไปบูรณะและนำออกสู่สายตาประชาชนในเวลาต่อมาการบูรณะครั้งใหญ่เริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อ ค.ศ.๑๙๗๕-๑๙๘๒ นี่เอง โดยรัฐบาลอินโดนีเซียและยูเนสโก และตามมาด้วยการประกาศให้เป็น “มรดกโลก” ในปี ค.ศ.๑๙๙๑ หรือ พ.ศ.๒๕๓๔ ในที่สุดครับ! ทั้งหมดนี้ก็คือคำตอบที่ว่า พระมหาสถูป บุโรพุทโธ อันยิ่งใหญ่ของชาวพุทธไปสถิตอยู่ ณ ดินแดนของชาวอิสลาม เช่น อินโดนีเซียได้อย่างไรคณะของเราได้มีโอกาสไปสักการะบุโรพุทโธด้วยในทริปนี้ โดยบินจาก จาการ์ตา ไปที่เมือง ยอกยาการ์ตา ซึ่งเพิ่งจะสร้างสนามบินใหม่เอี่ยมขนาดใหญ่กว่าสนามเดิมหลายเท่า แต่ดูเหมือนจะอยู่ห่างไปจากบุโรพุทโธมากกว่าเดิม ต้องใช้เวลาเดินทางชั่วโมงเศษคณะของเราพักอยู่ที่โรงแรมเชิงเขาใกล้ๆองค์บุโรพุทโธ สามารถมองเห็นได้เต็มองค์ ในยามค่ำคืนซึ่งจะมีการเปิดไฟให้สว่างอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง งดงามเหมือนวิมานของเทพเทวาลอยอยู่เหนือภูเขา (ภาพประกอบคอลัมน์วันนี้)เช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากรับประทานอาหารเช้าแล้ว เวลา ๑๐.๐๐ น.เป๊ะ คณะของเราก็จัดกระเป๋าเพื่อบินต่อไปบาหลี แต่ก็จะแวะจอดรถลงสักการะบุโรพุทโธเสียก่อน โดยผู้ที่ยังอยู่ในวัยที่เดินขึ้นที่สูงได้จำนวนหนึ่ง จะเดินจากร้านอาหารซึ่งเป็นประตูขึ้นสู่บุโรพุทโธด้วย เพื่อไปกราบสักการะให้ถึงยอดบนสุดส่วนผู้อาวุโสแล้วข้อเข่าไม่สู้ดีนักก็จะนั่งสักการะอยู่ที่หน้าร้านอาหาร ซึ่งจะมองเห็นองค์พระสถูปอย่างชัดเจนหัวหน้าทีมซอกแซกเคยมาสักการะหนหนึ่งแล้ว จึงขออยู่นั่งรอที่ร้านอาหารด้านล่าง หลังจากประนมมือสักการะ และขอพรท่านอยู่นาน พอสมควรเป็นที่เรียบร้อยนับมาถึงวันนี้บุโรพุทโธซึ่งมีอายุเกือบ ๑,๒๐๐ ปีได้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรมที่มีผู้คนไปเยือนในอันดับต้นๆของอินโดนีเซีย จากผู้คนทุกชาติศาสนาที่ภูมิใจในมรดกโลกชิ้นนี้แต่สำหรับพวกเราชาวพุทธ “บุโรพุทโธ” มิใช่เป็นเพียง “มรดกโลก” เท่านั้น ยังเป็นมรดกแห่งความเคารพและศรัทธาในพระธรรมคำสอนของพุทธองค์ ที่จะคงอยู่คู่โลกนี้ไปตราบกาลนิรันดร์.“ซูม”คลิกอ่านคอลัมน์ “ซูมซอกแซก” เพิ่มเติม
Related posts