Sunday, 19 January 2025

พบซากฟอสซิลผิวหนังที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

ในปี ๒๕๖๑ มีผู้ชื่นชอบงานสาขาดึกดำบรรพ์วิทยา ๒ คนคือ บิล และจูลี เมย์ ได้เก็บรวบรวมซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลจำนวนมากมายจากถ้ำหินปูนริชาร์ดส์ สเปอร์ (Richards Spur) ในรัฐโอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกา เป็นถิ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องความอุดมไปด้วยซากฟอสซิล หนึ่งในฟอสซิลที่พบนั้นมีเศษหินสีเข้มที่ถูกเก็บพิพิธภัณฑ์รอยัล ออนทาริโอ ในแคนาดา ซึ่งเป็นฟอสซิลที่จุดประกายความสนใจของนักบรรพชีวินวิทยาในเวลาต่อมาล่าสุด อีธาน มูนีย์ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต มิสซิสซอกา ในแคนาดา เผยผลวิจัยซากฟอสซิลนี้และพบว่าเป็นผิวหนังสัตว์เลื้อยคลานในยุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic) เป็นช่วงที่สัตว์ต่างๆเคลื่อนตัวขึ้นมาอยู่บนบก ครอบคลุมระหว่าง ๕๔๑-๒๕๒ ล้านปีก่อน โดยระบุว่าเป็นผิวหนังชั้นนอกสุดของสัตว์เลื้อยคลานบนบก นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีอายุเกือบ ๒๙๐ ล้านปี ถือเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของผิวหนังที่ธรรมชาติเก็บรักษาไว้มายาวนาน มีอายุมากกว่าฟอสซิลผิวหนังอื่นๆในยุคพาลีโอโซอิกประมาณ ๒๑ ล้านปีนักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่าฟอสซิลผิวหนังนี้ อาจเป็นตัวอย่างโครงสร้างผิวหนังในน้ำคร่ำระยะแรกๆ ในที่สุดก็จะพัฒนาเป็นขนนกและรูขุมขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซากถูกฝังอยู่ในตะกอนละเอียดในถ้ำ ไร้ออกซิเจน เกิดการชะลอการสลายตัว และยังสัมผัสกับน้ำใต้ดินที่มีธาตุเหล็กสูง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ช่วยรักษาเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ ในถ้ำยังเป็นแหล่งน้ำมันดิบโบราณ น้ำมันที่ได้จากหินและน้ำมันดินได้แทรกซึมเข้าไปในฟอสซิล ทำให้ซากไม่เน่าเปื่อย ในขณะเดียวกันก็ทำให้กลายเป็นสีดำ.Credit : Current Biology/Mooney et al.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่