Thursday, 19 September 2024

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผสมผสาน สยบโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน

โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน เป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดในต้นทุเรียน สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นทุเรียน ทำให้ต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้เสียหายอย่างรวดเร็วและไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ส่งผลให้ทุเรียนยืนต้นตาย ปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลงการควบคุมโรคนี้ต้องทำความเข้าใจในหลักการควบคุมโรคอย่างถูกวิธี แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในแนวทางการควบคุมโรคแบบผสมผสานtt ttปัจจุบันจึงยังพบการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๖ จ.จันทบุรี (สวพ.๖) กรมวิชาการเกษตร จึงดำเนินการวิจัยและจัดทำแปลงต้นแบบเพื่อถ่ายทอดขยายผลเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนที่ถูกต้องและปรับใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออก“การป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนด้วยวิธีผสมผสาน ที่นำมาปรับใช้ในพื้นที่ปลูกทุเรียนในภาคตะวันออก ประกอบด้วยการวิเคราะห์พื้นที่ ดูการเขตกรรม ตัดแต่งทรงพุ่มไม่ให้แน่นทึบ แดดส่องลงถึงพื้นดินเพื่อฆ่าเชื้อโรค ขุดร่องระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังโคนต้น เก็บดินวิเคราะห์ธาตุอาหารเพื่อส่งเสริมให้พืชแข็งแรง”tt tttt ttนางสาวเครือวัลย์ ดาวงษ์ นักวิชาการเกษตรระดับชำนาญการ สวพ.๖ แนะนำ กรณีดินเป็นกรดแนะนำปรับด้วยปูนขาวฟื้นฟูระบบรากกรณีรากเน่าและเน่าคอดินโดยการราดด้วยสารฟอสอีทิล–อะลูมิเนียม ภายหลังการราดสารไม่น้อยกว่า ๗ วัน ให้นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสด อัตรา ๑๐๐ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร กรดฮิวมิค ๑๐๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร และปุ๋ยเกล็ดสูตร ๑๕-๓๐-๑๕ หรือ ๒๐-๒๐-๒๐ อัตรา ๕๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ราดให้ทั่วบริเวณรอบทรงพุ่มทุก ๒ เดือน รักษาแผลที่โคนต้นต่อเนื่องtt tttt ttสำหรับต้นที่โทรมกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยสารฟอสฟอรัส แอซิด และสำรวจโรคต่อเนื่อง เพื่อรักษาได้ทัน ไม่ให้โรคแพร่กระจายลุกลาม เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เพื่อลดปริมาณเชื้อราไฟทอปธอร่า ปรับสภาพแวดล้อมให้ต้นทุเรียนแข็งแรงtt tttt ttนักวิชาการเกษตรระดับชำนาญการ สวพ.๖ บอกว่า การวิเคราะห์พื้นที่และปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะต่อการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า เป็นปัจจัยความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ควบคุมโรค ทั้งนี้การป้องกันการเกิดโรคเป็นแนวทางการควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าที่ดีที่สุด”ปัจจุบัน สวพ.๖ ได้ขยายผลเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนด้วยวิธีผสมผสานไปสู่กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย อ.เมือง จ.ตราด และแปลงใหญ่ทุเรียน อ.ขลุง จ.จันทบุรี มีเกษตรกรที่ได้รับการขยายผลเทคโนโลยีจัดทำแปลงต้นแบบจำนวน ๕๗ ราย พื้นที่ ๑๔๗ ไร่.ชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม